สสส. ห่วงคนไทยเสี่ยงฆ่าตัวตายปี 65 พุ่ง เหตุ เครียดจัด! จัดกิจกรรม “ThaiHealth Watch 2022 The Series : เรื่องใจเรื่องใหญ่” แนะวิธีจัดการความเครียด สังเกตตัวเอง-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ร่วม จุฬาฯ พัฒนานวัตกรรมปรึกษาสุขภาพจิตออนไลน์ ผ่านเพจ “Here to Heal” เข้าถึงง่าย

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเป็น 1 ปัญหาของคนไทยที่น่าจับตามองในปี 2565 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์ไว้ว่า 1 ปีหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น แนวโน้มของการฆ่าตัวตายในปี 65 กลับจะสูงถึง 10 เท่าจากปกติ เนื่องจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพที่ต้องเริ่มต้นใหม่ ทำให้เกิดความเครียด และหมดความหวังในการดำเนินชีวิต สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ได้จัดกิจกรรม ThaiHealth Watch 2022 The Series ในหัวข้อ เรื่องใจเรื่องใหญ่ เปิดพื้นที่แชร์ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านอารมณ์ แนะแนวทางป้องกันและดูแลตนเอง มุ่งเสริมภูมิคุ้มใจ ฟื้นฟูภาวะเครียดสะสมของคนไทยให้ดีขึ้น

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สสส. ริเริ่มโครงการ Here to Heal เพื่อให้ผู้มีอาการด้านสุขภาพจิตสามารถปรึกษาผ่านนวัตกรรมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Here to Heal ที่รับบริการได้สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ความเครียดสะสม สามารถสังเกตได้จากการคัดกรองตัวเองเบื้องต้น ทั้งด้านความคิด พฤติกรรม อารมณ์และความรู้สึก อาทิ ความคิดเชิงลบในชีวิตประจำวัน นอนไม่หลับไม่ทราบสาเหตุ ไม่อยากเข้าสังคม วิตกกังวลกับความสัมพันธ์คนใกล้ตัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ท้อแท้หมดหวัง รู้สึกไร้ค่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ เมื่อพบว่ามีอาการ ต้องรีบดูแลใจตัวเอง หรือเข้ารับคำปรึกษาอย่างถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากอาการสะสมเป็นเวลานาน อาจจะพัฒนาเป็นปัญหาสุขภาพจิต

นางสาววิภาดา แหวนเพชร อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และวิทยากร Podcast Life's Classroom กล่าวว่า สิ่งรอบข้างกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียดได้ แต่ “ความสุข” คืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับความเครียด ทุกคนสามารถสร้างภูมิคุ้มใจได้ง่าย ๆ ด้วยการมีความสุข ทั้งการเปลี่ยน Mindset การคิดแบบเปิดกว้าง มองโลกในแง่บวก ทบทวนตารางชีวิต เพื่อหาความสุขประจำวัน ผ่านกิจกรรมที่ชอบ อย่างน้อย 10–30 นาที อาทิ ออกกำลังกายแบบง่าย ๆ คิดถึงสิ่งที่มีความสุข ทำสมาธิ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน