เกษตรฯ เปิดฉากเจ้าภาพเอเปค 2022 ร่วมจับมือหนุนความมั่นคงอาหาร ดันครัวไทยสู่ครัวโลก

วันนี้ (26 สิงหาคม 2565) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดฉากเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 (The Seventh APEC Virtual Food Security Ministerial Meeting) ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ผลักดันนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก พร้อมจับมือร่วมเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค หนุนแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหาร มุ่งสู่ ค.ศ. 2030 ร่วมกันอย่างเข้มแข็ง

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวต้อนรับคณะรัฐมนตรี  และสมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ พร้อมกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ว่า ประเทศไทย มุ่งหวังที่จะสนับสนุนให้เอเปคมีการเจริญเติบโตในระยะยาว มีภูมิคุ้มกัน มีความครอบคลุม ความสมดุล และความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ.2040 แผนปฏิบัติการเอาเทอรัว รวมถึงหัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย คือ “OPEN, CONNECT, BALANCE” หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” และแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว Bio – Circular - Green Economy หรือ BCG Model

การประชุมระดับรัฐมนตรีความมั่นคงอาหาร นับเป็นกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เข้มแข็ง และสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนความมั่นคงอาหารให้กับประชาคมโลก ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรรายใหญ่ ของโลก  ซึ่งจากสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารในปัจจุบัน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ รายงานว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชาชนประมาณ 670 ล้านคน จะยังคงขาดสารอาหาร นอกจากนี้ ผลกระทบและความตึงเครียดที่เกิดขึ้นต่อระบบอาหารทั่วโลก เช่น วิกฤตด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้เอเปค ต้องปรับบทบาทและแนวทางที่จะเดินไปข้างหน้าร่วมกัน  

การประชุมครั้งนี้ สมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ ยังได้ร่วมกันรับรองปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค  ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นทางการเมือง ในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค โดยในร่างปฏิญญาฯ ได้ผลักดันนโยบายสำคัญ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความปลอดภัยอาหาร ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ด้านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน   

นอกจากนี้ ภาคเอกชน นับได้ว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการร่วมเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค ประจำปี 2565 ได้ให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหาร มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 ได้แก่ การสนับสนุนการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล การประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร การส่งเสริมการลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับการเกษตรและการค้าอาหาร และการนำโมเดลแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน  และเศรษฐกิจสีเขียว หรือโมเดล BCG มาปรับใช้ 

เชื่อมั่นได้ว่า ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและอาหารของไทย นอกจากนี้ การสนับสนุนระบบการค้าแบบพหุภาคี จะทำให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น

พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ยังผลักดันการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารเอเปค ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย 3S ทั้งเรื่อง Safety Security และ Sustainability ส่งเสริมความปลอดภัยอาหารให้ได้มาตรฐานสากล ถูกหลักโภชนาการ และในปี 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางนโยบายเสริมสร้างบทบาทสตรีให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้แผนขับเคลื่อนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  และการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการเกษตรให้มีความทันสมัย สามารถวิเคราะห์และวางแผนการผลิต  การเข้าถึงตลาด รวมถึงผลักดันวิจัยและนวัตกรรมเกษตร และยกระดับความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาภาคเกษตรจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านนโยบายความยั่งยืนในระบบอาหารที่สัมพันธ์กับปัจจัยการผลิตทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมประมง ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบเอเปค มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งถือเป็นการเปิดฉากการประชุมเอเปคพร้อมกันทั้งประเทศ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค และได้มีการจัดการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆ อีก 12 การประชุมเรื่อยมา แน่นอนว่า การประชุมรัฐมนตรีของเขตเศรษฐกิจร่วมกันครั้งนี้  เป็นการแสดงวิสัยทัศน์และแนวนโยบายในการผลักดันความมั่นคงทางอาหาร ซึ่ง ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งเน้นนโยบาย BCG และ 3s รวมถึงนโยบายต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรและอาหารไทย ในฐานะ ‘ครัวโลก’ มีการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน ผลักดันส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารให้ประชากรในภูมิภาคเอเปคและโลก เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่งออกสินค้าเกษตรไปยังคู่ค้าในเอเปคได้มากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘นฤมล’ เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งภาคสหกรณ์

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบ 4 นโยบายการขับเคลื่อนภารกิจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินการบัญชีภาคการเกษตร

เชิญชวนท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวการเกษตรฟรี ช่วงเทศกาลปีใหม่ 68

รัฐบาล เชิญชวนท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวการเกษตรฟรี ตลอดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 สัมผัสกิจกรรมการเกษตรมากมาย พร้อมรับสินค้าเกษตรคุณภาพฟรีตลอดงาน

'วิชิต' เดือด! ฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' ปมไร่ภูนับดาว

'วิชิต' ฉุนด่าเนรคุณ เปรียบเหมือนสุนัขเลี้ยงไม่เชื่อง จ่อฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' หมิ่นประมาทใส่ร้าย ยันเสี่ย 'ไร่ภูนับดาว' เป็นเกษตรกรจริง

รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย

'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ

รัฐบาลตีปี๊บ 10 เดือนส่งออกสินค้าเกษตร 2.1 ล้านล้าน

'อนุกูล' เผยตัวเลขส่งออกสินค้าเกษตรช่วง 10 เดือนปี 2567 มูลค่ารวมกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.49 'ข้าว' ครองแชมป์สินค้าเกษตรส่งออก มูลค่า 168,685 ล้านบาท ขยายตัว 39.24%

กระทรวงทรัพย์ฯ ร่วมส่งมอบความสุขให้ ปชช. ทั่วประเทศ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ มอบกล้าไม้มงคลผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ "พฤกษามหามงคล" และปลูกต้นไม้ ต้นที่ 72 ล้านต้น

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีความตั้งใจที่จะส่งมอบความสุขให้กับประชาชน โดยการเตรียมจัดของปีใหม่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งมอบความสุขแด่ประชาชนทั่วประเทศ สำหรับกรมป่าไม้