อว.เตรียมผลงานของ 4 แชมป์ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ไปเป็น “ต้นแบบ” การพัฒนาในพื้นที่อื่น

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงการขยายผลภายหลังการแข่งขันชิงแชมป์ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ รอบชิงชนะเลิศ หนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) หลังจากได้ 4 ทีมผู้ชนะการแข่งขัน  ว่า อว.จะนำผลงานของทีมที่ชนะการแข่งขันทั้ง 4 ทีม ได้แก่ 1.ทีมแซ่บอีรี่ ของ ต.ทัพเสด็จ จ.สระแก้ว โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ชนะการแข่งขันด้านเกษตรและอาหาร 2.ทีมแฟรี่แลนด์จรเข้ใหญ่ ของ ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่ชนะการแข่งขันด้านสุขภาพและการแพทย์ 3. ทีมเชียงคานสตอรี่ ของ ต.เชียงคาน จ.เลย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ชนะการแข่งขันด้านพลังงานและวัสดุ และ 4. ทีมการท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด ของ ต.พงศประศาสน์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่ชนะการแข่งขันด้านท่องเที่ยวและบริการ  ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ขณะที่ ผลงานของทีมที่เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 36 ทีมจากทุกภูมิภาค รวมถึงทีมอื่นๆ ที่มีศักยภาพในระดับจังหวัด อว.จะนำมาหาแนวทางสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่น ถ้าอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบก็จะให้หน่วยงานต่างๆของ อว. เข้าไปช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การทดสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐาน หรือในกรณีที่ต้องมีการทดสอบการผลิต โดยเฉพาะด้านเกษตรและอาหารก็จะส่งเสริมให้ใช้โรงงานต้นแบบของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในการทดลองผลิตและจำหน่ายได้

รองปลัด อว. กล่าวต่อว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดแล้วจะส่งเสริมให้เกิดการร่วมทุน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การขยายตลาด การส่งเสริมการตลาดดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม ส่วนผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือก จะให้มหาวิทยาลัยที่กำกับดูแล U2T for BCG ในแต่ละพื้นที่เข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ