สส.ร่วมกับ อย. จัดเสวนา “อาหารและขนมผสมกัญชา ใกล้มือเด็ก ห้าม หรือ ให้” เร่งสื่อสารประโยชน์-โทษ ที่ถูกต้อง แพทย์เด็ก ชี้ กัญชากระทบสมอง ส่งผลพัฒนาการระยะสั้น-ระยะยาว โรงเรียนสังกัด กทม. หนุนป้องกัน สอนแบบบูรณาการ เสริมพลังให้เด็กรู้เท่าทันภัย ห่างไกลกัญชา
เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2565 ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข จัดเวทีเสวนาเรื่อง“อาหารและขนมผสมกัญชา ใกล้มือเด็ก ห้าม หรือ ให้” โดยดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีผลให้กัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณของสารTHC ต้องไม่เกิน 0.2%แม้กัญชาจะมีคุณประโยชน์ในทางแพทย์ แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็มีโทษและผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ที่อาจยังรับรู้โทษของกัญชาไม่ถูกต้อง ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งรณรงค์สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกัญชาที่ถูกต้อง
“สสส. เป็น 1 หนึ่งใน 8 หน่วยงาน ที่ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมใช้กัญชา กัญชง เพื่อดูแลสุขภาพ สร้างเศรษฐกิจและไม่ใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เพื่อร่วมกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชน เด็ก เยาวชน บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบธุรกิจ ได้ตระหนักถึงประโยชน์และโทษจากการใช้กัญชา กัญชง และให้เกิดการรับรู้ของสังคมในการร่วมมือ ป้องกันและต่อต้านการใช้ที่ไม่เหมาะสม” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก หรือ หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ กล่าวว่า กัญชาในทางการแพทย์ มีข้อบ่งชี้บ่งใช้ในเด็กน้อยมาก ปัจจุบันจะใช้ในโรคลมชักชนิดรักษายาก และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางโรคระบบประสาทและลมชัก ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแผนปัจจุบันแล้วไม่ตอบสนองการรักษา ส่วนการรักษาโรคมะเร็งยังไม่มีข้อบ่งใช้ในเด็ก ดังนั้นการใช้กัญชาในเด็กยังถือว่ามีการใช้ในวงที่แคบมาก หรืออาจบอกได้ว่าแทบจะไม่มีในแพทย์แผนปัจจุบันเลย ในฐานะกุมารแพทย์ อยากให้คุณพ่อคุณแม่ ครอบครัว และสังคมไทย ช่วยปกป้องสมองเด็กจากกัญชาให้ได้ กัญชาไม่ควรเป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ทั้งในรูปแบบของอาหาร และรูปแบบของยาเสพติดต่าง ๆเพราะทำให้เกิดผลเสียต่อเด็กอย่างมาก
“เมื่อเด็กโตขึ้นเขาย่อมรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่พ่อแม่ต้องย้ำเตือนคือทุกบ้านที่มีเด็กควรจะปลอดสารเสพติด รวมทั้งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น เพื่อให้เขามีเกราะป้องกันก่อนที่จะออกไปสู่สังคมภายนอก ไปโรงเรียน หรือไปพบเจอสิ่งที่ไม่ดีนอกบ้าน ดังนั้นบ้านควรต้องปลอดกัญชา รวมทั้งการสั่งสอนเด็กในเชิงบวก ให้รู้ข้อดีข้อเสียของกัญชาคืออะไร ด้วยข้อเท็จจริง หรือถ้าลูกมาขออนุญาต ก็ควรปฏิเสธชัดเจนว่าไม่อนุญาต เชื่อว่าการเลี้ยงและดูแลใส่ใจอย่างดีจากครอบครัว จะทำให้เขาเติบโตมาแล้วสามารถคิดแยกแยะว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีได้เอง” รศ.นพ.วรวุฒิ กล่าว
ดร.พรณิชา ชาตะพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ประถม) กล่าวว่า โรงเรียนมีนักเรียนมากกว่า 4,000 คน มีชั้นเรียนละ 20 ห้อง เน้นการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกช่วงชั้นเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณ-โทษของกัญชาในทุกวิชาเรียนแบบบูรณาการเน้นกิจกรรมสร้างเสริมความรู้สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียน เช่น วิชาศิลปะของนักเรียนชั้น ป.1 จะสอนเรื่องลักษณะของกัญชาเป็นอย่างไร ให้เด็กได้วาดรูป ระบายสี รวมไปถึงการจัดบอร์ดความรู้ตามจุดต่าง ๆ ในโรงเรียน ให้เห็นลักษณะของกัญชา กัญชง พืชกระท่อม และได้เรียนรู้ว่ามีคุณมีโทษต่อร่างกายอย่างไร การใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
“เมื่อเด็กไปเห็นอาหารที่ผสมกัญชามีภาพใบกัญชาแบบที่เขาเคยได้เรียน ได้เห็นมาก่อน เขาสามารถปฏิเสธไม่รับประทานได้ ส่วนการควบคุมเมื่อเด็กอยู่นอกรั้วโรงเรียน ใช้วิธีแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และขอให้ช่วยสอดส่องดูแล รวมถึงเป็นตัวอย่างให้เห็น เช่น ไม่สั่งอาหาร เครื่องดื่มที่ผสมกัญชาให้เด็กเห็น พร้อมขอความร่วมมือร้านอาหารรอบรั้วโรงเรียน ไม่ให้นำอาหาร ขนมที่ผสมกัญชามาจำหน่ายให้เด็กกิน”ดร.พรณิชา กล่าว
นายนที เอกวิจิตร หรือ อุ๋ย วง Buddha Bless ศิลปินนักร้อง กล่าวว่า ตนเคยเสพกัญชาสมัยวัยรุ่น เป็นการใช้เพื่อสันทนาการ และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ใช้กัญชาเพื่อช่วยในการนอน พบว่ามีผลกระทบเรื่องอารมณ์ฉุนเฉียว จึงได้เลิกใช้ เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี สำหรับการเปิดเสรีกัญชา ตนเป็นห่วงผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน เป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากลอง ยังขาดความรู้ความเข้าใจการใช้กัญชาที่ถูกต้อง อาจใช้กัญชาผิดวิธี จึงขอฝากให้พ่อแม่ผู้ปกครอง เฝ้าระวังบุตรหลาน สร้างความตระหนัก ให้คำแนะ ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งด้านประโยชน์ โทษ สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ
รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี
“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
'หมอเดชา ศิริภัทร' ทวงสัญญา 'แอ๊ด คาราบาว' อย่าทำแบบไม่แยแสเรื่องงานที่คุยกันไว้
นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า ช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ มีข่าว(ฉาว)เกี่ยวกับ คุณแอ๊ด คาราบาว (ภาพบน) ซึ่งยังไม่ตัดสินว่าร้านถูกดีฯ (