รู้จักนวัตกรรมแอปฯ DMIND ตัวช่วยสังเคราะห์ภาวะซึมเศร้า

เชื่อหรือไม่! ขณะนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในเมืองไทยมีจำนวน 1.5 ล้านคน ทั้งยังเป็นเพชฌฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยถึงปีละ 4,000 ราย อีกทั้งเป็นสาเหตุของการพยายามฆ่าตัวตายถึงปีละ 53,000 คน หากไม่ได้รับการคัดกรองอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว มีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเอง หรือการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งทางจิตเวชที่เกิดจากความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจ ด้วยระบบการแข่งขันในสังคม โรคระบาด ปัจจัยทางชีวภาพและกรรมพันธุ์ การเข้าถึงบริการทางจิตเวชในเมืองไทยมีข้อจำกัด เพราะทัศนคติด้านลบต่อโรคทางจิตเวชสร้างความรู้สึกว่าเป็นตราบาป ขณะเดียวกันบุคลากรทางสุขภาพจิตก็ไม่เพียงพอต่อผู้เข้ารับการบริการ

เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้..เมื่อเร็วๆ นี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดตัวนวัตกรรม DMIND Application แอปฯ สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. ในปีที่ 21 ด้วยทิศทางล้ำหน้าและทันสมัย เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการเข้าถึงไลน์หมอพร้อม ดำเนินการเรื่องสุขภาพจิตอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ในปี 2565 ได้ยกระดับเป็นประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญของ สสส. ที่มุ่งเน้นการทำงานสร้างเสริมและป้องกัน ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคล และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและสังคม

สสส.ได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นเวลา 10 ปี “hear to heal” และขยายภาคีเครือข่ายใหม่ๆ ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการประเมินภาวะซึมเศร้า DMind และโครงการสร้างเสริมสุขภาพจิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าด้วยการพัฒนาระบบ Service dashboard โดยเชื่อมต่อกับระบบหมอพร้อม เกิดเป็นนวัตกรรมแอปฯ  DMIND สอดรับกับการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการประเมินสุขภาพจิตได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และสร้างเสริมสุขภาพจิตในระยะยาว รวมถึงการได้รับบริการอย่างเหมาะสมตามระดับปัญหา ที่สำคัญคือ ประชาชนสามารถนำองค์ความรู้หรือแนวทางที่ได้รับจากการให้บริการไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเอง และสื่อสารช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

“โควิดส่งผลกระทบต่อเยาวชนในช่วง 2 ปีที่ต้องเรียนทางออนไลน์ที่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวปลอดภัย สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้บริการปฐมภูมินวัตกรรมแอปฯ DMIND ในช่วงทดลองมีผู้ใช้บริการ 400 คน คาดว่าหลังเผยแพร่ข่าวแล้วจะมีผู้เข้ามาใช้บริการหมื่นคน/วัน เพราะทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือมีไลน์หมอพร้อม ผู้ใช้รู้สึกว่ามี Value Added ใช้ฉีดวัคซีน และสั่งยาทางไลน์ ต่อไปให้บริการทางสุขภาพใจ มีผู้ดูแลพร้อมส่งต่อที่ปรึกษา AI มีความฉลาดมากขึ้น เมื่อเปิดกล้องเพื่อใช้ในการสื่อสาร สังเกตสีหน้าท่าทาง ความวิตกกังวล เป็นการประเมินความเครียดในเบื้องต้น”

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “ระบบการเข้าถึงบริการทางจิตเวชในประเทศไทยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากความสะดวกในการเข้าถึงบริการ และจำนวนบุคลากรทางสุขภาพจิตที่ยังไม่เพียงพอ หนึ่งในแนวทางการป้องกันความรุนแรงของโรค คือการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ขั้นต้น (screening and early detection) จุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับ สธ. และ สสส. พัฒนานวัตกรรม DMIND Application สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า แอปฯ ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงจากลักษณะการแสดงออกทางหน้าตา น้ำเสียง และข้อความ เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นอย่างง่าย มีความถูกต้อง แม่นยำ ช่วยลดขั้นตอนในการวินิจฉัยของแพทย์” รศ.นพ.ฉันชายกล่าว

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า สายด่วน1323 เทคโนโลยีแบบโบราณรับสายตอบแก้ไขปัญหา จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับสายเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น การเข้าสู่ Digital-Metaverse เพื่อให้สุขภาพจิต จิตเวชไม่ตกรุ่นด้วยการพัฒนาเครื่องมือแอปฯ DMIND สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางการสื่อสารของหมอพร้อม ทั้ง LINE Official https://bit.ly/2Pl42qo เฟซบุ๊กหมอพร้อม เลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ” และเว็บไซต์ https://bit.ly/DMIND_3

การประเมินผลแสดงอาการ 3 ระดับ 1.ปกติ (สีเขียว) พร้อมแนะนำข้อมูลการดูแลสุขภาพจิตทั่วไป 2.กลาง (สีเหลือง) ศูนย์สุขภาพจิตเขต 1-13 ภายใต้กรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ จะติดตามในพื้นที่ 3.รุนแรง (สีแดง) สายด่วนสุขภาพจิต 1323 จะติดตามอาการ เพื่อประเมินสุขภาพจิต และร่วมหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสามารถเข้าถึงบริการและการประเมินด้านสุขภาพจิตได้ ถือเป็นระบบบริการรูปแบบใหม่ในการส่งต่อผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าให้ได้รับการรักษาแบบ Fast Track กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยสามารถเข้าใช้แอปพลิเคชัน DMIND ได้ตั้งแต่วันนี้ หากมีปัญหาสุขภาพจิตใจติดต่อได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323

"คนในวัยทำงานทุกอาชีพสามารถเกิดโรคซึมเศร้าได้ ยิ่งครอบครัวที่มีแรงกดดันทางเศรษฐกิจ มีความยากไร้ จะได้รับผลกระทบมากกว่าคนที่มีฐานะความพร้อมทางเศรษฐกิจที่ดี คน 7,000 คนเข้ามาตอบคำถาม เมื่อมีผู้รับฟังปัญหาเกิดกำลังใจอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป".

 

เปิด DMIND มีจิตแพทย์อยู่ข้างตัว

รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เล่าความเป็นมาของแอปฯ ว่า

DMIND เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า คณะวิศวกรรมฯ คณะแพทย์ จุฬาฯ เริ่มมีการพัฒนา app ปี 2020 ร่วมมือสายด่วนกรมสุขภาพจิตขยายวง app หมอพร้อม QR code พบคุณหมอพอดีตอบคำถามเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยการตอบโจทย์ผ่านทาง app แล้วจากนั้นระบบ AI จะดูหน้า เสียง เนื้อหา เพื่อรายงานต่อไปถึงจิตแพทย์ เมื่อคนไข้เปิดกล้องระบายความในใจ จิตแพทย์ประเมินจากสีหน้า น้ำเสียง วิเคราะห์เนื้อหา ความวิตกกังวล ระบบ AI ประมวลผลทั้งหมดเสมือนหนึ่งมีจิตแพทย์อยู่เบื้องหน้า มีการประเมินผลเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง (ติดต่อเพื่อนัดพบจิตแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตาย ทีมงานจะติดต่อกลับไปภายใน 5 นาที) ความแม่นยำมีสูงถึง 78.52% จากการตอบแบบทดสอบในการตรวจสุขภาพทางใจในช่วง1สัปดาห์ที่ผ่านมา.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต