“พล.อ.ประวิตร” ลุยขับเคลื่อนโปรเจ็กต์เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนให้เป็นรูปธรรม ผ่านการอนุมัติโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ ในพื้นที่กรุงเทพ และจ.สงขลา พร้อมยกระดับแผนปฏิบัติขยายพื้นที่ป่าชายเลน 3 แสนไร่ในระยะ 10 ปี แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล สร้างแหล่งเกษตรประมง เพื่อความกินดีอยู่ดี อย่างมั่นคง และยั่งยืน
(6 สิงหาคม 2565 )พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยว่า พรรคพลังประชารัฐ ได้ให้ความสำคัญในมิติการขับเคลื่อนนโยบายอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นในระยะยาว ผ่านกลไกของรัฐบาล โดยได้มีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ล่าสุดได้อนุมัติ 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงสร้างการเชื่อมต่อถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 กับสะพานพระราม 8 ของสำนักการโยธา กทม. เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด รวมระยะทาง 3.5 ก.ม. และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา - ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ของกรมทางหลวงชนบท ที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ นำมาสู่การแก้ปัญหาจราจรให้กับประชาชนในพื้นที่ และยังเป็นขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้กับคนในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกลไกให้เกิดการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว ที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างรายได้ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
สำหรับการดูแลและฟื้นฟูในด้านสิ่งแวดล้อม โดยพปชร. ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นให้ทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพราะสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ที่สร้างผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และยังรวมไปถึงการประกอบอาชีพของประชาชน ที่เป็นความเชื่อมโยงกันในเรื่องของฤดูกาล ก่อให้เกิดภัยพิบัติ ทั้งภัยแล้งและอุทกภัย สร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้นได้ดำเนินนโยบายเพื่อการยกระดับการแก้ปัญหาป่าชายเลน ด้วยการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนร่วมปลูกป่าชายเลน 3 แสนไร่ ในระยะเวลา 10 ปี ( ปี 2566-2574 ) เพื่อเพิ่มพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามกฎกระทรวงที่กำหนด มุ่งเป้า 6 พื้นที่ ใน 23 จังหวัดชายฝั่ง มีเป้าหมายเพื่อลดการกัดเซาะชายฝั่งทะเล อีกทั้งยังสร้างแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ เป็นการสร้างความมั่นคงอาชีพประมง และยกระดับให้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ
ขณะเดียวกันได้วางแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อประโยชน์การดูดซับคาร์บอน สู่แนวทางการแบ่งปันผลประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ระหว่าง ผู้พัฒนาโครงการ และ ทช. ในสัดส่วน 90 : 10 โดยเรื่องดังกล่าว ได้มอบหมายให้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ศึกษาแผนการแบ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครึ่งหนึ่ง เพื่อนำไปให้ชุมชนใช้ในกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ โดยมีระยะเวลา 10 ปี เป็นการสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรให้เกิดขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่มีการทำลายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการกระตุ้นให้เกิดการขยายผลให้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ทั้งในด้านอาชีพ การสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระแวง-ระวัง “ประโยชน์ทับซ้อน” ถกขุมทรัพย์ไทย-กัมพูชาไปถึงไหน?
การเคลื่อนไหวต่อต้านบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนและแผนพลังงานเมื่อปี 2544 หรือ MOU44 และการปลุกกระแสการเสียเกาะกูดให้กัมพูชา ถ้ามีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล 2 ชาติ
‘พปชร.’ ปลดแอก ‘สามารถ’ โยนระเบิดเข้า ‘เพื่อไทย’ ต่อ
‘พลังประชารัฐ’ ฝั่งบ้านป่าฯ สถาปนาตัวเองเป็น ‘ฝ่ายค้าน-ฝ่ายแค้น’ เต็มตัว
'บิ๊กอ้วน' หวั่นดราม่าดิไอคอนหลังปูดชื่อย่อนักการเมือง
'ภูมิธรรม' ฉะ พปชร. ปูดชื่อย่อคนเพื่อไทยโยงเทวดา iCon ท้าให้เปิดหลักฐาน บอกวันนี้ต้องอยู่กับความเป็นจริง อย่าคาดเดาทำเสียหาย ห่วงดราม่า
อดีตรมว.คลัง กาง MOU44 ถามไม่เรียกว่าเสียดินแดน จะเรียกว่าอะไร?
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
อึ้ง! ปชช. 57% ไม่เชื่อมั่นฝ่ายค้าน 'ไหม' โดดเด่นสุด 'เท้ง' รั้งอันดับ 9 'ป้อม' บ๊วย
โพลชี้ 'ศิริกัญญา' โดดเด่นสุด สส.ฝ่ายค้าน แซง 'หัวหน้าเท้ง' อยู่อันดับ 9 ตามคาด 'ลุงป้อม' รั้งท้าย อึ้ง! ประชาชนไม่เชื่อมั่นการทำงานฝ่ายค้านกว่า 57%