เลขา สทนช. ลงพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เกาะติดสถานการณ์น้ำ ชูแผนรับมือฝนช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.นี้

เลขา สทนช.“ดร.สุรสีห์” ลุยทำงานเชิงรุก เกาะติดสถานการณ์น้ำ และแผนการบริหารจัดในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เน้นทำงานแบบบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน เตรียมแผนรองรับ เผยมอบกรมชลประทานเร่งประสานแนวทางการจ่ายเงินชดเชยพื้นที่รับน้ำนอง คาด ก.ย.นี้ ประกาศได้

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ผู้แทนกรมชลประทาน นำเสนอรายงานการบริหารจัดการน้ำ และการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2565 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก รวมถึงปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ก่อนลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของประตูระบายน้ำ (ปตร.) ในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบันลือ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ตามลำดับ

เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งในส่วนของกรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันตามภารกิจ ซึ่งนอกจากการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แล้ว ยังต้องดำเนินการจัดการสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ เช่น ผักตบชวา วัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งจะเร่งประชุมหารือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยมอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 (สทนช.ภาค 2) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ขณะเดียวกันยังได้ประสานกับกรมชลประทาน ในการตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ที่ใช้ในการควบคุมการน้ำ หากพบว่า เกิดการชำรุด ให้เร่งดำเนินการซ่อมแซมเพื่อให้พร้อมต่อการทำงานบริหารจัดการน้ำ

“ในช่วงเดือน ก.ย. – ต.ค.นี้ คาดว่าจะเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุด จึงต้องมีการเตรียมการรองรับเพื่อให้เกิดการทำงานเต็มประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชน ในกรณีที่ต้องเพิ่มปริมาณระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น โดยเน้นการแจ้งเตือนล่วงหน้ามากขึ้น เพื่อให้เกิดการรับทราบข่าวสาร และเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น ในการนี้ได้มีการประชุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กอนช. จะประสานให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำโดยควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่ตกลงมา และติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป”

“จากปริมาณฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่ง สทนช. ได้ประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนบริเวณท้ายน้ำให้น้อยที่สุด พร้อมให้มีการแจ้งเตือนประชาชนรับทราบล่วงหน้าและชัดเจน ทั้งช่วงเวลาและระดับน้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการประสานกับจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานต่าง ๆ ในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กรณีที่เกิดอุทกภัยเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็วที่สุด” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

ดร.สุรสีห์ กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการชดเชยให้กับเกษตรกรจากกรณีที่ต้องนำพื้นที่ลุ่มต่ำมาเป็นพื้นที่รับน้ำนอง ตามมติคณะกรรมการทรัพยากรแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นเจ้าภาพในการเสนอเรื่องอัตราเงินชดเชยต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยรายละเอียดอัตราเงินชดเชยอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง ก่อนนำมาเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มประกาศใช้ได้ในช่วงเดือนกันยายนนี้ไปต้นไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน-ผบ.ทบ.' ลงชายแดนใต้ ให้กำลังใจส่วนงานศึกษาขับเคลื่อนพื้นที่สันติสุข

พันตรีหญิง กัญญ์ณณัฐ พรนิพัทธ์กุล ผู้ช่วยโฆษก ทบ เปิดเผยว่า พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบกร่วมคณะ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ

'เศรษฐา' โต้เสียงแขวะ! ลงพื้นที่ถี่ได้ปริมาณแต่ไร้คุณภาพ

'เศรษฐา' โต้เสียงแขวะลงพื้นที่ได้ปริมาณแต่ไร้คุณภาพ ชี้เรื่องการเมืองไม่เอามารกหู รับรำคาญบ้าง ลั่นใช้เวลาวันหยุดฟังปัญหาจริง จ่อลุยทัวร์อีสาน - ครม.สัญจรโคราช

นายกฯ ถกรับมือสถานการณ์น้ำลั่นป็นวาระแห่งชาติห้ามเกิดน้ำท่วมฉับพลัน!

นายกฯ ถกรับมือน้ำท่วมเป็นวาระแห่งชาติ สั่งทุกหน่วยงานพร้อมรับมือ ย้ำการทำงานอย่างมีเอกภาพ สั่งตั้ง้งศูนย์ฉุกเฉินบริการประชาชน ด้าน สทนช.รับอาจมีน้ำท่วมบ้าง

สทนช. เดินหน้า 10 มาตรการรับมือฤดูฝนเต็มกำลัง มั่นใจสถานการณ์น้ำท่วมไม่ซ้ำรอยมหาอุทกภัย ปี 54

สทนช. ผนึกกำลังทุกหน่วยงานขับเคลื่อน 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 หลัง ครม. เปิดไฟเขียว มุ่งบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีเอกภาพ เน้นวางแผนล่วงหน้าในเชิงรุก

นายกฯ ห่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯ สั่งเดินหน้ามาตรการรับฝน สทนช.รับลูกบูรณาการหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

“นายกรัฐมนตรี” ห่วงฝนตกหนักท่วม กทม. สั่งการทุกหน่วยเร่งเดินหน้า 10 มาตรการรับมือฤดูฝน สทนช.รับลูกผนึกกำลังเร่งบูรณาการวางแผนทั้งระบบ ป้องกันไม่ให้ 3 น้ำคือ น้ำเหนือ น้ำทะเลหนุน น้ำฝน มาบรรจบกัน พร้อมเดินหน้าสร้างกระบวนการรับรู้ภาคประชาชน มั่นใจช่วยลดความเสียหายและสภาวะน้ำท่วมได้มีประสิทธิภาพ