“ดร.นฤมล”หนุนป้องกันความเสี่ยงรับดอกเบี้ยขยับ แนะรัฐดูแลหนี้นอกระบบหวั่นเจ้าหนี้ฉวยเอาเปรียบ

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์  เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)  ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัวแสดงความเห็นถึงกรณีที่ธนาคารกลางยุโรป(ECB) เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.5% สูงกว่าที่คาดว่าจะขึ้น 0.25%  ซึ่งเป็นการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากจาก -0.5% มาหลายปี มาอยู่ที่ 0% เพื่อรองรับอัตราเงินเฟ้อของ 19 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรที่ปรับสูงขึ้นเท่ากับ 8.6% ซึ่งบางประเทศในกลุ่มนี้มีอัตราเงินเฟ้อเกิน 10% ไปแล้ว

การดำนเนินโยบายดังกล่าวชัดเจนว่าธนาคารกลางยุโรป ปรับดอกเบี้ยไปในทิศทางเดียวกันกับธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางสหรัฐ( เฟด) ที่ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อมาหลายรอบตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

โดยสองวันก่อน ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของอังกฤษออกมาที่ 9.4% สูงสุดในรอบ 40 ปีคาดว่า ถึงปลายปีนี้ จะสูงขึ้นอีก ไปแตะ 11% และจะค่อยๆลดลงในปีหน้า  และตั้งแต่ ธันวาคม ปีที่แล้ว ธนาคารกลางอังกฤษได้ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 5 รอบ จนปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% และคาดว่าในการประชุมเดือนสิงหาคม น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% 

ขณะที่ฟากสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน ออกมาสูงถึง 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี เช่นกัน เฟด จะประชุมวันที่ 27 กรกฎาคม คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75%

จะเห็นว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาเงินเฟ้อพุ่งทะยานในเศรษฐกิจโลก ไม่ได้มาจากแค่ราคาน้ำมัน แต่ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณเงินที่เพิ่มเข้าไปในระบบจำนวนมาก ด้วยการพิมพ์เงินของธนาคารกลาง ผนวกกับการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำอย่างผิดปกติมายาวนาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียว โดยไม่ได้มีมาตรการดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ จึงทำให้ระยะเวลาในการแก้ปัญหานานกว่าที่คาด แต่หากดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เมื่อมองอัตราเงินเฟ้อของไทย เดือนมิถุนายน เท่ากับ 7.66% พุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี วันที่ 10 สิงหาคมนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงขึ้นดอกเบี้ยแน่ ไทยเราไม่เคยมีการพิมพ์เงินเข้าระบบ จึงไม่ได้น่ากังวลเท่ายุโรปและอเมริกา แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับที่ต่ำมากผิดปกติ เพราะดอกเบี้ยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจมานานเช่นกัน

ดังนั้นหาก กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยเดือนหน้า จึงไม่ใช่เรื่องที่มีเหตุผลรองรับ เพราะเป็นไปโดยกลไก เพื่อสกัดเงินเฟ้อและดูและเสถียรภาพค่าเงินบาท และจะได้ออกจากภาวะดอกเบี้ยต่ำผิดปกติ เพียงแต่ขอให้เป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ทุกคนมีเวลาปรับตัว ให้เศรษฐกิจยังโตได้

เมื่อรู้ว่าดอกเบี้ยจะขึ้น ประเมินต้นทุนของทางการเงินที่จะเพิ่มขึ้น  แล้ววางแผนป้องกันความเสี่ยง ถ้ามีหนี้ดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ ลองหาช่องทางรีไฟแนนซ์ แต่ที่เป็นห่วงมาก คือ ลูกหนี้นอกระบบ ที่เจ้าหนี้อาจฉวยโอกาสเพิ่มดอกเบี้ยมากเกิน มีหลายหน่วยงานช่วยให้คำปรึกษาได้ มีเบอร์โทร ปรึกษา หาทางออก ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ

* สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด สายด่วน 1157

* ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทร. 1359

* ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567

* ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม โทร. 0 2575 3344

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นฤมล' มอบ 4 นโยบายขับเคลื่อนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

'นฤมล' มอบนโยบายกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มุ่งสร้างความเข้มแข็งภาคสหกรณ์ ย้ำประสิทธิภาพต้องได้ มาตรฐานสากล ครอบคลุมความเสี่ยงทุกมิติของภาคการเกษตร

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่

'ก๊วนธรรมนัส' เปิดตัวเข้าคอก 'กล้าธรรม' ลั่นทำการเมืองสร้างสรรค์ ไล่พรรคร่วมฯค้านบ่อยๆก็ออกไป

พรรคกล้าธรรม นำโดยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และสส.จำนวน 20 คนที่ถูกพรรคพลังประชารัฐขับออก