ไทยขับเคลื่อนแก้วิกฤตโลกร้อน ฟื้นฟูสภาพอากาศ..เพื่อลูกหลาน

ปัญหา Climate Change เป็นเรื่องใกล้ตัวคนทั่วโลก ขณะนี้มหาสมุทรทั่วโลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตจากมลพิษที่ทำลายคุณภาพของน้ำทะเล ส่งผลคุกคามต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในชุมชน มีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในระดับโลกและในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุม COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ด้วยการให้คำมั่นว่าจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) และตั้งเป้าหมาย Net Zero Emission ภายในปี พ.ศ.2608 ซึ่งต้องอาศัยเงินลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการเปลี่ยนผ่านเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา Climate Change

ด้วยเล็งเห็นถึงสารสำคัญของการแก้ปัญหา Climate Change เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่าย Thai Climate Justice for All (TCJA) และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ยุทธศาสตร์ของไทยและบทบาทของรัฐสภา” ที่รัฐสภา มีผู้เข้าร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม กว่า 130 คน

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานเปิดการสัมมนา กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของไทย ปัญหาที่มีความสำคัญต่อประชาคมโลก การลดปริมาณในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งนับวันจะวิกฤตมากขึ้น ประชาคมโลกต้องมีความตื่นตัว ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์สู่ระบบเศรษฐกิจที่มีคาร์บอนต่ำ ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาเฉพาะหน้าเหมือนกับหลายประเทศ ฝุ่นเม็ดจิ๋ว PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมหาศาล เผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง

ประเทศไทยเข้าร่วมภาคีสนธิสัญญาปารีส วางยุทธศาสตร์ชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่พัฒนาการด้านเศรษฐกิจอีกหลายมิติ การค้าการลงทุนอุตสาหกรรม นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางพลังงาน เป็นความท้าทายขององค์การสหประชาชาติ การกำหนดยุทธศาสตร์สร้างกลไกร่วมมือการถ่ายโอนเครดิตระหว่างประเทศ สนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนา ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ก้าวหน้า ดำเนินงานทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ เศรษฐกิจสีเขียว BCG การป้องกันความขัดแย้งจากการสร้างความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่อรองรับปัญหา

“รัฐสภาจะจัดประชุมรัฐสภาเอเชียแปซิฟิกวันที่ 26-29 ต.ค.นี้ หัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะนำข้อสรุปจากที่ประชุมสัมมนาเพื่อนำไปพัฒนา กม. ผลักดันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนคาร์บอนต่ำเพื่อรักษาขีดความสามารถสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐสภาไม่นิ่งดูดายต่อปัญหาส่วนรวม ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่องานสัมมนาประสบความสำเร็จ” นายชวนกล่าว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีแนวโน้มนำไปสู่ปัญหาระดับวิกฤต ไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2608 จึงได้เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส โดยกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เป็นประเด็นเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศ ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน การผลิตอุตสาหกรรม นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กติการะหว่างประเทศ ความมั่นคงทางอาหาร น้ำ พลังงาน รัฐสภาจึงเร่งสร้างความร่วมมือกับ สสส. ทส. และทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนามาตรการและกลไกสนับสนุน ทั้งด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สังคม รวมทั้งการป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องสร้างภาคีเครือข่ายเกี่ยวข้องกับส่วนราชการในการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวในเรื่องสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีก ทุกวันนี้พิษภัยเพิ่มปริมาณความถี่มากขึ้น ด้วยอิทธิพลธรรมชาติเกิดความเปลี่ยนแปลง โรคอุบัติใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยรู้จักมาก่อนเกิดขึ้นในช่วงปี 2516-2536 ในทศวรรษถัดไปจะมีผู้เสียชีวิตในโลกจากผลกระทบภูมิอากาศ 2.5 แสนราย สุขภาวะด้านโภชนาการ ท้องร่วง โรคที่เกิดจากความร้อน Heat Stroke  โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ สุขภาพจิต การเปลี่ยนแปลงเพิ่มทวีขึ้นกลายเป็นภาระทางสุขภาพ การสร้างพลเมืองตื่นรู้กอบกู้วิกฤตจากโลกร้อน การจัดกิจกรรมเสวนาในรัฐสภาจึงเป็นนิมิตหมายที่ดีในการแก้ไขปัญหา กติกาโลกออกแบบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อวิกฤต World Economic Forum

องค์การอนามัยโลกระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การจัดหาน้ำสะอาด การสุขาภิบาล ความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ การย้ายถิ่นของชุมชน สสส.เห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงยกระดับการดำเนินงานปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ด้าน “การลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม” เป็น 1 ใน 7 ทิศทาง และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 10 ปี พ.ศ.2565-2574

การประชุม COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ เรื่องสภาพภูมิอากาศ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 รับสั่งว่าพระองค์ทรงครองราชย์มาแล้ว 70 ปี พบผู้นำของโลกมาแล้วมากมาย ผู้นำที่เป็นรัฐบุรุษมีวิสัยทัศน์เกินกว่านักการเมือง มองไกลถึงประชาชนในอนาคต การสร้างผู้นำ COP 26 ทุกคนไม่มีใครอยู่นิรันดร์กาล เราทำสิ่งนี้ไม่ใช่เป็นการทำเพื่อตัวเราเอง แต่เราทำเพื่อลูกหลาน ขอให้พวกเราหันมาร่วมมือกันทุกภาคส่วนทำสิ่งดีๆ ให้ลูกหลานได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต เป็นการเดินทางในระยะไกล เมื่อเราเริ่มเดินก้าวแรกก็เท่ากับฝากความหวังให้กับการเสวนาในครั้งนี้ด้วย

“สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศผ่านโครงการ “พลเมืองตื่นรู้กอบกู้วิกฤตโลกร้อน” ส่งต่อข้อมูลสำคัญ บทเรียนความสำเร็จทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะแนวทางกู้วิกฤตโลกร้อน การสร้างความตื่นตัวของประชาชน/คนรุ่นใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบแผนชีวิต ร่วมขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมจัดอบรมออนไลน์แก่ประชาชนทั่วไปให้มีความเข้าใจสภาวะโลกร้อน การสร้างการมีส่วนร่วมที่จะป้องกันและเร่งแก้ไขปัญหาและการลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงพัฒนาทักษะการสื่อสาร การทำความเข้าใจปัญหาผลกระทบและทางออกของสภาวะโลกร้อน นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยในระยะยาว ทั้งในประเด็นอากาศสะอาด การลดการใช้พลังงานต่างๆ  การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การผลิตและบริโภคที่พอเพียง ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน” ดร.สุปรีดากล่าว

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า การประชุม COP 26 โลกร้อนที่กลาสโกว์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุม World Leader Summit ว่าประเทศไทยจะทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยของโลกกำหนดไว้ 1.8 องศาเซลเซียส หลังจากการประชุม COP 26 แล้ว มีการประชุมยุทธศาสตร์ระยะยาว เมืองไทยจะลดก๊าซเรือนกระจกเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการให้สิทธิเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ ทส.กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการฟื้นฟูมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของประชาชนในทุกมิติ จึงต้องอาศัยการดำเนินงานในการสร้างความเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศ ขณะนี้ ทส.เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ร.บ.โลกร้อน) พ.ศ.....ขึ้น โดยรวบรวมข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากองค์กรต่างๆ แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ.

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความท้าทายด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา

นายเกียรติ สิทธีอมร รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย กล่าวนำเสวนาตอนหนึ่งว่า การทำงานเรื่อง Climate Change ต้องไม่หลงทิศทาง แผนสภาพัฒนาเศรษฐกิจฯ เขียนไว้อย่างชัดเจน แต่ยังดีไม่พอ เพราะไม่ได้แก้ไขปัญหางบประมาณไม่ตรงกับแผนงาน แผนงานไม่ตรงกับงบประมาณ

เรื่องนี้เป็นภาระสำคัญ เพราะมีผลถึงอนาคตของลูกหลาน ถ้าตราบใดประเทศไม่มีเงิน ต้องรอออก กม. งบประมาณทุกปีขาดดุล กู้เงินมาลงทุน 6 แสนล้านบาท ปัญหา Climate Change กว่าจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลา 150 ปี การลงทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมคือภาระ แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน