“เวิลด์คลาส”

ไม่ธรรมดาแน่นอนกับการที่ประเทศไทย จะได้เปิดบ้านต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเข้าร่วมงานประชุมเขตเศรษฐกิจเอเปค วาระเรื่องหารือเรื่องสุขภาพ ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565

ผู้ที่มาร่วมงานนั้น มีทั้งที่เป็นระดับรัฐมนตรี และผู้บริหารหน่วยงานด้านสุขภาพระดับโลก อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศบรูไน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศอินโดนีเซีย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศมาเลเซีย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศสิงคโปร์ นอกจากนั้น ยังมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์จากสหรัฐฯ ไปจนถึง เลขาธิการอาเซียน เป็นต้น

นี่เป็นการประชุมที่ไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ที่เอเปคจัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นการเลือกให้ไทย เป็นสถานที่จัดงาน ที่ไม่ได้มาจากความงดงามด้านการท่องเที่ยว แต่เพราะที่ผ่านมา ไทยคือตัวอย่างของชาวโลกในการจัดการกับโควิด -19

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิระดับ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเบื้องหลังของงานนี้

“นี่คืองานประชุมเอเปค ในประเด็นงานสาธารณสุขที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะปกติ งานประชุมเอปคนั้น มีอยู่ด้วยกันทุกกระทรวงอยู่แล้ว แต่จะมีเพียงบางกระทรวงที่จัดในระดับรัฐมนตรี ที่หมายความว่า ประเทศที่จัดงานนั้น ได้รับความยอมรับในเรื่องดังกล่าวในระดับที่สูง ถึงความสำเร็จในการบริหารเรื่องนั้นๆ อย่างคราวนี้ ที่กรุงเทพ มีการจัดงานประชุมเอเปคระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็แปลว่า นานาชาติ ให้การยอมรับว่าประเทศไทย สามารถดูแลเรื่องสุขภาพของประชาชนได้ดี แล้วงานที่จัดขึ้น บางครั้งจัดกัน 1 - 2 วัน แต่คราวนี้ จัดงานทั้งสัปดาห์ และได้รับความร่วมมือจากชาติสมาชิก ที่รัฐมนตรี มาร่วมประชุมด้วยตนเอง”

ที่คุณหมอพูดมาไม่ผิดจากความเป็นจริง อย่าลืมว่า องค์การอนามัยโลก เลือกให้ไทย เป็นประเทศต้นแบบในการแก้ไขวิกฤติโควิด-19 และมีการถอดประสบการณ์ เพื่อถ่ายทอดให้ทั่วโลกใช้เป็นคู่มือสู้กับโรคระบาด และก่อนหน้านี้ สถาบันทางวิชาการชั้นนำอย่างจอห์นฮอปกินส์ ให้ไทย เป็นเบอร์ 1 ของเอเชีย และเบอร์ 5 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีระบบสุขภาพเข้มแข็งมากที่สุด

ปกติแล้ว การประชุมเอเปคนั้น จะมีพื้นที่ให้เรื่องสุขภาพน้อยมาก เพราะรับรู้กันว่าเอเปค เน้นในเรื่องของเศรษฐกิจมากกว่า แต่กับการจัดประชุมครั้งนี้ ทางผู้จัดมีเวลาดำเนินกิจกรรมถึง 5 วันเต็ม และตลอดทั้ง 5 วันนั้น ประเทศไทย เนื้อหอมมาก เพราะมีทั้งการประชุมวงเล็ก และการประชุมวงใหญ่ ที่ไทยต้องแบ่งปันประสบการณ์ด้านสุขภาพแก่ชาติต่างๆ อาทิ การประชุมทวิภาคีกับสหรัฐฯ เพื่อแชร์ประสบการณ์การควบคุมโควิด-19 ซึ่งไทย ได้รับเสียงชื่นชมมาโดยตลด นอกจากนั้น ยังมีการประชุมกับคณะผู้แทนจากนานาชาติ เพื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการนำระบบดิจิทัล มาปรับใช้กับงานด้านสุขภาพ ซึ่งไทยประสบความสำเร็จ จากระบบฐานข้อมูล “หมอพร้อม” ไปจนถึงการนำคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย เยี่ยมชมการปลูก ไปจนถึงการผลิตสารสกัดจากกัญชา เพื่อใช้รักษาโรค ที่องค์การอาการและยา ทั้งนี้ มาเลเซีย ได้ติดต่อขอข้อมูลเรื่องนี้ มานานแล้ว พร้อมมีการติดต่อมาโดยเฉพาะเพื่อศึกษาข้อมูลอย่างจริงใจ โดยมาเลเซีย เป็นประเทศหนึ่งที่สนใจเดินหน้านโยบายคลายล็อกกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์และเศรษฐกิจ

หากย้อนกลับไป ไม่เฉพาะงานนี้ ที่เป็นกระจกสะท้อนความยอดเยี่ยมของไทย โดยเฉพาะด้านการสุขภาพ เพราะในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ปรากฎว่าประเทศไทย ได้รับเลือกให้ เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases: ACPHEED) มีภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างขีดสมรรถนะของภูมิภาคอาเซียนในการเตรียมความพร้อม การป้องกัน ตรวจจับ และตอบโต้ต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ ในสถานะที่เป็นศูนย์ความเป็นเลิศและเป็นศูนย์รวมทรัพยากรบุคคลของภูมิภาค เท่ากับหัวกระทิของอาเซียน จะมารวมกันที่ประเทศไทย

อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จด้านการสาธารณสุขไทย ?

10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และผู้บริหาร สธ. เพื่อสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ในช่วง 5 ปี ระบุว่า

“ต้องเรียนว่า ปัจจัยความสำเร็จ 2 อย่าง คือ 1.ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกกระทรวง ที่มี สธ.เป็นหน่วยงานหลัก และ 2.Leadership (ภาวะผู้นำ) ซึ่งไม่ได้ชื่นชม เพราะว่ารองนายกฯยืนอยู่ข้างๆ แต่หากไม่ได้รัฐมนตรีว่าการ สธ.ที่เข้าใจ และทุ่มเทเช่นนี้ ทุกอย่างจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้”

หมออุดม ออกมาชื่นชมนายอนุทินนั้น เป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยตำแหน่งแต่กาลก่อน ด้วยวิชาการที่สั่งสม ด้วยวิชาชีพหมอ ที่ดำรงมาทั้งชีวิต คำพูดของท่านจึงมีความศักดิ์สิทธิ์

ซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงทั้งหมด ผ่านความสำเร็จของระบบสาธารณสุขสุขไทย ที่ทั่วโลกชื่นชม ยกนิ้วให้

ว่ากระทรวงสาธารณสุขไทยยุคนี้

อยู่ในระดับ “เวิลด์คลาส”

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

'เสี่ยหนู' เชียร์ 'พรรคโอกาสใหม่' ชี้มาทำงานให้บ้านเมืองอย่าไปแช่ง

'อนุทิน' เชียร์ 'พรรคโอกาสใหม่' บอกจะได้ชอบธรรมหากได้รับเลือกจากประชาชนทั้งประเทศ ขออย่าแช่งคนเข้ามาทำงานให้บ้านเมือง

'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ

'อนุทิน​' ยืนยัน​ ภท.​โหวต​เสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติ​เข้าโหวตในสภา​ ย้ำเพื่อให้ ​ปชช.​ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง​ ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้า​แก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า​ ​

'อนุทิน' เปิดสัมมนาความปลอดภัยทางถนนหวังอุบัติเหตุเป็นศูนย์!

'อนุทิน' เปิดสัมมนาวิชาการระดับชาติ ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 ย้ำความสำคัญ 'Situation awareness' ตื่นตัว ตระหนัก รับผิดชอบ ชี้ต้องทำอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ เพราะหนึ่งชีวิตก็เป็นเกรดเอฟแล้ว

“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก

จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่