เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 ที่อุทยานการเรียนรู้ ทีเค พาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน สร้างผลกระทบโดยตรงกับเด็กไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องภาวะการเรียนรู้ของเด็กถดถอย เด็กกว่า 4 ล้านคน อยู่ในช่วงวัยที่ระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดกว่า 80% ของชีวิต ถือเป็นช่วงเวลาที่ต้องได้รับการพัฒนา สสส. โดยศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) ร่วมกับ บริษัท มีบุ๊คส์ จำกัด ประเทศมาเลเซีย พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน “Me Books” ภายใต้แนวคิดปลุกหนังสือให้มีชีวิต เครื่องมือเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาวะ ผ่านนิทานออนไลน์ 4 ภาษา ให้มีความน่าสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นระบบ มุ่งเป้าให้เด็กไทยเข้าร่วม 100,000 คน ภายในปี 2565
“แอปพลิเคชัน “Me Books” มุ่งเป้าพัฒนาสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ ลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว พร้อมเป็นช่องทางเสริมสร้างการเรียนรู้และเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นต้นแบบการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในลักษณะ Startup ที่มีความคล่องตัว สร้างสรรค์ ใช้โครงสร้างทางธุรกิจแบบเต็มตัว สสส. เปิดกว้างสร้างความร่วมมือทั้งไทยและต่างประเทศให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และคนทำงานเพื่อสังคม ซึ่งเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะไปสู่วงกว้างได้อย่างยั่งยืน สนใจเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพได้ที่เว็บไซต์ www.sooklife.com” ดร.สุปรีดา กล่าว
นายเฮา จิน ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Me Books กล่าวว่า แอปฯ Me books ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็ก กับผู้ปกครอง ครู บรรณารักษ์ นักเล่านิทาน ด้วยระบบการสร้างพัฒนาการเด็กแบบขั้นบันได ตั้งแต่การอ่าน ฟัง พูดออกเสียง พร้อมตอบโต้โดยการสัมผัสผ่านหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 450 เรื่อง รวมถึงหนังสือคุณภาพของ SOOK Enterprise สสส. และมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึ่งมาในรูปแบบ 4 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน และมลายู ความพิเศษคือ เครื่องมืออัดเสียงเพื่อให้ผู้ดูแลเด็กสามารถใช้แอปฯ สร้างเรื่องราวใหม่ร่วมกับเด็กเสริมสร้างการเรียนรู้ทางภาษาได้ นอกจากนี้ แอปฯ เปิดกว้างให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดทั้งปี เช่น การประกวดแข่งขันเล่านิทาน (Voice-Over Storytelling) ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ตั้งแต่วันนี้
นางสาวภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข (Sook Enterprise) สสส. กล่าวว่า Sook Enterprise สสส. ดำเนินงานในบทบาทภาคธุรกิจ มุ่งขยายฐานผู้รับประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้สุขภาวะ พัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ และบริการให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการมีสุขภาวะที่ดีและปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของทุกคน มุ่งเป้าพัฒนากิจกรรมและโมเดลธุรกิจในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่ายทั่วโลก เพื่อส่งเสริมวิถีสุขภาพดี 4 มิติ กาย ใจ สังคม ปัญญา ผ่านเครื่องมือที่เข้าถึงได้โดยตรง สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของ Sook Enterprise กว่า 50 กิจกรรม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ SOOK แอปพลิเคชันไลน์ @SOOK และยูทูบ SOOK Channel
ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก หรือเจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ กล่าวว่า พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก ถือเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งด้านสติปัญญา ความคิด ภาษา และพฤติกรรม หากเด็กสามารถเข้าถึงสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ อาจส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น ก้าวร้าว ต่อต้าน ความร่วมมือระหว่างแอปพลิเคชัน Me Books และ สสส. จึงถือเป็นการเปิดพื้นที่สื่อปลอดภัยให้พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก มีทางเลือกที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด คือการใช้ภาษา อ่านนิทาน ถาม-ตอบกับผู้ปกครอง นอกจากจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน ยังสร้างกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่คนในครอบครัว
นายกวี ตันจรารักษ์ ศิลปินนักร้อง คุณพ่อลูกแฝด กล่าวว่า การเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัลไม่สามารถเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในชีวิตประจำวันได้ แต่ต้องเลือกใช้วิธีการรับมือโดยผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม การเล่านิทานของ Sook Publishing สสส. ผ่านแอปพลิเคชัน Me Books ที่มีถึง 4 ภาษา ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิด การจดจำ การตอบโต้ และการเรียนรู้ที่ใช้ควบคู่กับวิถีชีวิตของครอบครัวในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต