นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉพาะไม้ผลให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานจึงได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ จัดงานส่งเสริมการบริโภคสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์คุณภาพดีข้ามถิ่นนอกแหล่งผลิต “มหกรรมไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ ’65” ระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. - 20.00 น.ณ ศูนย์การค้ามีโชคพลาซ่า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้นำผลไม้คุณภาพดี รสชาติอร่อย มาร่วมประชาสัมพันธ์และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนนักท่องเที่ยว และผู้สนใจทั่วไป โดยภายในงานมีการจำหน่ายผลไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ อาทิ ทุเรียนสะเด็ดน้ำ จังหวัดยะลา ทุเรียนทะเลหอย จังหวัดกระบี่ ทุเรียนบางนรา จังหวัดนราธิวาส จำปาดะควนโดน จังหวัดสตูล ส้มโอทับทิมสยาม จังหวัดนครศรีธรรมราช ลองกองคุณภาพจังหวัดระนอง มังคุดคุณภาพ จังหวัดชุมพร มะม่วงเบา จังหวัดสงขลา สับปะรด จังหวัดภูเก็ต สละ จังหวัดพัทลุง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่น ๆ อีกมากมายกว่า 30 บูธ พร้อมด้วยกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ทั้งการแข่งขันกินผลไม้ การจำหน่ายผลไม้ในราคาพิเศษ (นาทีทอง)
"นับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลท้องถิ่นสู่มาตรฐานการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจหรือโครงการไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยนำไม้ผลอัตลักษณ์ที่สำคัญในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดในภาคใต้ มาส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจทั้งส่งเสริมการปลูก ดูแลรักษา และเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าสู่กระบวนการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ต่อไป" รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
ด้านนายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กล่าวเพิ่มเติมถึงสำหรับสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ในปี 2565 ว่ามีพื้นที่ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง รวม 1,108,655 ไร่ ผลผลิตรวม 496,010 ตัน ซึ่งขณะนี้ผลผลิตตามฤดูกาลได้ออกสู่ตลาดแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นอกจากนี้พื้นที่ภาคใต้ของไทยยังเป็นแหล่งผลิตผลไม้เขตร้อนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะต่อการเจริญเติบโต มีสายพันธุ์ไม้ผลที่ดี ตลอดจนเกษตรกรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี รสชาติเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในปี 2565 ถึงแม้ว่าสภาพอากาศจะมีผลกระทบทำให้ผลผลิตน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา แต่การบริหารจัดการไม้ผลเศรษฐกิจของภาคใต้ ยังสามารถกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศผ่านผู้ประกอบการเอกชน (ล้ง) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สหกรณ์การเกษตร Modern Trade ตลาดออนไลน์ ตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด รถเร่ และการจัดงานประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายของแต่ละจังหวัด สำหรับผลผลิตบางส่วนก็ได้มีการพัฒนาและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีแช่แข็ง อบแห้ง กวน และทอด
กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอเชิญผู้สนใจร่วมงานระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. - 20.00 น. ณ ศูนย์การค้ามีโชคพลาซ่า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศพก. - แปลงใหญ่ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับรายได้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ครั้งที่ 4/2567 ณ
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด
มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท
กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี