เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2565 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร เร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา ได้ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลุ่ม WE! PARK ปั้นเมือง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดงาน “TALK IN SOI เสวนาสาธารณะกระบวนการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน” หนึ่งในกิจกรรมของงานศิลป์ในซอย : แสง-สี-ศิลป์ เวทีแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาบนฐานความรู้จากบทบาทที่แตกต่างกัน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน มุ่งเชื่อมการเรียนรู้สู่การขับเคลื่อนงานระดับนโยบาย เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมในวิถีชีวิตประจำวัน ผ่านการส่งเสริมให้ผู้คนมีความรอบรู้ทางสุขภาพ ส่งเสริมค่านิยมและการสร้างบรรยากาศของความกระฉับกระเฉงให้สังคม รวมไปถึงสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้คนมีกิจกรรมทางกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งนี้พื้นที่สวนสานสาธารณะจึงเป็นหนึ่งในการเข้าไปจัดสภาพแวดล้อมให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกายได้เพิ่มมากขึ้น
ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กล่าวว่า สวนสานธารณะ ย่านกะดีจีน-คลองสาน ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เป็นผลมาจากโครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองในวาระครบรอบ 250 ปีของกรุงเทพฯ ตลอดจนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะบนฐานความรู้ การสนับสนุนให้เมืองเดินได้-เดินดี การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน จนผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาเชื่อมพื้นที่ภายในย่านทั้งสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาที่ถือเป็นสวนลอยฟ้าแห่งแรกของไทย ตลอดจนการปรับปรุงทางเดินริมน้ำกะดีจีนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่และการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
นายยศพล บุญสม ผู้ก่อตั้งกลุ่ม We! Park กล่าวว่า สวนสานธารณะ นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะบนที่ดินของเอกชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนโดยรอบ ทั้งในมิติของการเกิดพื้นที่ทำกิจกรรมทางสังคม การสนับสนุนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อสาธารณะประโยชน์เป็นเวลา 10 ปี และได้กลายเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมที่ชุมชนจะได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาวะที่ดีต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้