นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกระบวนการที่เกษตรกรในชุมชนร่วมกันดำเนินการจัดการศัตรูพืช ตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจศัตรูพืช รายงานสถานการณ์ศัตรูพืช ตัดสินใจเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืช เพื่อให้สามารถจัดการศัตรูพืชในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นพี่เลี้ยงที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว ผ่านกลไกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน หรือ ศจช. ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมพื้นที่ 882 อำเภอ ใน 77 จังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร จึงเดินหน้าพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการศัตรูพืช ในโครงการระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง โดยใช้กลไก ศจช. เป็นตัวอย่างในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการศัตรูพืชผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตร จึงดำเนินกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1) การอบรมวิทยากรกระบวนการ (Training of Trainer: TOT) เรื่องการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การศึกษาดูงานด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมโดยกลไกของ ศจช. และเสริมสร้างความรู้และทักษะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง ในการขับเคลื่อนการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้สามารถนำหลักการดำเนินงานของ ศจช. ไปปรับใช้ในการขับเคลื่อนการจัดการศัตรูพืชให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศต่อไป
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม 57 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรกัมพูชา และราชอาณาจักรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศัตรูพืช ผู้จัดและวิทยากรของประเทศไทย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 9 – 27
สิงหาคม 2565 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด
มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท
กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี
กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนต้นพันธุ์เบญจมาศสะอาด ส่งเสริมสมาชิกแปลงใหญ่ จ.อุบลฯ
แปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด จ.อุบลราชธานี ขยายพื้นที่ปลูกเบญจมาศมากขึ้น หลังตลาดอีสานขยายตัว ทำให้ต้องการต้นพันธุ์ดีจำนวนมาก ด้านกรมส่งเสริมการเกษตรโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5