TED Fund สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ จ.สงขลา หนุนโครงการ “ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว”หรือ“เข็มละลาย”ทางเลือกใหม่แทนการใช้เข็มโลหะในการฉีดยา ทั้งยังแก้โรคกลัวเข็ม เผยมีประสิทธิภาพในการนำส่งยาระดับลึก แต่ไม่ทำให้เกิดแผล เตรียมนำไปใช้กับกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในชุมชนที่ห่างไกลหรือชุมชนบนเขาลดความเหลื่อมล้ำ
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามภารกิจการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ภายใต้โครงการ “ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว” ซึ่ง TED Fund ได้ให้ทุนสนับสนุนในโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) แก่บริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด
โดย ดร.ชาญวิทย์ กล่าวว่า การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้นำผลงานวิจัย ไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยการสนับสนุนภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ถือเป็นเป้าหมายการดำเนินงานที่สำคัญของ TED Fund ซึ่งโครงการ“ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว” ถือเป็นการตอบโจทย์ตามเป้าหมาย ด้วยเป็นทางเลือกหนึ่งแทนการใช้เข็มโลหะในการฉีดนำส่งยา วัคซีนหรือสารออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายที่เป็นวิธีการทางการแพทย์ปัจจุบัน ทั้งยังแก้ภาวะโรคกลัวเข็มด้วย ทั้งนี้ ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว ถูกออกแบบให้ใช้แทนเข็มโลหะได้ และมีประสิทธิภาพในการนำส่งยาระดับลึก แต่ไม่ทำให้เกิดแผล มีการนำส่งสารออกฤทธิ์โดยเน้นมาจากการสกัดสมุนไพรที่มาจากกลุ่มออร์แกนิค สำหรับการใช้งานด้านเวชสำอางค์และฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีผลในการกระตุ้น ฟื้นฟูและปรับสภาพผิว โดยสามารถออกแบบระบบเข็มเสริมด้วยเทคนิคพิเศษทางการแพทย์นาโนด้วยการบรรจุสารออกฤทธิ์ด้วยนาโนแคปซูลซึ่งมีปริมาณขนาดของยาที่เหมาะสมกับร่างกายลงในตัวเข็มที่สามารถสลายตัวได้และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
“ผู้ประกอบการมีความตั้งใจที่จะนำนวัตกรรมทางการแพทย์นี้สำหรับใช้ส่งยาปริมาณที่น้อยและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในรูปแบบแผ่นแปะเข็มไมโครนีดเดิ้ลให้ถึงกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในชุมชนที่ห่างไกลหรือชุมชนบนเขา เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อพบปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเดินทางไกลเพื่อมาถึงโรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิต ดังนั้น นวัตกรรมนี้จะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านี้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น” ดร.ชาญวิทย์ กล่าว
ดร.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในระยะแรกผู้ประกอบการจะนำนวัตกรรมนี้ มาช่วยในเรื่องการฟื้นฟูสภาพผิวของคนที่มีปัญหาริ้วรอยควบคู่กับการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย พัฒนามุ่งสู่การแพทย์แล้วยังสามารถพัฒนาระดับต้นน้ำโดยการส่งเสริมอาชีพการเกษตรอินทรีย์เพื่อผลิตพืชที่มีสารสำคัญและมาผ่านกระบวนการสกัดเพื่อนำมาบรรจุลงในเข็มละลาย
นางจุลินทิพย์ พุทธวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ในการดำเนินการของบริษัทฯ ทาง TED Fund ได้จัดให้มีหน่วยงานพี่เลี้ยง หรือ TED Fellow เข้ามาคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดโครงการ ซึ่งนำมาสู่การประสบความสำเร็จ อีกทั้งจากการสนับสนุนจาก TED Fund ทั้งปัจจุบัน และอนาคต เทคโนโลยีนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีกว่าเดิมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ในทุกระดับชุมชนท้องถิ่นหรือพื้นที่ห่างไกล, การสร้างงาน สร้างอาชีพที่เข้มแข็ง การสร้างโมเดลความร่วมมือ กับ ภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย และบริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด ทำให้พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำเทคโนโลยีระบบนำส่งยาด้วยเข็มละลายได้ใต้ผิวหนัง แบบไม่ต้องเจ็บ ไม่ปวด และ ไม่มีการติดเชื้อ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน” นางจุลินทิพย์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส" จัดงาน “อว. For Kids” รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ชูคำขวัญ "มาเปิดโลกการเรียนรู้ ก้าวสู่อนาคตด้วยกัน" จัดยิ่งใหญ่ 3 แห่งพร้อมกัน
เมื่อวันที่ 8 ม.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวการจัดงาน "อว. For Kids" วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 โดยมีนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวง อว. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา
กระทรวง อว. - บพค. จัดงานประชุมวิชาการ PMU-B Brainpower Congress 2024 ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Ignite Thailand: ปลดล็อกศักยภาพคนไทยจุดประกายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
“ศุภมาส” จัดเต็ม ! ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขนทัพมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศรวมไว้ในที่เดียว พร้อมเปิดงาน One Stop Open House 2024 มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่
วันที่ 27 พ.ย.67 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024”
เดินหน้าต่อเนื่อง! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อความสำเร็จของ "อว.แฟร์"
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวประกาศความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของการจัด งาน "อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมประกาศการเตรียมจัดงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด "อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่: