HATSAYA จากเบญจรงค์ สู่เครื่องประดับ Luxury ที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit มีบทบาทที่มุ่งให้ความสำคัญกับ สืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการผลิตชิ้นงาน แต่ยังคงไว้ซึ่งความประณีตตามแบบแผนของงานหัตถกรรมไทย โดยส่งเสริมการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อรับมือกับเทรนด์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อย่างเช่น “คุณหัสยา ปรีชารัตน์” ที่แรกเริ่มสานต่องานเบญจรงค์ของครอบครัวด้วยใจรัก แต่ก็พบว่าการสร้างสรรค์ งานศิลปหัตถกรรมไทยท่ามกลางวิวัฒนาการโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การอยู่กับที่ด้วยรูปแบบดั้งเดิมอาจมีข้อจำกัดในด้านการตลาด ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีโอกาสรับคัดเลือกเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2560 ของ sacit  ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการผลิตชิ้นงานตลอดจนได้รับโอกาสในการเพิ่มช่องทางการขายในระดับประเทศ ทำให้ทุกวันนี้เกิดแนวคิดในการพัฒนาชิ้นงานให้สามารถตอบโจทย์เทรนด์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

นางสาวหัสยา ปรีชารัตน์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมไทย เจ้าของแบรนด์ HATSAYA เปิดเผยว่า เนื่องจากงานเบญจรงค์เป็นศิลปหัตถกรรมแขนงหนึ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งทางด้านรูปทรงและลวดลายต่างๆ ปัจจุบันได้พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปทรงและลวดลายให้เข้ากับยุคและสมัย เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงเอกลักษณ์ของงานเครื่องเบญจรงค์ให้ยังคงอยู่ แต่ด้วยความต้องการของผู้คนมีการปรับเปลี่ยนตลอด ส่งผลให้การสร้างสรรค์งานเบญจรงค์ต้องมีการปรับตัวอยู่สม่ำเสมอ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยิ่งทำให้การจำหน่ายเบญจรงค์ในรูปแบบข้าวของเครื่องใช้ ของที่ระลึก มีการชะลอตัว จึงได้เกิดแนวคิดว่า “จะทำอย่างไรให้เบญจรงค์สามารถเข้าถึงผู้คนได้ จับต้องได้ง่ายขึ้น ดังเช่นที่เคยได้เข้ารับการเพิ่มศักยภาพทั้งความคิดสร้างสรรค์และด้านการตลาดจาก sacit ซึ่งมุ่งเน้นให้งานศิลปหัตถกรรมไทยสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน” จึงต่อยอดจากงานเบญจรงค์จากชิ้นใหญ่ ๆ ปรับเปลี่ยนมาเป็นเครื่องประดับที่มีดีไซน์ และมีความ Luxury ไม่ว่าจะเป็นต่างหู จี้สร้อยคอ เข็มกลัดตกแต่ง ฯลฯ โดยผลิตคอลเล็คชั่นให้มีความมินิมอล ตอบโจทย์ไลฟสไตล์ของผู้หญิงในหลายๆ รูปแบบ สามารถนำไปมิกซ์แอนด์แมทช์ได้อย่างลงตัว

การสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่ง นอกจากจะเป็นผลดีกับยอดจำหน่ายที่จะทำให้อาชีพจากงานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความมั่นคงแล้ว ยังช่วยให้การอนุรักษ์และสืบสานสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น และให้กลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างลงตัว

ความยากของ HATSAYA Gem คือ การสร้างสรรค์งานเบญจรงค์ที่ถอดรูปแบบกรรมวิธีการผลิตที่เป็นรูปแบบเฉพาะของเบญจรงค์ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น เคลือบ เผา ตลอดจนการเขียนลายน้ำทอง ซึ่งเป็นลายเฉพาะของ HATSAYA อาทิ ลายก้านต่อดอก ที่ปรับประยุกต์จากลายนาคกระดานซึ่งเป็นลายดั้งเดิม แต่มาเขียนในเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ นับว่าต้องอาศัยความประณีต เพื่อให้ทุกชิ้นงานสามารถบอกเล่าเรื่องราวของงานเบญจรงค์ได้อย่างอย่างมีคุณค่า ซึ่งปัจจุบันได้นำไปทดสอบตลาดในต่างประเทศ อาทิ ดูไบ บาเรน และ ญี่ปุ่น ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี และในอนาคตยังได้เตรียมต่อยอดเครื่องประดับเบญจรงค์ HATSAYA ให้เข้าถึงกลุ่มตลาดแบบ Unisex มากขึ้น เพื่อการขยายตลาดที่กว้างมากขึ้นอีกด้วย  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแล้ว!! เวทีการประกวดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ปลุกปั้นนักออกแบบไทยไปไกลถึงระดับโลก International Craft Creation Concept Award 2025 หรือ I.CCA.2025

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เชิญชวนนักออกแบบ และกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม

สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

สศท. นำเทรนด์แฟชั่นต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย จากฝีมือผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. นำเทรนด์แฟชั่น เทคนิค มาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระเป๋าสม็อคฝีมือการสร้างสรรค์จากกลุ่มผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

sacit ชวนสัมผัสประสบการณ์ “เที่ยวฟินอินผ้าไทย” โดนใจคนรุ่นใหม่ วัยเกษียณ และต่างชาติ ดัน Soft Power ปล่อยพลังคราฟต์ไทยให้กระหึ่ม

sacit ชูศิลปหัตถกรรมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างแบรนด์ดิ้งให้ประเทศไทย ดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่จนถึงวัยเกษียณอายุ