เปิดเวทีแก้ปม..คนไทยสุ่มเสี่ยงต้องวัดดวง 1ปี"หมิงตี้ระเบิด"ตามหลอน ก่อวิกฤตกระทบต่อสุขภาวะ

สสส.-กสม.ผนึก 5 ภาคีเครือข่าย เปิดเวทีถกปัญหามลพิษอุตสาหกรรม กรณีครบรอบ 1 ปีโรงงานหมิงตี้เคมีคอลระเบิด หลังเพลิงสงบ ก่อวิกฤตผลกระทบต่อสุขภาพ เสี่ยงตาย-ป่วย 388 คน หวั่นเหตุซ้ำรอย ยังมีโรงงาน 203 แห่งมีวัตถุอันตรายในสมุทรปราการรอคิวระเบิด  รุกดันโรงงานต้องขออนุญาตถูกต้อง อุบัติภัยฉุกเฉินประชาชนต้องได้รับการเยียวยา NGO ตั้งข้อสังเกตภาคเอกชนซิกแซ็กทุจริตฯ สูงมากทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง ประชาชนต้องเข้ามาตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใส

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.),  มูลนิธิบูรณะนิเวศ และสมาคมนักผังเมืองไทย จัดงานเสวนา “ครบรอบ 1 ปีหมิงตี้เคมีคอล : หลังเพลิงสงบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน” เวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ประชาสังคม นักวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันมลพิษอุตสาหกรรม ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2565 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในรัศมี 1-9 กม. จากกลิ่นเหม็นของสารเคมีและเขม่าควันในช่วงเวลาหลังเกิดเพลิงไหม้ ทำให้มีผู้เข้ารักษาพยาบาล 388 คน ปัจจุบันยังคงมีสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ใต้ซากอาคารที่ยังไม่รื้อถอนหรือดำเนินการเคลื่อนย้าย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2565 จังหวัดสมุทรปราการได้จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบสารเคมีตกค้างในพื้นที่ เพื่อเร่งติดตามแผนการรื้อถอนและเคลื่อนย้ายสารเคมี ลดการเกิดเหตุสุดวิสัยที่ถือเป็นปัญหามลพิษระดับชาติ

“โรงงานหมิงตี้ขอขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 หมื่นตันต่อปี ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่ผังเมืองสีแดง ห้ามประกอบโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม กรมโรงงานต้องถอนใบอนุญาตครั้งที่ 2 เราต้องหารือร่วมกัน แต่ละหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทำงานอย่างบูรณาการระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดและท้องถิ่น หน่วยงานใดเป็นหลัก เพราะยังมีโรงงานอีก 203 แห่งในสมุทรปราการมีวัตถุอันตรายรอระเบิด” นางสาวศยามลกล่าว

นางปรีดา คงแป้น  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์นี้เกิดปัญหาสุขภาพสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างยาวนาน การขนย้ายสารเคมีมีช่องว่างมากมาย การที่ท้องถิ่นบอกว่าไม่รู้เรื่องสารเคมีและยังไม่มีอุปกรณ์จัดการสารเคมี เป็นเรื่องที่ควรทบทวนแก้ไข นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องบอกให้ประชาชนรู้ว่ารอบบ้านเขามีโรงงานสารเคมีกี่โรงงาน ทำอย่างไรจะรับมือกับภัยพิบัตินี้ได้ เพราะสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิทธิในสุขภาพคือสิทธิพื้นฐานของมนุษยชน

"การจัดเสวนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น จากกรณีครบรอบ 1 ปีหมิงตี้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1.สิทธิของประชาชนในกระบวนการอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.สิทธิของประชาชนในการได้รับความช่วยเหลือและเยียวยาจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติภัยร้ายแรง” นางปรีดากล่าว

.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ปัญหาโรงงานหมิงตี้หลุดพ้นจาก จ.สมุทรปราการ กลายเป็นประเด็นระดับชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมมลพิษ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โรงงานที่อยู่รายรอบเมืองหลวงมีความเชื่อมโยงกับฝุ่นจิ๋ว 2.5 โรงงานนี้ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดจิ๋วรั่วซึมรั่วไหล ฟุ้งกระจายเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อทำปฏิกิริยากับ PM 2.5 ขั้นทุติยภูมิ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น จะต้องพึ่งงานวิจัยว่าส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย สำหรับกรุงเทพฯ ยังมีโรงงานอันตรายที่รอระเบิดอีก 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นที่บางขุนเทียน บางเขน  ขณะนี้ภาคประชาชนยกร่างกฎหมาย Pollutant Release and Transfer Registration: PRTR ส่งเข้าไปในรัฐสภา ในขณะที่ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้พูดถึงการเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะทางปฏิบัติที่ผ่านมานั้น กรมโรงงานฯ ไม่ได้ให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมอนามัย ฯลฯ ทั้งๆ ที่เขาควรจะได้รับทราบข้อมูลด้วย

จากรายงานของ Global Alliance on Health and Pollution หรือ GAHP ที่เป็นเครือข่ายของหน่วยงานระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการกับวิกฤตมลภาวะทั่วโลก และผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ พบว่าในปี 2562 ประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมลพิษ 43,538 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตมีสาเหตุเกี่ยวกับมลพิษอากาศ 30,625 คน, มลพิษจากน้ำ 5,379คน, มลพิษจากสถานที่ทำงาน 5,406 คน และพิษตะกั่ว 2,127 คน

“ประเทศไทยมีปัญหามลพิษอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับมีบทบาทสำคัญในการดูแลควบคุมมลพิษ แต่เรายังขาดกฎหมาย PRTR เพื่อรายงานการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งจะดำเนินการได้ต่อเมื่อมีกฎหมายฉบับนี้เป็นพื้นฐาน และกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ห้ามปล่อยมลพิษ แต่กำหนดว่าการปล่อยต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานเป็นชื่อมลพิษนั้นๆ และปริมาณในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อป้องกันความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองประชาชน” น.ส.เพ็ญโฉมกล่าว.

****

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดเสวนา “มลพิษอุตสาหกรรมจะสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารเป็นระยะเวลานาน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ สารเคมีอันตรายที่ปล่อยมาจากโรงงาน อาทิ สารสไตรีนโมโนเมอร์ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่สัมผัสหรือสูดดม ทำให้มีอาการเจ็บป่วย ปวดหัว แสบคอ เวียนหัว แสบจมูก คัดจมูก จนถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด นอกจากจะปล่อยมลพิษทางอากาศ ยังเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ กระทบการเกษตร และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สสส.คำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ จึงมุ่งสนับสนุนพัฒนากลไกทางสังคม ผลักดันให้เกิดสิทธิของชุมชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (Community Right-to-Know) นำไปสู่กฎหมายควบคุมการปล่อยสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดผู้เสียชีวิตด้วยโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษที่ยั่งยืน”.

***

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. (สำนัก 2) กล่าวปิดการเสวนา 

“คนจำนวน 9 ล้านคนจาก 190 ประเทศทั่วโลก เสียชีวิตจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม คนไทยตาย 43,000 คน จากมลพิษ น้ำ อากาศ ตะกั่ว เราต้องต่อสู้กับภัยที่มองเห็นและไม่เห็น เราต้องอยู่ท่ามกลางภัยพิบัติ สำนัก 2 ทำงานสร้างเสริมสุขภาพจิต จึงต้องเร่งขับเคลื่อนสุขภาพจิตที่ดี นักวิชาการ นักสื่อสาร สสส.ก้าวสู่ปีที่ 21 จุดประกายเพื่อขับเคลื่อนแก้ไขมลพิษจากสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจิตที่ดี มุ่งให้เกิดผู้ก่อการดี การขับเคลื่อน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ทำงานอย่างมีบูรณาการ ช่วยกันสร้างประชากรตื่นรู้ มีศักยภาพที่ดีในชุมชนขับเคลื่อนภาครัฐทำงานอย่างเห็นผลด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ