โครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของอ้อยและน้ำตาลทราย

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มอบหมายให้สถาบันพลาสติก ดำเนินการโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของอ้อยและน้ำตาลทราย โดยการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ จึงได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน

โดยนายนรุณ สุขสมาน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นผู้มอบน้ำตาลซอง (พลาสติกชีวภาพให้กับร้าน DAVIN CAFE Specialty Coffee ถนนคลองลำเจียก เลียบด่วนรามอินทรา และนายเจริญ บุญอิทธิลลิต กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 โดยภายใต้การดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาซองบรรจุน้ำตาลทรายธรรมชาติ ซึ่งบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุน้ำตาลสำหรับร้านคาเฟ่แบบ take a way เป็นการแบ่งย่อยน้ำตาลทรายบรรจุเป็นซองเล็ก ๆ เพื่อความสะดวกนี้ มักจะถูกนำมาบรรจุน้ำตาลทรายขนาด 6-8 กรัม และสามารถใช้ได้ครั้งเดียว โดยส่วนใหญ่ผลิตจากกระดาษเคลือบพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วทิ้งจะทำให้เกิดขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จำนวนมาก ทั้งนี้การพัฒนาซองบรรจุน้ำตาลที่สามารถย่อยสลายได้ จึงเป็นการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซองบรรจุน้ำตาลที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ จะมีการนำเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการเคลือบบนกระดาษแทนโพลิเอทิลีน ทำให้สามารถย่อยสลายได้เมื่อทำการกำจัดอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ซองบรรจุน้ำตาลที่พัฒนาใหม่นี้ยังสามารถทำการผลิตและบรรจุด้วยกระบวนการผลิตเดิมได้ สามารถยึดเกาะกับกระดาษที่ใช้ในการผลิตซองน้ำตาลได้ และมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาและป้องกันไม่ให้น้ำตาลที่บรรจุอยู่ภายในเกิดความเสียหายได้ อีกทั้งภายใต้โครงการฯ ปี 2565 ยังมีการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบชีวภาพอีก 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ซองไปรษณีย์พลาสติกชีวภาพ ผ้ากันเปื้อนรองเตียงแอนตี้แบคใช้ครั้งเดียวทิ้งย่อยสลายได้ วัสดุกระจายกลิ่นหอมปรับอากาศในรถยนต์จากเถ้าชานอ้อยน้ำยาซักผ้าจากสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากน้ำตาล ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทางสอน.ได้ทำการวางไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ชีวภาพ รวมทั้งผลักดันผู้ประกอบการหรือเกษตรกรให้เข้าสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งทางสอน. ได้ทำการวิจัย พัฒนาและมองหาโอกาสใหม่ที่สามารถนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้อุตสาหกรรมมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นได้ รวมทั้งทำการแก้กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาและต่อยอดในอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างยั่งยืน

อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่อุดมไปด้วยวัตถุดิบทางการเกษตรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา โดยเฉพาะอ้อยนั้นในแต่ละปีจะมีมีอ้อยเข้าหีบรวมกว่า 70-80 ล้านตันต่อไป ซึ่งทำให้มีผลผลิตน้ำตาลเกือบ 10 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่กำลังพัฒนาในยุโรปหลายๆ ประเทศ ได้หันมาเพาะปลูกอ้อย หรือพืชให้ความหวานกันมากขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าของอ้อยและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอ้อยของไทยมีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้นการแปรรูปอ้อยให้เป็นสารตั้งต้นทางชีวภาพเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกทางหนึ่ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก.อุตฯ​ ห่วงเกษตรกรไร่อ้อย เร่งดูแลทั้งชาวไร่ ผู้บริโภค ผู้ส่งออก ไม่ให้ได้รับผลกระทบ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ราคาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวไร่อ้อยอยู่ในขณะนี้

อุตสาหกรรมพลาสติกจ่อบูมปี 65 ขยายตัว 12.88% จับตาปี 66 การส่งออกโต 3-5%

อุตฯพลาสติกจ่อบูม หลังปี 65 ขยายตัว 12.88% จับตาปี 66 การส่งออกโต 3-5% ด้านเอกชนลุยจัดงานรับเทรนด์ ดันโอกาสธุรกิจไทยแสดงศักยภาพ

เปิดแล้ว “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล”ปีที่ 8 ก.พาณิชย์ เดินหน้าชูกลยุทธ์ Soft Power

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัว “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล” หรือ “OTOP Premium Go Inter” ปีที่ 8 ร่วมมือกับ 8

Dow ผนึก วว. และสถาบันพลาสติก ชูนวัตกรรมแก้ปัญหาขยะ สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลคุณภาพสูงแห่งแรกของไทย

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) อำเภอบ้านฉาง เทศบาลตำบลบ้านฉาง และสถาบันพลาสติก

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมกับสถาบันพลาสติก ได้จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมชีวภาพของไทยยังมีการเติบโตไม่มากเท่าที่ควร หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการนำวัตถุดิบ