“วราวุธ” เผย จัดประชุม TCACประสบความสำเร็จทะลุเป้า มีผู้เข้าร่วมกว่า 3 พันคน

รมว.ทส. “วราวุธ” เผย สร้างความสำเร็จอีกครั้งกับทบาทแก้ปัญหาโลกร้อน การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หรือ TCAC ครั้งแรกของไทย สำเร็จทะลุเป้า ชี้เป็นการส่งข้อความประกาศให้ทุกประเทศทั่วโลกถึงบทบาทไทยต่อการแก้โลกร้อนที่ต้องร่วมสนับสนุนเต็มที่

วันที่ 6 ส.ค 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว The Way Forward ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand’s Climate Actions: The Way Forward) ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 ส.ค. 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยว่า การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หรือ TCAC ถือครั้งแรกของประเทศไทยที่เป็นเวทีสร้างพลังการขับเคลื่อน สร้างพลังการรับรู้ และการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ ที่มาจากพลังของคนไทยที่ผมเชื่อมั่นในศักยภาพ ผมเชื่อมั่นในความสามารถของคนไทยกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดการประชุมตลอดทั้ง 2 วัน

“การประชุมในครั้งนี้ ทำให้เกิดความชัดเจนในส่วนของการขับเคลื่อนของหน่วยงานภาครัฐ ถึงการนำเป้าหมายที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการ ในการมุ่งบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ในงาน COP26 ไปสู่นโยบาย แผนชาติ และ แผนพัฒนารายสาขาทำได้อย่างไร โดยในส่วนของ ทส. จะมีการส่งร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand’s Long-Term Low Greenhous Gas Emission development Strategy) รวมถึงNDC ฉบับปรับปรุง ให้กับ UNFCCC ภายในปลายปีนี้ ก่อนที่ ทางทส. จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประชุม COP 27  ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ประเทศอียิปต์

รมว.ทส. กล่าวต่อไปว่า ขณะที่การขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ ระดับจังหวัดและท้องถิ่น  ได้เห็นความชัดเจนของจังหวัดต่าง ๆ ไม่ว่า เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ภูเก็ต และ กทม. ในการนำนโยบายไปสร้างร่วมมือกับพี่น้องประชาชนทั้ง 67 ล้านคนทั่วประเทศ ไปสู่แนวทางและกำหนดเป้าหมายการลด GHG ระดับจังหวัด และเตรียมพร้อมปรับตัว ต่อผลกระทบ ซึ่ง ทส. และตนเองนอกจากจะอยู่ในฐานะ รมว.ทส. ยังเป็น สส.ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเข้าใจและรู้สึกถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ เช่น การเกิดน้ำท่วม ดังนั้นจึงขอกล่าวว่า ทส. พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด และการขยายผลไปสู่ทุกจังหวัด ทั่วประเทศตามคำประกาศของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

พร้อมกันนี้ รมว.ทส. ยังได้กล่าวถึงประเด็นความร่วมมือจากต่างประเทศว่า ต้องขอขอบคุณ เอกอัครราชฑูต และอุปฑูต จาก 50 กว่าประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครือรัฐออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สมาพันธรัฐสวิส และสหรัฐอเมริกา ที่พร้อมยืนเคียงข้างประเทศไทยในฐานะพันธมิตร รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศกว่า 20 องค์กร ที่สนับสนุน ให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย เช่น ด้านพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ถือว่าวันนี้ เป็นวันที่ประเทศไทย จะส่งข้อความไปทุกประเทศทั่วโลกว่า จะต้องมาทำตามข้อสัญญาที่ได้ให้ไว้กับประเทศไทย ไม่ว่า เรื่องของงบประมาณสนับสนุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นในประเทศ ด้วยวันนี้ประเทศไทยเราเริ่มแล้ว ทุกประเทศต้องทำตามในสิ่งที่ได้สัญญาไว้ ถึงเวลาที่ต้องมาช่วยประเทศไทย

“ และที่เป็นที่น่ายินอย่างยิ่งอีกประกาศ จากการประชุมในครั้งนี้ นั่นคือ การตอบรับเป้าหมาของประเทศจากผู้บริหารระดับCEO ของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ที่ได้เห็นความสำคัญ และกำหนดให้มีการตั้งเป้าหมาย Net-zero ขึ้นในระดับองค์กร ซึ่งตนเองรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้เห็นความตื่นตัว และนำมาซึ่งการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่า (Added Value) ให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ เศรษฐกิจสีเขียวและยั่งยืน”

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า แต่สิ่งที่ตนเองถือว่า เป็นกลุ่มพลังที่สำคัญมากที่สุด คือ เยาวชน ที่พร้อมเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมีความเข้าใจ มีความตื่นตัว ซึ่งต้องช่วยสนับสนุนตามที่เยาวชนได้นำเสนอ เช่น การเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ สร้างความตระหนักแก่เยาวชน ผ่านการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันในส่วนของพี่น้องประชาชนสามารถมีส่วนร่วมง่าย ๆจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และเริ่มได้ในวันนี้ อาทิ การประหยัดพลังงาน การคัดแยกขยะ การรีไซเคิล การเดินทางโดยรถสาธารณะ และการร่วมปลูกต้นไม้ เป็นต้น

“งาน TCAC ที่จัดขึ้น และสำเร็จลงได้ เป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นของทุกฝ่าย ทั้ง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรต่าง ๆ กว่า 500 แห่ง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของประเทศ และประโยชน์สูงสุดของประชาชนจากกิจกรรมจัดนิทรรศการกว่า 30 บูธ และมีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้ง 2 วันมากกว่า 3,000 คน ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นโอกาสอันดี ที่ไทยจะนาผลการดาเนินงานที่เป็นรูปธรรมไปประกาศต่อที่ประชุม COP27 ซึ่งหวังว่าการจัดประชุม TCAC จะสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมไทยให้เห็นความสำคัญของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องขอบคุณทุกท่าน ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดาเนินงานด้าน climate changeเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นในปัจจุบัน และส่งต่อโลกที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกหลานของเราในอนาคต” นายวราวุธ กล่าวในที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตั๊น จิตภัสร์' ลั่น 'ปชป.' ไม่ทิ้งคนใต้แค่ดาวกระจายช่วยน้ำท่วม

'ตั๊น จิตภัสร์' เยี่ยมเยือนสร้างขวัญกำลังใจอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ พังงา -ภูเก็ต ย้ำ 'ปชป.' ดาวกระจาย ทำงาน ระดมสรรพกำลังช่วยน้ำท่วม เคียงข้างคนใต้

กระทรวงทรัพย์ฯ ร่วมส่งมอบความสุขให้ ปชช. ทั่วประเทศ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ มอบกล้าไม้มงคลผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ "พฤกษามหามงคล" และปลูกต้นไม้ ต้นที่ 72 ล้านต้น

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีความตั้งใจที่จะส่งมอบความสุขให้กับประชาชน โดยการเตรียมจัดของปีใหม่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งมอบความสุขแด่ประชาชนทั่วประเทศ สำหรับกรมป่าไม้

รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำทัพผลักดันนโยบายลดโลกเดือด หนุนทุกภาคส่วนรวมพลังสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโลก

วันที่ 4 ธันวาคม 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยและวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “Impact – Driven Policy:

อย่าประมาท! ดร.ปลอดฯ แนะโลกร้อน อุทกภัยมีแต่รุนแรงขึ้น ไทยต้องคิดแบบมีองค์ความรู้

เราอยู่ในยุคโลกร้อน และก็อาจจะอยู่ไปเป็นเวลาร้อยๆปีก็ได้ สิ่งที่จะ เกิดกับประเทศไทยและคนไทยจะมีแต่มากยิ่งขึ้น รุนแรงขึ้น

'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ

เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง

'ดร.ธรณ์' ชี้อากาศแปรปรวนหนัก ภาคใต้ไม่มีพายุ แต่ปริมาณน้ำฝนเทียบเท่า 'ไต้ฝุ่น'

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โ