โรงเรียนในภูเขา ...ต้นแบบ รร.สุขภาวะ "พัฒนาจิตใจกระตุ้นพลังสร้างสรรค์"

ทุกวันนี้..เด็กรุ่นใหม่เติบโตและเดินไปพร้อมกับเทคโนโลยี มีของเล่นสำเร็จรูป ชุดเสริมทักษะ ฝึกสมองประลองความจำ ส่งผลให้สมองฉับไว มีความจำเป็นเลิศให้เลือกมากมาย แต่ท่ามกลางความพร้อมที่มากับเทคโนโลยี ดูเหมือนจะเป็นดาบสองคม ..บั่นทอนพัฒนาการด้านในหรือจิตวิญญาณของเด็กให้ถดถอยลง เด็กตกอยู่ในสภาพขาดความสมดุลทางจิตใจ ขาดจินตนาการและพลังสร้างสรรค์ ขาดความละเอียดอ่อนต่อสิ่งรอบกาย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ต่อทุกสิ่งในชีวิตของเด็กต้องพร่องไปโดยปริยาย

กระบวนการพัฒนาการด้านจิตใจของเด็ก ถือเป็นนัยสำคัญ ช่วยปลุกเร้าพลังสร้างสรรค์ภายใน ช่วยกระตุ้นจินตนาการให้เปล่งประกาย ช่วยให้เด็กเบิกบาน มีความกระตือรือร้น อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนรอบข้างอย่างมีชีวิตชีวา และเป็นวัคซีนให้กับชีวิตได้ในทุกสถานการณ์

ภายใต้โจทย์ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาจิตใจของเด็ก ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้เอง เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายศิลปะด้านในจัดกิจกรรมในชื่อ “ภาพยนตร์ศิลปะ:โรงเรียนในภูเขา กับนิทรรศการศิลปะเด็กที่พาความเปลี่ยนแปลง” ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เพราะทุกฝ่ายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาการของเยาวชนเล็งเห็นว่า ศิลปะคือทางเลือกทางออกในการพัฒนาการด้านจิตใจ ปลุกเร้า กระตุ้นพลังสร้างสรรค์ของเด็ก

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวถึงที่มาการจัดกิจกรรมว่า ภารกิจของ สสส. มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาวะตั้งแต่วัยเด็ก โดยให้ความสำคัญทั้งสุขภาวะทางกาย ใจ ปัญญา และสังคม สังคมอยู่ที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน ภาพยนตร์ศิลปะเกิดจากโครงการศิลปะด้านในเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพสำหรับผู้ทำงานด้านเด็กปฐมวัย เป็นโครงการที่นำศิลปะมาเป็นเครื่องมือทำงานร่วมกับกลุ่มคนใกล้ชิด และมีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางใจให้กับเด็ก ทั้งครอบครัว โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “โรงเรียนในภูเขา” คือหนึ่งในตัวอย่างที่ สสส. ต้องการนำเสนอให้สังคมเห็นถึงรูปแบบการจัดทำหลักสูตรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูพลังให้แก่เด็ก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาวะที่รอบด้าน และป้องกันไม่ให้เด็กออกจากระบบการศึกษา เด็กอยู่กับความงดงามตามธรรมชาติ เด็กบางคนบาดเจ็บทางใจจากความเครียด   ใน รร.ทั่วไปเด็กถูกเร่งเรียนเขียนอ่านเพื่อการแข่งขัน รร.ในภูเขาเป็นเสมือนพื้นที่ รร.สาธิต เราต้องพัฒนาเด็กให้เติมเต็ม มีสุขภาพกาย ใจ สิ่งแวดล้อมที่ดี

“ศิลปะคือการเรียนรู้ที่ไม่มีถูก ไม่มีผิด และไม่มีกรอบ แต่เปิดโอกาสให้เด็ก ครู ผู้ปกครอง  ได้มีประสบการณ์สัมผัสความงามที่สอดคล้องกับธรรมชาติตามแง่มุมของแต่ละคน เพื่ออยู่ในโลกยุคนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างรวดเร็วได้"

 ทั้งนี้ สสส.สนับสนุนโครงการศิลปะด้านใน เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพสำหรับผู้ทำงานด้านเด็กปฐมวัยมาตั้งแต่ปี 2560 เพราะเห็นพลังของศิลปะว่า สามารถทำหน้าที่ปูพื้นฐานจิตใจให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี จากการมองเห็นความงดงามในตัวเอง เมื่อเด็กมีสุขภาพจิตที่ดี ย่อมส่งผลให้เด็กอยากเรียนหนังสือ ไม่หลุดออกจากระบบการศึกษาโดยง่าย ทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในครอบครัวจากการมีสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น ระหว่างผู้ดูแลเด็กและตัวเด็กด้วย” น.ส.ณัฐยากล่าว

น.ส.ณัฐยากล่าวต่อว่า ในส่วนของเด็กที่เข้ามาเรียนรู้ถึงพลังของศิลปะด้านในจากโครงการฯ มีเด็กจากทั้งครอบครัวกลุ่มเปราะบางไปถึงครอบครัวที่มีฐานะ การเข้ามาร่วมเรียนรู้ของเด็กที่หลากหลายฐานะ สะท้อนว่าเด็กทุกคนต่างก็ต้องการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของตนเอง ภาพยนตร์เรื่อง “โรงเรียนในภูเขา” จึงเป็นการฉายให้เห็นภาพกระบวนการจัดการศึกษาที่สามารถเป็นโมเดลการเรียนรู้ให้ครู ผู้ปกครอง ที่สนใจนำไปปรับสร้างให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเองได้ เพราะเนื้อหาของภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดให้เห็นว่ากระบวนการทำงานศิลปะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการใช้ชีวิต ช่วยแก้ปัญหาในครอบครัวของเด็กได้อย่างไรบ้าง

รร.ปกติแตกต่างจาก รร.ในภูเขา เป็นจุดเริ่มต้นมาทำด้านศิลปะเพื่อบ่มเพาะระบบการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ความสามารถทางวิชาการ มีการวัดผลด้วยการสอบที่แข่งขันกัน ส่งผลให้เด็กมีปัญหาความเครียดสูง มีการซึมเศร้า แก่งแย่งเพราะแข่งขันกันสูง ไม่เกื้อกูลกัน ในขณะที่ รร.ในภูเขามองธรรมชาติแต่ละช่วงวัย ไม่เน้นการจัดการ มิติให้เด็กเติบโตเป็นเด็กสมบูรณ์ เน้นองค์รวมรอบด้าน เด็กนักเรียนในภูเขาบางคนมาจากครอบครัวยากจน เด็กกำพร้า เด็กที่มีฐานะอยู่ด้วยการให้ผ่านกระบวนการสัมผัสธรรมชาติ ครูใน รร.ทั่วไปสามารถเข้าไปดูงาน รร.ในภูเขา แล้วนำมาประยุกต์ปรับใช้ใน รร.ทั่วไปได้

นายอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี หรือครูมอส ครูใหญ่โรงเรียนในภูเขา จิตรกรและนักศิลปะบำบัด ระบุว่า วิชาศิลปะใน รร.สังกัดกระทรวงศึกษาฯ ถูกลดทอนสำหรับเด็ก สสส.สนใจให้เราสร้างรูปแบบให้สังคม เป็น รร.ขับเคลื่อนศิลปะ ชี้วัดให้เด็กโตด้วย ศิลปะ มีหลายรูปแบบ ไม่ใช่เป็นเพียงการระบายสี    ศิลปะในชีวิตเด็กคือจังหวะเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนาเด็ก พลังชีวิตของเด็ก เราให้ฐานคิดกับเด็กปฐมวัยจนถึงวัยเรียน ก่อนวัยรุ่นมีการถดถอยทางอารมณ์ เราจะหาความหมายเด็กได้เล่นอย่างพอเพียง การทำศิลปะ ขยับให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สื่อสารออกมา ศิลปะเป็นการฝึกฝนทางใจ รู้จักอารมณ์ของตัวเอง

เริ่มจากจุดเล็กๆ สื่อสารออกไปสู่ผู้คน เด็กบางคนอยากมีศิลปะก็จริง แต่ไม่อยากจะใช้ศิลปะในช่วงวัยเรียน เมื่อใจพร่องก็ต้องเติมให้เต็ม เรื่องศิลปะพ่อแม่ต้องเห็นความสำคัญและส่งเสริมด้วย ให้มีการเรียนรู้นอกระบบ ด้วยเป้าหมายสูงสุด ความสัมพันธ์กับชีวิตและกระทรวงศึกษาฯ ไปในทิศทางเดียวกัน  การเรียนรู้จากศิลปะ ทัศนคติที่มีต่อศิลปะ สังคม  ภาษาผ่านบทกลอน บทกวี เด็กรับฟังผ่านภาพและเสียง ถ้าเรามองเป็นสูตรสำเร็จก็แห้งแล้งจนเกินไป  เราอยากให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เราต้องเติมเต็มให้เด็ก การนำเสนอผ่านบทกวี ภาษาการเล่าเรื่องให้เด็กฟังจะต้องทำหน้าที่ของผู้เล่าที่ดี เราเรียนรู้ผ่านศิลปะ การขับร้องไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่เป็นการได้ฟังเสียงของตัวเอง การร้องให้เข้ากับเพื่อนๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา ไม่ใช่ต่างคนต่างร้อง หรือต่างคนต่างพูดโดยไม่คิดที่จะฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น กลายเป็นพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากพูดโดยไม่ฟังเสียงของคนอื่น ทำให้เกิดปัญหาในสังคม

กล่าวถึงภาพยนตร์ “โรงเรียนในภูเขา” ว่าเป็นงานศิลปะที่บอกเล่าถึงแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรื่องราวระหว่างครูกับเด็กวัยเรียนที่มาเรียนรู้ศิลปะร่วมกันตลอดหนึ่งฤดูกาลแห่งปี ผ่านบรรยากาศอบอุ่น เรียบง่าย และงดงามในรูปแบบสารคดี จากฝีมือการถ่ายทำของช่างภาพผู้มีหัวใจอิสระ “จรรสมณท์ ทองระอา”

“ศิลปะไม่ได้มีแค่การวาดรูป หรือการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ การใช้สีวิธีการระบายไม่ใช้ความคิด   ใช้สีน้ำเพื่อขับเคลื่อนความรู้สึก ใช้มือเป็นสัญชาตญาณของเด็ก Free Will ศิลปะคือสิ่งที่อยู่ในชีวิตของทุกคน ผ่านการแสดงออกตามบริบทต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การใช้ hand heart head ใช้ความสัมพันธ์ค่อยๆ มาปรับใช้ ตั้งแต่การระบายสี ร้องเพลง เดินป่า โรงเรียนในภูเขา เป็นตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยดึงสิ่งที่อยู่ในใจและจิตวิญญาณของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสมดุลได้” นายอนุพันธุ์กล่าว

นายอนุพันธุ์กล่าวต่อว่า นอกจากจัดฉายภาพยนตร์แล้ว ในงานยังจัดนิทรรศการและกิจกรรมเพื่อนำเสนอเนื้อหาหลักสูตรที่มาจากการทำงานร่วมกับโรงเรียนต่างๆ โดยมีทีมครูและนักจิตวิทยาร่วมกันเสริมสร้างดูแลเด็กที่กำลังเติบโตเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน การเรียนรู้แบบผ่านธรรมชาติของเด็กที่พูดถึงร่างกาย หัวใจ และจิตวิญญาณแบบ Soul exercise ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร เพลง ดนตรี สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งชมนิทรรศการต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานของโครงการฯ สามารถติดตามได้ที่เพจเฟซบุ๊ก โรงเรียนในภูเขา หรือศิลปะด้านใน.  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น