สานฝันเยาวชน สร้างโค้ชกีฬาไอดอล ลดนักดื่มนักสูบหน้าใหม่

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยารัตน์ คณะกรรมการบริหารแผน  คณะที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขอชื่นชมและให้กำลังใจผู้ฝึกสอนที่เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โค้ชผู้สร้างแรงบันดาลใจ สานฝันสู่ความเป็นจริง” ครั้งที่ 2 เพราะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาวะในเด็กและเยาวชน โครงการนี้ไม่ได้สอนให้เด็กเล่นกีฬาเป็นอย่างเดียว แต่สร้างพื้นฐานการดำเนินชีวิตทุกมิติทั้ง กาย จิต ปัญญา และสังคม สะท้อนว่าผู้ฝึกสอนเป็นผู้เสียสละดูแลเด็ก มีเป้าหมายระดับโครงการ SDN FUTSAL NO-L CUP เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอลเยาวชนจิตอาสา ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และทุกประเภทกีฬาให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกีฬาช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชน สามารถส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง ฝึกความมีระเบียบวินัยระหว่างฝึกซ้อม เป็นส่วนประกอบที่เสริมสร้างพื้นฐานชีวิตที่ดีในอนาคต

นายสุธน วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ปลอดภัย ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกรมพลศึกษา โดย ดร.นิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา เน้นย้ำให้ทุกกลุ่มงานเวลาจัดกิจกรรมออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา สิ่งสำคัญคือต้องงดเหล้า บุหรี่ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา และเป็นอุปสรรคต่อการเล่นกีฬาตลอดจน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในที่สุด  สำหรับกิจกรรมครั้งนี้เป็นสิ่งที่กรมพลศึกษา ให้ความสำคัญ และควรต้องร่วมสนับสนุน เนื่องจากเป็นโครงการที่ดี ช่วยเติมเต็มความรู้และเทคนิคการสอนเล่นฟุตซอลให้มากขึ้น ทั้งเรื่องหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา เล่นกีฬาอย่างไรให้ถูกต้องตาม ซึ่งจะทำให้นักกีฬามีความพร้อมและสอนเรื่องจิตวิทยาด้านการกีฬาที่พบว่าสำคัญมาก เนื่องจากโค้ชจะต้องนำไปสื่อสารกับเด็กและเยาวชน ที่เป็นนักกีฬาที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งต้องใช้จิตวิทยาในการพูด พูดให้เด็กเชื่อถือ สานฝันไปสู่เป้าหมายของความเป็นจริงได้

นายบุญเลิศ เจริญวงศ์ ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลและฟุตซอล สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยและกรมพลศึกษา กล่าวว่า โค้ชเยาวชนสำคัญมาก จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องเทคนิคมากกว่าแทคติก ​ ถ้านักกีฬาหรือเยาวชนปฏิบัติตัวดี จะทำให้ต่อยอดการพัฒนาจนนำไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้ ซึ่ง “โค้ช” คือหัวใจสำคัญในการบ่มเพาะขึ้นมา จึงขอฝากถึงนักกีฬาเยาวชนในปัจจุบันว่า โอกาสของเยาวชนมีมากในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการที่เยาวชนจะพัฒนาตนเอง เพื่อไปสู่อาชีพโดยใช้ช่องทางการกีฬาเป็นตัวดำเนินชีวิต สามารถทำได้โดยเฉพาะสิ่งสำคัญคือการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ในกีฬาทุกประเภท เช่น ฟุตซอล ฟุตบอล หรือกีฬาวอลเลย์บอล ที่กำลังได้รับการยอมรับ ก็สามารถที่จะใช้เป็นกีฬาอาชีพได้ในอนาคต

นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า ให้ความสำคัญกับโค้ชผู้ฝึกสอน เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กๆ ดังนั้นการทำให้เด็กและเยาวชนที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้เรียนรู้ไม่ใช่เฉพาะกีฬาอย่างเดียว แต่ได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญระดับแรก หากผู้ที่เป็นโค้ชสามารถสอนทักษะด้านการกีฬาได้อย่างเข้าใจ จะทำให้เด็กและเยาวชนทำตามความฝันได้เมื่อเติบโตขึ้น ถึงแม้ว่าเด็กๆ เหล่านี้อาจไม่ได้เป็นนักกีฬาอาชีพทุกคน แต่จะทำยังไงที่ทำให้พวกเขาใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีวินัย มีความมุ่งมั่น และมีน้ำใจ ขณะที่หัวใจของโครงการนี้ คือ นักกีฬาเยาวชนควรจะต้องใส่ใจดูแลสุขภาพที่ดี เนื่องจากเด็กที่อายุไม่เกิน 15-18 ปี สมองและร่างกายกำลัง ต้องการการเจริญเติบโต แต่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ อบายมุขทุกชนิด มีความเสี่ยงที่จะไปสกัดกั้นทำลายเซลล์สมอง และการใช้ชีวิต

นายนิสิต สีหาบุตร ผู้ฝึกสอนกีฬา วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพาณิชยการ กรุงเทพฯ กล่าวว่า สมัครเข้าร่วมโครงการเนื่องจากเห็นว่ามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศมาให้ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดวางรูปแบบ การฝึกซ้อมฟุตซอล การใช้จิตวิทยา โภชนาการ ให้กับเด็กและเยาวชนที่พบปัญหาได้ สำหรับเด็กสมัยนี้ ขบวนการคิดของพวกเขาจะค่อนข้างช้า เพราะเขาจะอยู่กับโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ ในความเป็นจริงนักกีฬาจะต้องมีระเบียบวินัยฝึกซ้อมสม่ำเสมอ เคยมีกรณีที่นักกีฬาได้ออกไปสังสรรค์นอกค่าย ถึงเวลาแข่งจะทำให้แรงตก วิ่งไม่ออก พนัน ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการฝึกซ้อมในการก้าวไปสู่การเป็นนักกีฬาที่เก่งและดีในอนาคต

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ