ไม่ต้องกังวลใจ นายจ้างสามารถเรียกคืนเงินสมทบส่วนเกินได้ด้วยเริ่มต้นจากการทำ “รายงานค่าจ้าง”

หลังจากมีประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยการผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เป็นการสร้างบรรยากาศ welcome ต่อชาวต่างประเทศ ส่งผลทางอ้อมต่อการเชิญชวนนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การเคลื่อนไหวของตลาดแรงงาน ซึ่งกองทุนเงินทดแทน คือหนึ่งในคำตอบด้านสวัสดิการชั้นดีอย่างหนึ่งที่นายจ้างให้กับลูกจ้างอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมๆกัน 

สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้น หรือกลับมาทำธุรกิจและเริ่มมีการจ้างลูกจ้างแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม โดยนายจ้างจะจ่ายเงินประกันสังคมสมทบร่วม พร้อมกับที่หักออกจากรายได้ของพนักงานในทุกๆ เดือนแล้ว ยังมี “กองทุนเงินทดแทน” อีกกองทุนหนึ่ง ที่เปรียบเสมือนสวัสดิการชั้นดี ทั้งนี้ สิทธิจะเกิดขึ้นกับลูกจ้างทันที นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง   และหากลูกจ้างเกิดเหตุประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จนได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทางโดยพาหนะทางบก อากาศ หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างก็จะได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ตามสิทธิที่กองทุนเงินทดแทนกำหนด

โดยนายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนประจำปีให้ในช่วงทุกต้นปี หรือเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นายจ้างต้องทำการแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปีของปีที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่า “การรายงานค่าจ้าง” ไปยังสำนักงานประกันสังคมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อต้นปี หากจำนวนค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาสูงกว่าค่าจ้างที่ประมาณไว้ เป็นเหตุให้เงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อปีที่ผ่านมาน้อยกว่า ก็จะเรียกเก็บเพิ่มภายใน 31 มีนาคม   แต่หากจำนวนเงินค่าจ้างรวมทั้งปีต่ำกว่าเดิมทำให้เงินสมทบที่เรียกเก็บสูงกว่าความเป็นจริง  และเมื่อตรวจบัญชีของนายจ้างแล้ว หากค่าจ้างต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืน  ทั้งนี้ โดยในปีแรก นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน และสำหรับปีต่อๆ ไป จ่ายภายในเดือนมกราคมของทุกปี 

ดังนั้น ข้อสำคัญคือ นายจ้างต้องไม่ลืม “การรายงานค่าจ้าง” ซึ่งต้องรายงานค่าจ้างภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี การไม่รายงานค่าจ้างภายในกำหนด อาจมีผลทำให้นายจ้างต้องชำระเงินเพิ่ม หากเงินที่เรียกเก็บในปีที่ผ่านมาต่ำไป  นายจ้างรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลา หรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบจำนวน ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 3.0% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว จะพบว่า กองทุนเงินทดแทน มีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อนายจ้าง และลูกจ้าง แต่หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถาม หรือติดตามข่าวสารสำนักงานประกันสังคมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่

Website: www.sso.go.th

Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

Instagram: sso_1506

Twitter: @sso_1506

YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

LINE: @SSOTHAI

TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“มารศรี” เลขาธิการ สปส. ลงพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือกระทรวงแรงงาน จตุจักร กำชับเจ้าหน้าที่ สปส. ชี้แจงสิทธิประโยชน์ พร้อมเยียวยาลูกจ้างเต็มที่

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “ศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว (ศปช.รง.)” จตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่

ประกันสังคมเปิด ‘ค่าชดเชย’ ลูกจ้างเหยื่อตึกสตง.ถล่ม

สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สำนักงานประกันสังคมขอแสดงความห่วงใยลูกจ้าง ผู้ประกันตน ประชาชนทั่วไป

ประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตนว่างงาน เช็กสิทธิรับเงินทดแทนด่วน!

สำนักงานประกันสังคมเตือนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ว่างงาน เช็กสิทธิรับเงินทดแทนสูงสุด 50% ของค่าจ้าง พร้อมเงื่อนไขชัดเจน ย้ำต้องขึ้นทะเบียนว่างงานภายใน 30 วัน และรายงานตัวทุกเดือนผ่านระบบ ห้ามพลาดสิทธิสำคัญ

สปส. รุดช่วยเหลือลูกจ้าง เหตุตอม่อสะพานพระราม 2 ถล่ม

ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและกำชับให้สำนักงานประกันสังคมเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทันที

เปิดคำสั่ง 'อนุทิน' ตั้งคกก.สืบสวนข้อเท็จจริง ปมร้อนงบประกันสังคม

สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีการใช้งบสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นั้น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 86/2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง

'อนุทิน' สั่งปลัด มท.เร่งสอบปม 'สปส.-ปลัดแรงงาน' ไม่ต้องกลัวอิทธิพล!

'อนุทิน' สั่ง 'ปลัด มท.' เร่งประชุม คกก.สอบข้อเท็จจริง 'สำนักงานประกันสังคม-ปลัดแรงงาน' เร็วที่สุด กำชับทำให้เต็มที่ไม่ต้องกลัวธง-อิทธิพล