ชุมชนเฟื่องฟ้า : กระทรวง พม. ผนึกพลังภาคี เปิดศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมที่ชุมชนเฟื่องฟ้าพัฒนา เขตประเวศ เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการประชาชนจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และบูรณาการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัยในเขตประเวศ ตั้งเป้าเปิดศูนย์ฯ ครอบคลุมทั้ง 50 เขตในกรุงเทพฯ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพฯ โซนตะวันออก 5 เขต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กทม.
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม ที่ชุมชนเฟื่องฟ้าพัฒนา เขตประเวศ กรุงเทพฯ นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนเขตประเวศ หน่วยงานภาคีในพื้นที่ เปิดศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมเขตประเวศ โดยมีนายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. นายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตประเวศ ร่วมต้อนรับ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน
นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า ปี 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีเป้าหมายเปิดศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 50 เขต ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล/เขต เกิดจากนโยบายของนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่อยากให้มีหน่วยงานที่ใกล้ชิดพี่น้องประชาชน ในการประสานงาน เชื่อมโยงหน่วยงานที่มีพันธกิจทำหน้าที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานกับพี่น้องประชาชน โดยให้บริการประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย และหวังว่าศูนย์แห่งนี้จะเป็นศูนย์ที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเขตประเวศได้เป็นอย่างดี
นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ
“พื้นที่เขตประเวศ มีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. เป็นเจ้าภาพหลักในการร่วมประสาน และทำงานร่วมกับ กทม. ซึ่งถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีกลไกในพื้นที่ในทุกเขตที่จะสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกัน และศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมนี้เป็นของพี่น้องทุกคน โดยในศูนย์จะมีการทำงานผ่านระบบดิจิทัลผ่านแอพ 1300 ของกระทรวง ที่มีภารกิจในการดูแลพี่น้อง 5 เรื่อง คือ 1. ด้านที่อยู่อาศัย มี พอช. ที่ช่วยเหลือพี่น้องคนมีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติมีบ้านเช่าราคาถูก สามารถประสานให้พี่น้องมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง 2.ด้านสุขภาพอนามัย มีหน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่ายสาธารณสุข 3.ด้านการศึกษา มีกรมเด็กที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องเด็กเยาวชน รวมถึงเรื่องสิทธิการดูแลช่วยเหลือเด็กแรกเกิด และสวัสดิการต่างๆ ของภาครัฐ 4.รายได้และอาชีพ 5. เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่มีอยู่ในทุกเขต สามารถที่จะช่วยเหลือพี่น้องในชุมชนได้” รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมกล่าว
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นโยบายต่างๆ 200 กว่าข้อของ กทม. ถือเป็นนโยบายที่มาจากพี่น้องภาคประชาชนรากหญ้าจริงๆ วันนี้รู้สึกดีที่มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชน ให้ครอบคลุมเข้าถึงการช่วยเหลือชุมชนทั้ง 50 เขต ใน 6 โซน
“วันนี้ผมได้กลับมาเจอพี่ๆ ที่เป็นคนริเริ่มนโยบายด้วยกัน ผู้อำนวยการเขตมีการนำนโยบายมากาง และต้องขอบคุณ พอช. และหน่วยงานต่างๆ ที่จัดงานในวันนี้ อยากให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง เพราะเมืองจะดีขึ้นไม่ได้หากขาดชุมชนที่เป็นเหมือนเส้นเลือดฝอยที่ทำให้เมืองนั้นเข้มแข็ง” รองผู้ว่า กทม.กล่าว
นายกฤษดา ผอ.พอช. มอบถุงยังชีพให้ประชาชน
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมชุมชน เพื่อเป็นศูนย์บริการประชาชนและจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ รวมถึงประชาชนทั่วไป ซึ่ง พอช. ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร โซนตะวันออก จำนวน 5 เขต ประกอบด้วย เขตประเวศ คันนายาว บึงกุ่ม สะพานสูง และเขตบางกะปิ
“พม. โดย พอช. ได้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมเขตประเวศ ในชุมชนเฟื่องฟ้า เพื่อเป็นศูนย์ประสานงาน และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึง อพม. ที่เป็นกลไกสำคัญในการให้บริการประชาชนในพื้นที่ การเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนเฟื่องฟ้า เป็นกลไกในการร่วมจัดการชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป”
นายกฤตภาส โพธิ์นิ่มแดง ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตประเวศ กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่เขตประเวศมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก อีกทั้งโครงการต่างๆ รวมถึงการจัดผังเมืองของภาครัฐในการจัดระเบียบคูคลอง ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาทั้งในด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการจากรัฐ ปัญหาผู้มีรายได้น้อย รวมถึงชุมชนแออัด ไม่มีความมั่นคงเรื่องที่อยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ
บรรยากาศในการจัดงานเปิดศูนย์ฯ
เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนในเขตประเวศจึงใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแกนหลัก โดยที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนปี 2562 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยร่วมกัน มีการเก็บข้อมูลร่วมกันเพื่อพัฒนาข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย
มีกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับเขต จัดตั้งในปี 2555 มีสมาชิก 1,257 คน เงินกองทุนกว่า 1.5 ล้านบาท จัดสวัสดิการชุมชนที่ดูแลกัน 13 ประเภท ตั้งแต่เกินจนตายเพื่อให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้น ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ การแปรรูป การตลาด และส่งเสริมอาชีพการเย็บกระเป๋าจากไวนิล
สวนผักและสมุนไพรที่ชุมชนเฟื่องฟ้าฯ
การพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านมั่นคงเมืองจำนวน 4 ชุมชน รวม 416 ครัวเรือน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย จำนวน 35 ชุมชน รวม 4,767 ครัวเรือน ดูแลผู้ได้รับผลกระทบตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 การช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางและผู้ที่ถูกกักตัวที่ยังเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือ โดยการจัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น แมส เจลแอลกอฮอล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ และจัดทำครัวกลางเพื่อช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นให้กับกลุ่มผู้ถูกกักตัวที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงการช่วยเหลือ รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานรัฐเพื่อขอรับการช่วยเหลือ ฯลฯ
ทั้งนี้การเปิดศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมที่ชุมชนเฟื่องฟ้าฯ ในวันนี้ มีการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาคี และการมอบถุงยังชีพ “สร้างคุณค่า สร้างอนาคต” โดยบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด ให้กับประชาชนในชุมชนด้วย
บริษัทน้ำตาลมิตรผลสนับสนุนชุมชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!
เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน
ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต
โค้งสุดท้าย 26 กองทุนฯทั่วไทย ลุ้นรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’
กรุงทพฯ/(16 ธ.ค. 67) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567
พอช. หนุน “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” โมเดลสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ที่กาญจนบุรี
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา