อว.ประกาศ 4 สุดยอดแชมป์ประเทศไทยแข่ง U2T for BCG National Hackathon 2022

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่สามย่านมิตรทาวน์ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการแข่งขันชิงแชมป์ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะในโครงการ “U2T for BCG”  ซึ่งเปิดโอกาสให้ทีม อว.ประมาณ 6.5 หมื่นคนมาร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์หรือสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับ BCG หลังจากได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพตามความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 7,435 ตำบล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ให้กับพื้นที่และสามารถปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรมใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเกษตรและอาหาร 2.ด้านสุขภาพและการแพทย์ 3.ด้านพลังงานและวัสดุ และ 4.ด้านพลังงานและการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ในรอบชิงชนะเลิศมี 36 ทีมสุดท้ายเข้าแข่งขัน หลังฝ่าฟันจากผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 308 ทีมจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ  โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของทั้ง 36 ทีมและมีผู้สนใจมาชมนิทรรศการและร่วมลุ้นผลการแข่งขันเป็นจำนวนมาก

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG กล่าวเปิดงานว่า กิจกรรม U2T for BCG National Hackathon คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการ U2T for BCG กว่า 65,000 คน ได้เข้าร่วมระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าแและบริการ U2T for BCG ผ่านกระบวนการ Hackathon โดยอาศัยกลไกของ อว. ส่วนหน้า คัดเลือกจากผลงานกว่า 15,000 สินค้าและบริการใน 7,435 ตำบล ซึ่งมีผู้สนใจสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และมีทีมที่ผ่านเข้ารอบระดับภูมิภาคจำนวน 308 ทีม จากนั้นคัดเหลือ 36 ทีมสุดยอดผ่านเข้ารอบสุดท้าย โดยได้มีการจับคู่กับหน่วยงานใน อว.ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเข้าสู่การแข่งขันชิงแชมป์ระดับประเทศ

“กิจกรรมนี้ถือเป็นการใช้พลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาประเทศ ผ่านการระดมสมองของเยาวชน อาจารย์ นักวิชาการ และประชาชน จากการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนจริง ผลแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะทุกไอเดียของการพัฒนาที่ทุกคนนำเสนอจะเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชุมชนที่เราอยู่อย่างแน่นอน” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว

จากนั้นได้เปิดการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon โดย 36 ทีมต่างนำเสนอผลงานกันอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้เป็น 1 ใน 4 ทีมสุดท้ายชนะเลิศได้แชมป์ U2T for BCG National Hackathon 2022 ปรากฎว่าหลังการแข่งขัน คณะกรรมการได้ประกาศรายชื่อทีมที่ชนะเลิศ จำนวน 4 ทีมท่ามกลางการลุ้นระทึกของกองเชียร์ โดยทีมที่ 1 ด้านเกษตรและอาหาร ได้แก่ ทีมแซ่บอีรี่ ของ ต.ทัพเสด็จ จ.สระแก้ว โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากผลงาน “เส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่” ที่เป็นการลดขยะจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ให้เป็นศูนย์ โดยนำเอาดักแด้ที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน สร้างผลิตภัณฑ์ชุุมชน โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยไม่เหลือส่วนที่เป็นขยะทิ้งไว้ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทีมที่ 2 ด้านสุขภาพและการแพทย์ ได้แก่ ทีมแฟรี่แลนด์จรเข้ใหญ่ ของ ต.จรเข้ใหญ่ จ.สุพรรณบุรี โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จากผลงาน “ผงโปรตีนปรุงรสจากชิ้นส่วนของปลาผสมกาบา” ซึ่งเป็นการลดขยะที่เกิดจากเศษซากปลาที่เหลือในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยการนำส่วนประกอบของปลาที่เหลือมาสกัดสารออกมาโดยเฉพาะโปรตีนผสมกับกาบาที่มีอยู่ในข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในชุมชน มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผงปรุงรสที่มีคุณค่าทางสารอาหารสำหรับผู้ป่วย NCD และบุคคลทั่วไป

ทีมที่ 3 ด้านพลังงานและวัสดุ ได้แก่ ทีมเชียงคานสตอรี่ ของ ต.เชียงคาน จ.เลย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จากผลงาน “เปลือกและกะลามะพร้าวมาแปรรูปเป็นปุ๋ย” ที่นำเปลือกและกะลามะพร้าวจากการผลิตมะพร้าวแก้วจำนวนมากในชุมชนมาแปรรูปเป็นวัสดุเพาะปลูก เพื่อลดขยะ รักษาระบบนิเวศ อีกทั้งยังสร้างรายได้ในชุมชน และทีมที่ 4 ด้านท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ ทีมการท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด ของ ต.พงศประศาสน์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จากผลงาน “การท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด” ที่ใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมาช่วยแก้ปัญหาของชุมชน ทั้งเรื่องน้ำท่วมซ้ำซาก ขยะจำนวนมหาศาล ป่าชายเลนถูกทำลาย โดยให้นักท่องเที่ยวร่วมทำกิจกรรมเก็บขยะและปลูกป่าร่วมกับคนในชุมชน พร้อมได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน ที่เกิดจากคนสองวัฒนธรรมไทยพุทธและไทยมุสลิม ซึ่งถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนและยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลกและสร้างความสุขให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” ปลื้ม !!! สภาฯ รับหลักการร่างกฎหมายจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” ที่มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางและพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

'ศุภมาส' สั่งการ 'ปลัด อว.' เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการซื้อขายวุฒิการศึกษา

น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะโฆษกกระทรวง อว. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับรายงานเบื้องต้นว่ามีประชาชนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้น

“ศุภมาส” ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ก่อนประชุม ครม.สัญจรโคราช ชูนโยบาย “โดรนแก้จนเพื่อการเกษตร” ลดการสัมผัสสารเคมี ลดต้นทุนให้เกษตรกร ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่วัดบางอำพันธ์ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

“อว.แฟร์” โชว์พลัง อววน. ปักหมุดภาคเหนือ 27-29 มิ.ย. นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงาน “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2567

กระทรวง อว. – กระทรวงอุตฯ จับมือพัฒนายกระดับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม (อก.) และ น.ส.หวัง ซือ ซือ เลขานุการ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

อว. เปิดฉากยิ่งใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาคพร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” ประเดิมที่แรกอีสาน 20-22 มิถุนายน2567 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา