นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุถึง ผู้ที่เข้าบำบัดรักษา”ยาเสพติดทั่วประเทศ” มีจำนวนลดลง โดยเฉพาะช่วงสุญญากาศ1เดือนที่ผ่านมาพบว่ามี ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดจำนวน“ลดลง” เหลือ 31 ราย คิดเป็น ร้อยละ 81.66 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมีเนื้อหาดังนี้
.
จากกรณีที่มีความห่วงใยว่า การเกิดช่วงเวลาสุญญาการศทางกฎหมายหลังการปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา จะทำให้เกิดผู้ที่ได้รับผลกระทบจนต้องเข้าบำบัดรักษาทั่วประเทศนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการรวบรวมข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศ (บสต.) ได้ปรากฏผลความจริงดังนี้
.
ประการแรก นับตั้งแต่ได้มีการปลดล็อกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ตั้งแต่ต้นปี 2562 ได้ส่งผลทำให้ “มีผู้ที่เข้าบำบัดรักษา”ยาเสพติดทั่วประเทศในปีแรก เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2561 กล่าวคือ ในปี 2561 มาจำนวนจาก 248,588 ราย แต่พอในปี 2562 เพิ่มขึ้นมาเป็น 263,730 ราย โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในแทบทุกประเภท ได้แก่ กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน กระท่อม และยาเสพติดอื่นๆ โดยการบำบัดรักษาส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 82.7- 87.7 คือยาบ้า/ยาไอซ์
.
แต่ภายหลังจากเวลาผ่านไปหลังปี 2562 พบว่า ตัวเลขผู้ที่เข้าบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ลดลงเหลือ 156,632 ราย และในปี 2565 จนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ลดลงเหลือ 80,938 ราย
.
โดยภาพรวมแล้วการบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศถึงปี 2565 ไม่เพียงลดลงน้อยกว่าปี 2562 ซึ่งเป็นปีแรกใช้กัญชาทางการแพทย์ในวงกว้างเท่านั้น แต่ยังลดลงน้อยกว่า 2561 ซึ่งเป็นปีก่อนการปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์เสียอีก
.
ประการที่สอง ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่องเสมือนว่าสังคมเกิดความโกลาหลวุ่นวายด้วยได้รับผลกระทบจากกัญชาอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นใน ช่วงสุญญากาศทางกฎหมายในระหว่างการรอ พระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง พ.ศ…
.
แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำนวนผู้ที่ได้รับการบำบัดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาปลดล็อก(สุญญากาศ) ผ่านไปแล้ว 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีผู้ที่ใช้กัญชาเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดจำนวนทั้งสิ้น 31 ราย ซึ่งน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลา 1 เดือนก่อนปลดล็อกที่มีจำนวนทั้งสิ้น 180 ราย หรือคิดเป็นการ “ลดลง”ในการที่ผู้ป่วยกัญชาซึ่งได้รับบำบัดเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 81.66
.
และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาจากกราฟแล้วยังพบว่าเป็นเดือนมิถุนายน - 10 กรกฎาคม 2565 เป็น 1 เดือนที่ผู้ใช้กัญชาได้รับการบำบัด “น้อยที่สุด” นับตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2565 เสียด้วยซ้ำ
.
สะท้อนให้เห็นว่าในความเป็นจริงมีการใช้กัญชาใต้ดินจำนวนมากอยู่แล้ว เพียงแต่สื่อมวลชนไม่ได้ไปขยายผลนำเสนอข่าวผลกระทบก่อนหน้านี้เท่านั้น โดยกัญชาเป็นพืชที่สามารถปลูกและใช้ช่อดอกได้ทันทีในครัวเรือนตั้งแต่ “ก่อน” การปลดล็อกในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 แล้ว
.
คนจำนวนหนึ่งที่ใช้กัญชาเกินขนาดจนถึงขั้นมีอาการที่ต้องได้รับการบำบัดส่วนใหญ่จะไม่กลับไปมีอาการอีก ด้วยเพราะกฎธรรมชาติของกัญชา หากใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงจนถึงขั้นต้องได้รับการบำบัด เช่น หวาดกลัว ตื่นตระหนก ความดันตก หัวใจเต้นเร็ว ฯลฯจะมีความระมัดระวังและไม่ทำซ้ำในพฤติกรรมเดิมอีก บางรายถึงขั้นกลัว เข็ดขยาด หรือถึงขั้นเลิกการใช้กัญชา
.
นอกจากนั้นผู้ใช้กัญชาส่วนใหญ่จะนอนหลับหลังการใช้กัญชา กลายเป็นข้อจำกัดในการใช้กัญชาเกินขนาดซ้ำๆหลายครั้ง จึงต่างจากยาเสพติดร้ายแรงอื่นๆ ด้วยกฎกัญชาข้างต้นจึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเสพติดกัญชาอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก
.
ประการที่สาม จากการสํารวจครัวเรือนระดับชาติเพื่อประมาณการจํานวนผู้ใช้สารเสพติดในปี พ.ศ. 2562 พบว่าประเทศไทย ในรอบ 1 ปี 2562 ประชากรที่เคยใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งมีจำนวน 1,966,827 ราย เรียงลำดับจากมากที่สุด คือ กัญชา 668,157 ราย, ยาบ้า 652,873 ราย, กระท่อม 490,704 ราย, และยาไอซ์ 372,294 ราย, น้ำต้มใบกระท่อม 221,300 ราย, ยาอี/ยาเลิฟ 220,777 ราย, ยาเค 126,453 ราย, สารระเหย 101,875 ราย, ผงขาว/เฮโรอีน 93,101 ราย, โคเคน 32,523 ราย
.
แต่ในขณะที่ “กัญชา” และ “กระท่อม รวมน้ำกระท่อม” ได้มีการใช้มากที่สุดในปี 2562 กลับมี “สัดส่วน” ผู้ที่ต้องได้รับการบำบัดน้อยกว่ายาบ้า/ยาไอซ์, น้อยกว่าเฮโรอีนอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นว่ากัญชา และกระท่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพจนต้องได้รับการบำบัดน้อยกว่ายาบ้า ยาไอซ์ และเฮโรอีนอย่างชัดเจน
.
โดย “ยาบ้า” และ “ยาไอซ์” มีผู้ใช้รวมกันในรอบ 1 ปี 2562 ประมาณ 1,025,167 คน มีผู้ที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจาการใช้ “ยาบ้า” และ “ยาไอซ์” ในปี 2562 จำนวน 212,276 ราย[1] คิดเป็นสัดส่วนของผู้ที่ต้องรับการบำบัด “ร้อยละ 20.70” ของประมาณการจำนวนผู้ที่ใช้ยาบ้าและยาไอซ์ในรอบ 1 ปี
.
“เฮโรอีน” มีผู้ใช้ในรอบ 1 ปี 2562 ประมาณ 93,101 คน มีผู้ที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจาการใช้ “เฮโรอีน” ในปี 2562 จำนวน 4,855 คน คิดเป็นสัดส่วนของผู้ที่ต้องรับการบำบัด “ร้อยละ 5.21” ของประมาณการจำนวนผู้ที่ใช้ยาบ้าและยาไอซ์ในรอบ 1 ปี
.
“กัญชา” มีผู้ใช้ในรอบ 1 ปี 2562 ประมาณ 668,157 คน มีผู้ที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจากการใช้กัญชาในปี 2562 จำนวน 18,180 ราย คิดเป็นสัดส่วน “ร้อยละ 2.7” เทียบกับจำนวนผู้ที่ใช้กัญชาในรอบ 1 ปี
.
“กระท่อม” และ “น้ำต้มใบกระท่อม” มีผู้ใช้ในรอบปี 2562 รวมกัน ประมาณ 712,004 ราย[2] โดยมีผู้ที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจาการใช้กระท่อม และ 4 x 100 ในปี 2562 จำนวน 5,389 ราย คิดเป็นสัดส่วนของผู้ที่ต้องรับการบำบัด “ร้อยละ 0.75” ของประมาณการจำนวนผู้ที่ใช้กระท่อมในรอบ 1 ปี
.
ดังนั้นสัดส่วนผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดกัญชา และ กระท่อมนั้นอยู่ในระดับที่น้อยมาก โดยกัญชา ไม่เกินร้อยละ 2.7 กระท่อมไม่เกินร้อยละ 0.75
.
โดยเฉพาะพืช “กระท่อม” นั้นได้เกิด “สุญญากาศทางกฎหมาย” นานเกือบ 1 ปีแล้ว มีการขายและเร่ขายเป็นการทั่วไป เป็นช่วงเวลา “เสรีกระท่อม” ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาที่ต้องได้รับการบำบัดจากการใช้กระท่อมน้อยลงอย่างต่อเนื่องตลอดเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา สะท้อนผ่านราคาใบกระท่อมก็มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ยิ่งเป็นการยืนยันว่าการเสพติดกัญชาและกระท่อมนั้นอยู่ในระดับต่ำมาก
.
ประการที่สี่ จากโครงการศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยคณะวิจัยจากหลายสถาบันวิชาการ เผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี 2564 โดยเว็บไซต์คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งจากการเก็บข้อมูลช่วงเวลาเดือนกันยายน 2562- กุมภาพันธ์ 2563 พบข้อมูลสำคัญดังนี้
.
ผลการศึกษายืนยันว่ามีการใช้กัญชาทางการแพทย์จากผู้ค้าตลาดมืดร้อยละ 54.5 โดยเฉพาะที่ภาคกลางมีการใช้กัญชาจากตลาดมืดมากถึงร้อยละ 77.8 และการใช้กัญชาในภาคใต้จากพ่อค้าตลาดมืดมากถึงร้อยละ 80.4 โดยผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้รับยากัญชาจากคลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน และ คลินิกแพทย์แผนไทยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าประชากรส่วนใหญ่ที่ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์คือ “กัญชาใต้ดิน”
.
สอดรับกับผลการสำรวจของนิด้าโพลระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2565 ที่ยืนยันว่ามีประชาชนเคยใช้กัญชาทางการแพทย์แล้วมาถึงร้อยละ 21.06 ของกลุ่มประชากรร้อยละ 32.98 ที่เคยมีประสบการณ์ในการใช้กัญชาทางการแพทย์แล้ว ดังนั้นหากพิจารณาจากกลุ่มสำรวจของประชากรประมาณ 50 ล้านคน หมายความว่าในกลุ่มประชากรที่เคยมีประสบการณ์ในการใช้กัญชาทางการแพทย์มีมากประมาณ 3.5 ล้านคน ย่อมยืนยันได้ว่ามีผู้ที่ใช้กัญชาใต้ดินเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์จำนวนมาก และมีอาการค้างเคียงที่ต้องถึงขั้นได้รับการบำบัดคิดเป็นสัดส่วนที่น้อย และจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองดูแลในระหว่างการรอพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง มิให้ต้องเดือดร้อนลงทะเบียนหรือถูกจับรีดไถในระหว่างนี้
.
อย่างไรก็ตาม ความจริงก็ได้ปรากฏต่อมาว่าการใช้ช่อดอกเพื่อนันทนาการนั้นล้วนแล้วแต่เป็น “กัญชาใต้ดินซึ่งมีอยู่แล้ว” ปรากฏตามสื่อต่างๆจำนวนมาก เพราะกัญชาไม่สามารถผลิตช่อดอกได้ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังวันที่ 9 มิถุนายน 2565 จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดการรักษาบำบัดไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ประการใดหลังวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา
.
แต่การที่นำกัญชาใต้ดินซึ่งมีอยู่แล้วมาปรากฏอยู่บนดินให้เห็นนั้น ได้ทำให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอื่นๆ ได้ระดมออกมาตรการในการคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และการสูบกัญชาในที่สาธารณะ ฯลฯ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งสื่อมวลชน นักวิชาการ ที่ได้ส่งสัญญาณและเร่งให้ความรู้กับประชาชนมีความระมัดระวังในการใช้กัญชาให้ดีกว่าช่วง “ก่อน” การปลดล็อกกัญชาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ด้วย
.
ประการที่ห้า สำหรับความน่าเป็นห่วงสำหรับการห้ามบริโภคกัญชาในขณะนี้ ได้ลุกลามกระทบ “เกินสมควร” ไปถึงผลิตภัณฑ์จากกัญชงที่มีความปลอดภัยสูง หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนอาหาร อาหารเสริมจากองค์การอาหารและยาที่มีความปลอดภัยสูง หรือสารสกัดซีบีดีจากกัญชงที่มีความปลอดภัยสูงและมีประโยชน์มากนั้นกลับขายได้ลดลง
.
เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้นจะเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวเพื่อแลกกับการรณรงค์เพื่อป้องกันกลุ่มเปราะบางในสังคมให้มีความตระหนักต่อการใช้กัญชาเกินขนาดในช่วงการรอพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง โดยหวังว่าหลังจากได้มีการตราพระราชบัญญัติกัญชา กัญชงแล้วสถานการณ์น่าจะดีขึ้นกว่านี้เป็นลำดับ
.
จึงขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ช่วยทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างไม่ต้องมีความกังวลใจใดๆในระหว่างนี้ และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้การบำบัดรักษาจากการใช้กัญชาลดลงอย่างมากเช่นกัน
***************
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0PqV777uw1QeKK71xw1DUEtPUxSoncHkzmb5NwjVEnF9AuWSxHkeAiwSxBA1axhwyl&id=100044511276276
อ้างอิง
[1] จากฐานข้อมูล การบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศ ของกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลถึงปี 2565 (10 กรกฎาคม 2565)
[2] เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานผลการสํารวจครัวเรือนเพื่อ คาดประมาณจํานวนประชากรผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการ สารเสพติด สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม; 2562, หน้า 136
https://nctc.oncb.go.th/ebook_print.php?ebook_id=B0720
[3] สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, กนิษฐา ไทยกล้า, มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ, สุชาดา ภัยหลีกลี้, ศยามล เจริญรัตน์, ดาริกา ใสงาม, โครงการศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย, คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 2564
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5346?locale-attribute=th
[4] นิด้าโพล,การปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2565, วันที่อัพเดทล่าสุด : 19 มิถุนายน 2565
https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=579
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0PqV777uw1QeKK71xw1DUEtPUxSoncHkzmb5NwjVEnF9AuWSxHkeAiwSxBA1axhwyl&id=100044511276276
************************
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' แจงไปตีกอล์ฟ ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ 'อนุทิน' เป็นเรื่องธรรมดาลิ้นกับฟัน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปรากฎภาพตีกอล์ฟร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสารัชถ์ รัตนาวะดี
ไม่ใช่อีแอบแล้ว แนวทางชัดขนาดนี้! 'สุขุม' อ่านเกม 'ภูมิใจไทย' ปมโหวตประชามติแก้ รธน.
ต่อประเด็นเรื่องการโหวตประชามติแก้ไข รธน. ที่พรรคภูมิใจไทย โหวตต่างจากพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่พรรคร่วมบางพรรค ไม่ร่วมโหวต ซึ่งทาง สส.เพื่อไทย มองเป็นอีแอบ
'ทักษิณ' ขออย่าสนใจ 'อีแอบ' ยันคุยกับ 'ภูมิใจไทย' อยู่ตลอด
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยตบไหล่ผู้สื่อข่าว พร้อมกล่าวว่า “เดี๋ยวไว้เราเจอกันที่เชียงใหม่”
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
นายกฯอิ๊งค์ บอกไม่เป็นไร พรรคร่วมฯเห็นต่างกฎหมายประชามติ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมสส. -สว. ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงไม่เป็นเอกฉันท์