ชูเรือธง แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ช่วยเยียวยาแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ประสบภัยจากรถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบดิจิทัล
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนปฏิบัติการดิจิทัลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ฝ่ายสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ณ ห้องประชุม Shanghai ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากสายงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สายกลยุทธ์องค์กร สายกฎหมายและคดี สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สายบริหาร ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฝ่ายสำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และสำนักงาน คปภ. ภาคทั้ง 9 ภาค ได้มีการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการดิจิทัล แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 4 แผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี และสภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินงานและขับเคลื่อนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยสู่การเป็น SMART FUND ต่อไป
เลขาธิการ คปภ. กล่าวโดยมีใจความที่สำคัญตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจประกันภัยต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่และพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลกไปสู่วิถีชีวิตวิถีใหม่อย่างที่ไม่อาจคาดคิดมาก่อน สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่กำกับและส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัย รวมถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย จึงมีภารกิจสำคัญที่จะต้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยในประเทศ สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์หรือบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกำกับให้ธุรกิจประกันภัยไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและได้รับความไว้วางใจจากประชาชน โดยมีกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ทำหน้าที่เป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยหรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ โดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีภารกิจหลัก ๆ คือ 1. การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือในเบื้องต้นอย่างสะดวก รวดเร็วและทันท่วงที 2. การบริหารจัดการกองทุนตาม พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และ 3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยและประกันภัย พ.ร.บ.
ทั้งนี้จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา พบว่า กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มีการบริหารจัดการและมีผลการดำเนินงานที่ดีเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน โดยได้ผลคะแนนตามตัวชี้วัดของกรมบัญชีกลางถึง 4.3414 คะแนน ซึ่งมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ โดยมีจำนวนผู้ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 9,151 ราย คิดเป็นเงินกว่า 179 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ภารกิจของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องดำเนินการในเชิงรุก เนื่องจากจำนวนอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้นในทุกปี
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ บรรลุผลสัมฤทธิ์สูงสุด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จึงต้องมีการปรับปรุงงานจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและการไล่เบี้ยเรียกคืน ซึ่งเป็นภารกิจหลักให้มีประสิทธิภาพ โดยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้วางรากฐานการดำเนินงาน การจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการให้บริการประชาชน โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เป็นเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ในส่วนของบุคลากรกองทุนซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ต้องมีการกำหนดโครงสร้างและภารกิจของบุคลากรกองทุนให้ชัดเจน รวมทั้งควรพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ให้มีทักษะความชำนาญในงานอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถในการวิเคราะห์งาน และมี Digital Skill เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานพันธมิตรหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการข้อมูลและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งในส่วนของการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งยังเป็น Pain Point ที่สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลสถิติของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 มีจำนวนรถทุกประเภทที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศกว่า 42.79 ล้านคัน โดยเป็นรถที่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. เพียง 33.21 ล้านคัน หรือประมาณร้อยละ 77.61 ของรถที่จดทะเบียนทั้งหมด และโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียนสะสม จำนวน 22.02 ล้านคัน แต่มีรถที่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. จำนวน 14.21 ล้านคัน หรือประมาณร้อยละ 64.53 และจากสถิติการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 พบว่า มีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวนสูงถึง 105 ล้านบาท จากตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ายังมีรถที่อยู่นอกระบบการประกันภัย พ.ร.บ. อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเจ้าของรถจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนน ทั้งนี้ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากเป็นผู้ที่ใช้รถที่ไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้น หากเป็นทั้งเจ้าของรถที่ไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นออกไปใช้เองจะมีความผิดทั้ง 2 ข้อหา โดยมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ดังนั้น กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จึงต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมให้ประชาชนทำประกันภัย พ.ร.บ. เพิ่มขึ้นให้มากที่สุด ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนปฏิบัติการดิจิทัลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด มาเป็นที่ปรึกษาในการศึกษาวิเคราะห์ ทบทวน ให้คำแนะนำในการกำหนดทิศทางและจัดทำแผนฯ ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการของกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับขั้นตอนหลังจากประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในครั้งนี้แล้วจะมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนปฏิบัติการดิจิทัลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (Board Retreat) และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ในเดือนสิงหาคม 2565 ก่อนนำเสนอร่างแผนฯ ดังกล่าว ต่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการบริหารกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งจะได้ทราบถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การดำเนินงานกองทุนฯ ที่ชัดเจน และจะมีการประชุมเพื่อสื่อสารแผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนปฏิบัติการดิจิทัลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ฉบับสมบูรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ต่อไป
“การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนปฏิบัติการดิจิทัลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2566 ในครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งเวทีที่มีความสำคัญในการพลิกโฉมบทบาทของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อก้าวสู่การเป็น Smart Fund มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น และช่วยเยียวยาแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ประสบภัยจากรถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง ยั่งยืน ด้วยระบบดิจิทัล” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คปภ. ประกาศผลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย “OIC InsurTech Award 2024”
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย
คปภ. เดินหน้าเคียงข้างเพื่อประชาชนเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ.
นางสาววิไลพร เจียรกิตติวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สำนักงาน คปภ. เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ. โดยมี นายประสงค์ หล้าอ่อน นายดำรงศักดิ์ ยอดทองดี
THE MISSION FOR INSURANCE SUSTAINABILITY คปภ. เดินหน้ารุกเคียงข้างประชาชน
นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ)
คปภ. เห็นชอบสั่ง ‘บมจ. สินมั่นคงประกันภัย’ หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว
คณะกรรมการ คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “บมจ. สินมั่นคงประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวคุมเข้มให้บริษัทหยุดรับประกันภัย ภายหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เดือดร้อน
'ชูฉัตร' นั่งเลขาฯคปภ. คนใหม่
คลังแต่งตั้ง นายชูฉัตร ประมูลผล เป็นเลขาธิการ คปภ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรม "GLO GIVE ร่วมให้ด้วยใจ สร้างโอกาสแห่งความสุขอย่างยั่งยืน"
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม "GLO GIVE ร่วมให้ด้วยใจ สร้างโอกาสแห่งความสุขอย่างยั่งยืน" ส่งต่อการให้ด้วยหัวใจเพื่อสังคม #DIY เพ้นท์เสื้อด้วยสีชอล์ค