สสส. ชวนรู้ #กินอะไรดี ปลอดภัยได้สุขภาพ

สสส. จับมือ เซ็นทรัล ผุดนิทรรศการ #กินอะไรดี What the Food ในรูปแบบ Installation Art ชูเทคโนโลยีทันสมัย ชวนคนไทยสำรวจคู่มือเส้นทางอาหารปลอดภัย มุ่งส่งต่อความรู้ สร้างความเข้าใจ ตระหนักการเลือกกินดี ปลอดภัย ได้คุณภาพ สแกนความรู้ได้บนรถไฟฟ้า BTS ถึง 15 ส.ค. คาดหมายผู้บริโภคกว่าล้านคนรับรู้การบริโภคอาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

บริเวณชั้น 6 โซน Central Court ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ จัดแต่งเป็นโต๊ะอาหารสีหวานจำนวน 12 โต๊ะ มีเมนูหลากหลายชนิดเพื่อให้ความรู้สำหรับผู้บริโภค กินอะไรดี ส้มตำไทยกุ้งสด ชาบู ยำรวมมิตร เมี่ยงปลาเผา หมูกระทะ อาหารญี่ปุ่น ผัดไทยกุ้งสด สเต็กเนื้อ ทะเลเผา ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาว เป็ดปักกิ่ง ฉลาดเลือกฉลาดซื้อ คู่มือปลูกผักคนเมือง สารเคมีตกค้างในอาหาร คู่มือเส้นทางอาหารปลอดภัย ได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้ามารับประทานอาหาร บรรดาแฟนคลับนักแสดง สื่อมวลชนเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีครบ 4 มิติ อาหาร ถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง จากข้อมูล Thaihealth Watch 2022 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2565 พบว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คนไทยนิยมเลือกรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มบรรจุขวด และกินผัก ผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการป่วยกลุ่มโรค NCDs อาจส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยในปี 2565 แย่ลง

นางเบญจมาภรณ์ กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หลายคนเลือกอยู่บ้านหรือทำงานแบบ Hybrid Work from Home 2 ปี มีการออกกำลังกายไม่เพียงพอ สั่งอาหารอร่อยผ่านช่องทาง delivery อาหารที่เรารับประทานแล้วเป็นเรื่องที่เราควรรับรู้ข้อมูลทางโภชนาการด้วย เส้นทางปลอดภัยหรือมีสารตกค้างปะปนอยู่ สสส. จึงจัดรูปแบบนิทรรศการในรูปแบบ Installation Art ร่วมกับห้างเซ็นทรัล จะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

สสส. มุ่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ผ่านการจัดนิทรรศการ “#กินอะไรดี” (What the Food) ภายใต้แนวคิด "Food Installation Art – ในหัวข้อกินอะไรดี" ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ AR มาสื่อสารในรูปแบบ Trail Exhibition ทันสมัย เข้าใจง่าย ผ่านการ Display โต๊ะอาหารในรูปแบบ Installation Art 15 เส้นทาง 3 แนวคิด 1.#มีอะไรในอาหาร ขยายมุมมองของอาหารให้กว้างขึ้นกว่าความอร่อยที่อาจแฝงอันตราย 2.#สารตกค้างมาจากไหน สำรวจเส้นทางแหล่งที่มาก่อนมาเป็นอาหารจานโปรด 3.#ฉลาดเลือกฉลาดซื้อ รู้จักวิธีเลือกซื้อ เลือกกิน พร้อมเคล็ดลับการเตรียมและเก็บอาหารให้ปลอดภัย

“นิทรรศการ ‘#กินอะไรดี’ (What the Food) ได้ขยายผลการจัดนิทรรศการไปสู่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคทั้ง 18 แห่งทั่วประเทศ บนรถไฟฟ้า BTS เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ร่วมเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.resourcecenter.thaihealth.or.th และทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว และว่า “งานนี้คาดหมายว่ามีผู้รับรู้ข่าวสารมากกว่าล้านคน คนขึ้นรถไฟฟ้า สามารถรับรู้ข้อมูลผ่านการสแกน เชื่อว่าผลตอบรับถึงกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัลได้เป็นที่พอใจ”

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในนามของ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ทั้งหมด 37 สาขามีคนเข้ามาเดิน 1.3 ล้านคน เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับ สสส. ในการให้ความรู้กับประชาชนบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในช่วงสถานการณ์โควิด ผู้บริโภคส่วนหนึ่งเลือกบริโภคอาหารผ่าน Delivery อาหารแช่แข็ง บางครั้งมีการผสมโซเดียมเกินความจำเป็น เซ็นทรัลเป็นศูนย์การค้าเชิญชวนประชาชนออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เราจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต เซ็นทรัลขอเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับ สสส. ในการให้ความรู้ประชาชนเพื่อช่วยกันดูแลสุขภาพ

นิทรรศการ “#กินอะไรดี” (What the Food) ของ สสส. ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคนไทยให้ตระหนักและเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายของเซ็นทรัล นอกจากการเป็นศูนย์การค้าชั้นนำของประเทศ ยังเป็นศูนย์รวมของอาหารที่ให้ความสำคัญในความปลอดภัยสูงสุด โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัลร่วมสนับสนุนเทคโนโลยีการสแกนข้อมูลของสินค้าประเภทอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจในความปลอดภัย ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน

***

สารตกค้างมาจากไหน? ผักปลอดสารพิษมีสารเคมีตกค้างจากการเพาะปลูก เมล็ดพันธุ์ถูกตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ก่อนนำมาปลูก และอาจมีการใช้ปุ๋ยเคมีเร่งการเติบโต กินได้ในระดับที่ปลอดภัย หากมีการควบคุมไม่ให้มีสารเคมีตกค้าง ใช้ผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด

ผักปลอดภัย-แหล่งผลิตสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการจัดการเรื่องดินและน้ำอย่างเหมาะสม มีการคัดสรรเมล็ดพันธุ์และควบคุมสารเคมี โรค แมลง ดูแลรักษาปรับปรุงให้อยู่ในมาตรฐาน ห่างไกลการปนเปื้อนตลอดกระบวนการ ที่สำคัญคือ กระบวนการขนส่งสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการดูแลให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนตั้งแต่ฟาร์มไปจนถึงปลายทาง

กินผักตามฤดูกาลดีต่อสุขภาพ มีสารอาหารครบบริบูรณ์ สด ใหม่ หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก ช่วยลดความเสี่ยงจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง มีธาตุอาหารหลักเป็นประโยชน์ สมบูรณ์กว่ากินผักนอกฤดูกาล

ยำรวมมิตร-ผักออร์แกนิก ผักที่มีความเป็นธรรมชาติสูงมาก เพราะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ในการเพาะปลูก ปลูกพืชผักให้เจริญเติบโตไปกับธรรมชาติ ไม่มีการเร่งให้เจริญเติบโต การบรรจุภัณฑ์มีเครื่องหมาย Organic Thailand หรือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) IFOAM ACCREDITED ผักที่ผ่านระบบรองมาตรฐาน GMP และ HACCP สามารถตรวจสอบถึงที่มาที่ไปของผักชนิดนั้นได้

#ตายผ่อนส่ง การกินอาหารที่ไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อร่างกายได้รับสารเคมีตกค้างจากอาหารในระยะแรกอาจยังไม่เห็นผลในทันทีทันใด แต่หากกินไปเรื่อยๆ ได้รับสารพิษสะสมอย่างต่อเนื่องจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว และนำไปสู่โรค NCDS ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

การปนเปื้อนของอาหาร 1.เกษตรกรผู้ผลิต 2.รถขนส่งสินค้า 3.แม่ค้าในตลาด, พนักงานขายของ 4.พ่อครัวทำอาหาร 5.พนักงานส่งของ 6.ครัวในบ้าน

การมีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายจากการขนส่งปะปนลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่ม ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การบาดเจ็บหรือไม่สบายของผู้บริโภค ผู้สัมผัส.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี