นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “มะม่วงน้ำดอกไม้” นับเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ของจังหวัดสระแก้ว และเป็นสินค้าที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันทางการตลาด ประกอบกับจังหวัดสระแก้วมีโรงบรรจุที่มีมาตรฐานการส่งออก ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อปี 2561 จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง เกษตรกร ส่วนใหญ่นิยมปลูกสายพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่นิยมทั้งในตลาดต่างประเทศและภายในประเทศ เปลือกหนา รูปทรง ผิวสวยเป็นสีเหลืองทอง และมีค่าความหวานไม่น้อยกว่า 16 องศาบริกซ์ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และฮ่องกง
สศท.6 ได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรณีศึกษาสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว ที่ได้รับ GI ทั้ง 2 สายพันธุ์ จากผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปี 2565 (ข้อมูลจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว ปี 2564) มีเนื้อที่ยืนต้น 3,424 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของทั้งจังหวัด เกษตรกรได้รับการขึ้นทะเบียน GI จำนวน 72 ราย โดยพื้นที่ปลูกครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ วังสมบูรณ์ วังน้ำเย็น วัฒนานคร เขาฉกรรจ์ เมือง และอรัญประเทศ โดยมะม่วงน้ำดอกไม้ GI จะเริ่มให้ผลผลิต ในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 30 ปี ผลผลิตออกสู่ตลาดมากช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี สำหรับปี 2564 ให้ผลผลิตรวม 3,276 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 975 กิโลกรัม/ไร่ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 54 จำหน่ายให้กับพ่อค้ารวบรวมนอกจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ จันทบุรี และระยอง ร้อยละ 28 จำหน่ายให้กับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระแก้ว ร้อยละ 8 จำหน่ายให้กับพ่อค้ารวบรวมในจังหวัด ร้อยละ 5 ขายปลีกผู้บริโภค ร้อยละ 2 ส่งออกตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และฮ่องกง และผลผลิตส่วนที่เหลือ ร้อยละ 3 ส่งให้กับโรงงานแปรรูปโกลบอลจังหวัดจันทบุรี และห้างสรรพสินค้า Tesco Lotus
การพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมะม่วงน้ำดอกไม้ GI ของจังหวัดสระแก้วเพื่อลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้แก่เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่และวิสาหกิจชุมชนมะม่วงน้ำดอกไม้ จำนวน 30 ราย โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม แอร์บัส (Air blast) สำหรับใช้ฉีดพ่นสารเคมี ยาป้องกันกำจัดโรคและแมลง ฮอร์โมนและสารเร่งที่มีความจำเป็นต่อพืช ส่งผลให้ประหยัดเวลา ทำงานได้รวดเร็ว สะดวก ง่ายต่อเกษตรกรในการใช้งาน ลดแรงงานในการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม แอร์บัส ดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนและมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยต้นทุนการผลิตของเกษตรที่ใช้ แอร์บัส มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 17,810 บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 33,760 บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 15,950 บาท/ไร่/ปี ขณะที่เกษตรกรที่ใช้เครื่องฉีดยาแบบปั๊มถัง (แบบเดิม) จะมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 21,378 บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 33,505บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 12,127 บาท/ไร่/ปี ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเกษตรกรที่ใช้ แอร์บัส มีต้นทุนการผลิตน้อยกว่าเกษตรกรที่ใช้แบบปั๊มถัง 3,568 บาท/ไร่/ปี และมีผลตอบแทนสุทธิสูงกว่า 3,823 บาท/ไร่/ปี
สำหรับการพัฒนาในระยะต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดจะมุ่งส่งเสริมการพัฒนามะม่วงน้ำดอกไม้ GI สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเน้นพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลการผลิต การตลาด Big data และ ส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้อัตลักษณ์ฉลาก GI การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย สนับสนุนห้องเย็นเพื่อใช้ในกลุ่มเกษตรกรในการรวบรวมผลผลิต และห้องบ่มมะม่วงที่ใช้เทคโนโลยีการบ่ม พัฒนาคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานส่งออกและสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับ ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตและสร้างมูลค่า สนับสนุนเกษตรกรเข้าสู่แพลตฟอร์ม E-Commerce รวมถึงไลฟ์สด Live-Streaming มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร กรณีราคาตกต่ำผ่าน Fruit Board และการพัฒนาแบบ BCG Value Chain
ทั้งนี้ สำหรับผลศึกษาดังกล่าว สศท.6 ได้มีการจัด focus group เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และนำผลการจัดประชุมมาปรับปรุงแนวทางพัฒนาฯ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าว จะเผยแพร่ในเดือนตุลาคมนี้ ทางเว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการที่ 6 http://www.zone6.oae.go.th หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันทางการตลาด ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ที่มีความชัดเจนของจังหวัดต่อไป หากท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมด้านข้อมูลแนวทางการพัฒนา สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรณีศึกษาสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว (GI) สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.6 โทร. 03 835 1398 หรืออีเมล [email protected]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นฤมล' เผยข่าวดีครม.อนุมัติงบ 2.57 พันล้านบาท ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงข่าวดีของเกษตรกรว่า ปีนี้อ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ
ครม.อนุมัติงบกลาง 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินแผนงาน
โชว์ศักยภาพภาคเกษตรไทยด้านความมั่นคงอาหาร ในฐานะครัวของโลก
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก
พาณิชย์ติดตามสถานการณ์ข้าวหอมมะลิฤดูกาลใหม่ของเกษตรกร พร้อมเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรใน นบข. 8 พ.ย.นี้
พาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลาร้องไห้ ติดตามการซื้อขายข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูกาลใหม่ ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด และพบปะกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์
จับตา GDP เกษตร Q3 หดตัวร้อยละ 0.7 จากปรากฏการณ์ เอลนีโญ-ลานีญา สศก. หั่นเป้าทั้งปี GDP เกษตรไทย
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2567 (กรกฎาคม - กันยายน 2567)
สศก. จับมือ กสก. และ อกม. จัดทำข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจ พุ่งเป้า 77 จังหวัดทั่วประเทศ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ในฐานะศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการเกษต