เบื้องหลังพัฒนา สธ.ไทย ! "หมออุดม" ชม "อนุทิน" มีความเป็นผู้นำ พลิกโฉมระบบสุขภาพไทย จากความเข้าใจ-ทุ่มเท หากไม่มี รมว.คนนี้ ก็เกิดขึ้นไม่ได้

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ถึงผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข และคณะเข้าร่วม

นายอนุทินกล่าวว่า สธ.ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาผู้ทรงคุณวุฒิทุกแขนงได้เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขในการกำหนดทิศทางให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศและขับเคลื่อนงานต่างๆ ให้เกิดผลชัดเจน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขในช่วงโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์โรค ดูแลผู้ป่วย จัดหาวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นและคำชื่นชมจากองค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศจะหมดวาระตามกฎหมาย 5 ปี คือ วันที่ 14 สิงหาคม 2565 จึงต้องขอบคุณคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขที่เข้ามาทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด และสร้างโมเดลในการให้บริการสุขภาพ จนเห็นการพัฒนาจำนวนมาก

นายอนุทินกล่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขชุดนี้ให้การสนับสนุน สธ.หลายเรื่อง ทั้งนโยบาย 3 หมอ โดยเห็นความสำคัญแก่ อสม. จึงมีการพิจารณาค่าตอบแทนและเปิดโอกาสเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และศักยภาพ เช่น เปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี ปีละ 3,000 ตำแหน่ง ให้กับ อสม. ขณะนี้กำลังเปิดรุ่นที่ 2 เพื่อทำให้เป็นหมอคนแรกของประชาชน ส่วนหมอคนที่ 2 และ 3 เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่อยู่ในโรงพยาบาล ใช้ระบบ Telemedicine ซึ่ง กสทช.ยินดีสนับสนุนสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสัญญาณแรง ระบบข้อมูลที่ดี เพื่อให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องเดินทาง จะเป็นจุดปฐมภูมิที่เข้มแข็งมาก หรือการเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุ เริ่มปฏิบัติการเชิงรุก ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลให้มากที่สุด ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อไป ขณะนี้ สปสช.ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์ผ้าอ้อมสำหรับผู้สูงอายุติดเตียงวันละ 3 ผืน เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาระผู้ดูแล และประเทศไทยได้รับอนุมัติจากประชาคมอาเซียนให้ตั้งศูนย์ผู้สูงอายุแห่งอาเซียน อยู่ในกระบวนการลงนามสนธิสัญญากับประเทศสมาชิก เป็นต้น

ทั้งนี้ ศ.คลินิก นพ.อุดม ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จดังกล่าวว่า ตนได้มารายงานผลสำเร็จของการดำเนินงานปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งจะครบวาระ 5 ปีตาม พ.ร.บ. โดยต้องเรียนว่าปัจจัยความสำเร็จ 2 อย่างคือ 1.ความร่วมมือจากทุกฝ่ายส่วน ทุกกระทรวง ที่มีสธ.เป็นหน่วยงานหลัก และ 2. ความเป็นผู้นำ ซึ่งไม่ได้ชื่นชมเพราะว่าท่านรองนายกฯ ยืนอยู่ข้างๆ แต่หากไม่ได้รมว.สาธารณสุขที่เข้าใจ และทุ่มเทเช่นนี้ ทุกอย่างจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น ท่านรองนายกฯ ได้มาดูแล สนับสนุนการทำงานทุกมิติอย่างมาก ทำให้ทุกอย่างเคลื่อนออกไป เห็นผลสัมฤทธิ์ในรูปธรรมไม่ใช่กระดาษ ร่วมกับ ความเป็นผู้นำของผู้บริหารสธ.ทุกระดับไปจนถึงทุกภาคส่วน

“ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธรรมงานอย่างพลิกโฉม(Game Changer) และอีกอย่างคือไปช่วยหน่วยงานที่ทำอยู่แล้ว ยกระดับการทำงาน เร่งรัดให้เกิดผลสำเร็จขึ้น โดยตัวอย่างความสำเร็จ เช่น การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ ก็มีการปฏิรูประบบปฐมภูมิใน กทม. ซึ่งช่วงโควิดเราจะเห็นปัญหาใน กทม.มาก เพราะไม่มีระบบปฐมภูมิปะทะข้างหน้า ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กทม.รับไปแล้ว มีการทำแซนด์บ็อกซ์ 2 แห่ง คือ ราชพิพัฒน์โมเดล และดุสิตโมเดล” ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว

ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวว่า การเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) และหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันเชื่อมโยง ก็จะตอบสนองงาน 30 บาทรักษาทุกที่ เพราะอย่างผู้ป่วยอยู่ รพ.ต้นสังกัดแห่งหนึ่ง เมื่อไปรักษาที่หนึ่งก็จะไม่มีทางหาข้อมูลเก่าได้ ถ้าเชื่อมข้อมูลกัน อย่างอยู่บุรีรัมย์ไปเชียงใหม่ก็มีข้อมูลดึงได้ทันที รักษาเสร็จส่งข้อมูลกลับต้นสังกัด ซึ่งการเสนอตั้งหน่วยงานกลางระดับชาติด้านสุขภาพดิจิทัล รองนายกฯ เห็นชอบแล้ว กำลังเสนอนายกฯ เข้า ครม. ส่วนการจัดทำเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพดิจิทัล กสทช.ก็สนับสนุนงบประมาณ 4 พันล้านบาทในการดำเนินงาน หรือ การดูแลโรคไม่ติดต่อ ก็เกิด Healthy Workplace Policy ให้ทุกสถานประกอบการในระบบ HR ต้องมี Chief Health Officer ที่ต้องรู้ข้อมูลสุขภาพพนักงาน เช่น กี่คนเป็นเบาหวาน ความดัน ติดตามดูผลตรวจสุขภาพ เพื่อลดการเจ็บป่วย ไม่ใช่ทำงานแล้วเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทั้งที่เป็นวัยทำงาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เสี่ยหนู' ลั่น 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ไม่เคยขัดแย้งปมที่ดินเขากระโดง!

'เสี่ยหนู' ยัน พท.-ภท. ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท.แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

'อนุทิน' ย้ำพรรคร่วมมีเป้าเดียวทำเพื่อประชาชนส่วนจะอยู่ได้แค่ไหนก็แค่นั้น

'อนุทิน' ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน - ประเทศ หลังทักษิณชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี

3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง

วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์