เมื่อวันที่ 3 พ.ย.นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ลงพื้นที่บ้านหินขาว หมู่ 15 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการเจาะบ่อบาดาลลึก 1,000 เมตรหรือ 1 กิโลเมตรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(แอ่งนครราชสีมา-อุบลราชธานี แอ่งอุดรธานี-สกลนคร และแอ่งเลย” ซึ่งถือเป็นการเจาะบ่อน้ำบาดาลได้ในระดับความลึกที่มากที่สุดครั้งแรกของประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ บรรยากาศในการขุดเจาะเป็นไปอย่างคึกคัก โดยนายศักดิ์ดา ได้นำ E - log หรือเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์หลุมเจาะ หย่อนไปในบ่อที่เปิดปากหลุม 8 นิ้ว เพื่อวัดขนาดความลึกของบ่อและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ปรากฎว่า สามารถวัดได้ที่ขนาดความลึก 1,014 เมตรหรือลึกถึง 1 กิโลเมตรเศษ
จากนั้น นายศักดิ์ดา ให้สัมภาษณ์ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้มอบนโยบายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ภายใต้การกำกับดูแลของนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. เร่งดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้ทุกครัวเรือน ตามแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2561 – 2580) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้ดำเนิน “โครงการศึกษาเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แอ่งนครราชสีมา-อุบลราชธานี แอ่งอุดรธานี-สกลนคร และแอ่งเลย” เพื่อเจาะหาน้ำบาดาลระดับลึก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจาะสำรวจน้ำบาดาล ณ บ้านหินขาว ม.15 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น และสามารถเจาะได้ลึกถึง 1,014 เมตร และพบชั้นน้ำบาดาลใหม่ ๆ หลายชั้น สลับกับชั้นน้ำกล่อยและน้ำเค็ม ที่ระดับความลึกตั้งแต่ 180-190, 260-320, 540-550, 590-610, 750-770, 840-860 และ 970-990 เมตร โดยในชั้นที่พบน้ำบาดาลมากที่สุดคือ 540 - 600 เมตร สามารถนำมาใช้ได้ที่ 100 ลบ.เมตรค่อชั่วโมง
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้ จะมีการทำบ่อที่เจาะพบชั้นน้ำที่ระดับความลึกกว่า 1 กิโลเมตรให้เรียบร้อยใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจากนี้ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลคุณภาพดี ศักยภาพสูง ขึ้นมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ให้กับประชาชน ใน ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน พร้อมทั้งเตรียมแผนขยายผลไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC - Bioeconomy) ได้แก่ จ.นครราชสีมา ขอนแด่น อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ เป็นต้น เลิกขาดน้ำ
“การเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ระดับความลึกกว่า 1 พันเมตรหรือ 1 กิโลเมตร ถือเป็นความท้าทายของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อช่วยประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจากสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นประจำทุกปี ประกอบกับสภาพพื้นที่บริเวณกลางแอ่งรองรับด้วยชั้นเกลือหินใต้ดิน ส่งผลให้ชั้นน้ำบาดาลมีคุณภาพกร่อย-เค็มในบางพื้นที่ อาทิ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เป็นต้น นอกจากนี้น้ำบาดาลยังกักเก็บในรอยแตกหรือรอยต่อของชั้นหินแข็งระดับลึก ภายใต้โครงสร้างทางธรณีที่ซับซ้อน ส่งผลให้การเจาะและพัฒนาน้ำบาดาลระดับตื้นมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ชาวบ้านต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน ซึ่งมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนจากสารเคมีทางการเกษตรหรือแบคทีเรียได้ง่าย และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมต่อการอุปโภคบริโภค ทำให้ขาดความมั่นคงด้านน้ำ ขาดโอกาสที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สามารถเจาะน้ำบาดาลได้ในระดับความลึกมากกว่า 1พันเมตรครั้งนี้ จะทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เกษตร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการหมดไปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งยังสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำด้านอุปโภคบริโภค เศรษฐกิจ สังคม เกษตรกรรม และในภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต” นายศักดิ์ดา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ดร.เฉลิมชัย” ชูโครงการธรรมจักรสีเขียว สร้าง “วัดต้นแบบ” - เพิ่มพื้นที่ป่าให้ประเทศ
ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง รวมถึง “พระพุทธศาสนา” ที่มีความสัมพันธ์กับป่าไม้อย่างลึกซึ้ง
'ประเสริฐ' แจงม็อบพีมูฟ ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ที่ทำกินให้คนอยู่กับป่าได้
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) นำโดย นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานและที่ปรึกษาพีมูฟ รวมตัวจัดกิจกรรมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64
ชาวบ้านลุกฮือ ค้าน พรฎ.ของกรมอุทยานฯ ชี้สร้างความขัดแย้งชุมชนกับภาครัฐ
ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จ.แม่ฮ่องสอน ได้ทำหนังสือถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อขอให้ยกเลิกการออกพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ
ฉีกสัญญาพีมูฟ 'กรมอุทยาน' ดันร่างกม.ลูกเข้า ครม.ส่อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น
ส่อความขัดแย้งเพิ่ม พีมูฟเบรกร่างกม.ลูกกรมอุทยานฯ เข้า ครม . ชี้ยิ่งจุดชนวนสร้างข้อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น
เตรียมรับมือหมอกควัน-ฝุ่นพิษ 2568
ใกล้จะเข้าสู่ฤดูกาลฝุ่นช่วงเวลาที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะเริ่มสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินช่วงหลังวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีฝนที่ลดลง และจะมีมวลอากาศเย็นแผ่เข้ามาบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย