กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนเกษตรกรระวัง5โรคพืชระบาดหน้าฝน

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนให้ระวัง 5 โรคพืช มักเกิดในหน้าฝน หวั่นระบาดและพืชผลทางการเกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง แนะหมั่นตรวจสอบแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบเป็นโรค ให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงการแจ้งเตือนพี่น้องเกษตรกรให้เฝ้าระวังโรคพืช 5 ชนิด ที่พบบ่อยช่วงหน้าฝน ป้องกันพืชผลทางเกษตรเสียหายเป็นวงกว้างว่า ช่วงหน้าฝนสภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจเกิดการระบาดของโรคพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังการระบาด และวางแผนการจัดการโรคให้ดี เพื่อลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรคพืชประกอบด้วย

1.โรคราน้ำค้าง จะทำให้ผิวใบด้านบนของพืชเป็นจุดขนาดเล็กสีซีดอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ก่อนที่ใบพืชจะแห้งลงและหลุดร่วงในที่สุด มักพบในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป และฟักทอง วิธีกำจัดให้ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อนปลูก หากระบาดมากสามารถใช้สารเคมีไดเมโทมอร์ฟ ฉีดพ่น

2.โรคเน่าคอดิน มักพบในระยะต้นกล้าบริเวณโคนต้น เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเน่า ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวและตาย บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทำลายเมล็ด ทำให้เมล็ดไม่งอก หรืองอกแต่ไม่มีใบเลี้ยง มักพบในต้นกล้าของพืชผักและพืชไร่ โดยให้หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบต้นกล้าที่เป็นโรค ให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และก่อนปลูกให้คลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา

3.โรคราสนิมขาวในผัก โดยจะมีจุดสีเหลืองซีดที่ด้านบนของใบ และตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็ดใต้ใบ พบมากในผัก เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และในไม้ดอก เช่น เบญจมาศ ใช้วิธีกำจัดด้วยสารสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเมล็ดหรือหว่านลงแปลงก่อนปลูก หรือฉีดพ่นป้องกันโรค

4.โรคใบจุด จะเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลกับต้นกล้า และโคนต้น ส่วนในต้นที่โตแล้วใบเกิดจุดแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดำบนแผลผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบ เป็นจุดลีน้ำตาลปนดำ มักพบในพืชผักตระกูลกะหล่ำ โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือทางการเกษตรกร และเมล็ดพันธุ์ โดยวิธีกำจัดให้ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโดเดอร์มา หากระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคพืช และ

5.โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา พบบริเวณด้านล่างของต้นมีสีเหลืองแล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน กลายเป็นสีน้ำตาลแล้วแห้งตาย พบในพืชพวกแตงชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงแคนตาลูบ แตงไทย และแตงโม ส่วนวิธีกำจัดและป้องกันให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่เคยเกิดการระบาดมาก่อน ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินก่อนปลูก และใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หากระบาดรุนแรง ให้ใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล อัตราหรือส่วนผสมตามคำแนะนำในฉลาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

ผวากระทบฐานเสียงรัฐบาล! หลังครม.เลิกไ่ร่ละ 1 พัน ดัน 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' แทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาการประชุมครม.ได้หารือวาระต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว นายกรัฐมนตรี ได้มีการสอบถามขึ้นมากลางวงประชุม ถึงกรณีโครงการของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือชาวนาผ่านโครงการปุ๋ยคน

รัฐบาลเพื่อไทย เลิกช่วยชาวนาไร่ละพัน ใช้ปุ๋ยคนละครึ่งแทน อ้างราคาข้าวสูงขึ้น!

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้หยิบ