นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และคณะ โดยมี นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วมประชุม ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ณ ห้อง... ชั้น... อาคารรัฐสภา
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ในการเข้าพบและประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบาย โครงการ แผนงาน กิจกรรมการขับเคลื่อนด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และช่องทางการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ในหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพัฒนาระบบให้บริการประชาชน มีการนำเสนอข้อมูลผลการปฏิบัติงานในเรื่องต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ที่ประชาชนได้รับที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเน้นย้ำถึงกระบวนการมีส่วนร่วมและแก้ไขเรื่องปัญหาร้องเรียนของประชาชน เพื่อให้การสื่อสารสู่สาธารณชนในทุกรูปแบบเป็นไปอย่างถูกต้องและโปร่งใส
กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานวางแผนเชิงนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกโหมดการเดินทางอย่างบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่ไป คือ มิติของการมีส่วนร่วมและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างการรับรู้ แก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงฯ ได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น ช่องทางสื่อสารมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ สายด่วนและศูนย์ประสานงานเรื่องราวร้องทุกข์ รวมถึงให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน การพัฒนากระบวนงาน และการให้บริการประชาชน โดยยึดหลักกฎหมาย หลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ด้วยความเท่าเทียม เสมอภาค โปร่งใส เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างสูงสุด สำหรับนโยบายขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนาด้านคมนาคม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ของหน่วยงานในสังกัดที่ได้ดำเนินการปี 2564 สานต่อปี 2565 ประกอบไปด้วย
1.นโยบายขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนาด้านคมนาคม ภายใต้วิสัยทัศน์กระทรวงฯ ในการพัฒนาระบบขนส่งอย่างบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้เกิดการคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของทุกหน่วยงานในสังกัด โดยมีการขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 สานต่อปี 2565 รวมทั้งนโยบายใหม่ปี 2565 เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งดังนี้
- การคมนาคมขนส่งทางบก แบ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 สานต่อปี 2565 จำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ 1) การกำหนดความเร็วในการขับขี่บนถนนสายหลักขนาด 4 ช่องจราจรขึ้นไป ไม่เกิน 120 กม./ชม. ในปี 2564 เปิดเส้นทางนำร่องแล้ว 178 กม. และในปี 2565 จะเปิดเพิ่มเติมอีก 138 กม. 2) การพัฒนาระบบ M-Flow ในปี 2565 จะเปิดเต็มรูปแบบครบทั้ง 7 ด่าน 3) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - นครราชสีมา (M6) จะดำเนินการ PPP ได้ในปี 2565 4) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (M81) จะดำเนินการ PPP ได้ในปี 2565 5) การจัดทำแผนแม่บท MR-MAP 6) การพัฒนาทางพิเศษในจังหวัดภูเก็ต 7) โครงการ Land Bridge ชุมพร - ระนอง 8) การแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางด่วน และ 9) การวางระบบติดตามโครงการขนาดใหญ่ ในปี 2564 ดำเนินการแล้ว 5 โครงการ ในปี 2565 จะดำเนินการเพิ่มอีก 22 โครงการ สำหรับนโยบายใหม่ปี 2565 จะพัฒนาระบบคมนาคมทางถนนและต่อเติมโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมโยงภูมิภาค การเติมเต็ม Missing Links เชื่อมโยงระหว่างประเทศ การพัฒนาทางหลวงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้าง Landmark ใหม่ให้กับท้องถิ่น และการติดตามปัญหาอุทกภัย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้บูรณาการหน่วงยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนเตรียมรับมือและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที
- การคมนาคมขนส่งทางราง แบ่งเป็นขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 สานต่อปี 2565 จำนวน 14 เรื่อง ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนหลักการ Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน 2) การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 3) การจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารสินทรัพย์ ของ รฟท. (บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด) 4) การเร่งรัดเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ 5) การเร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วม 6) การพัฒนารถไฟทางคู่ 7) การกำหนดแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางเมืองภูมิภาค 8) การพัฒนารถไฟความเร็วสูง 9) การเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง 10) การจัดตั้งศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP 11) การสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการใช้ประโยชน์จากสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์ฉีดวัคซีน COVID-19 ให้แก่ประชาชน 12) การผลักดัน การพัฒนารถไฟ EV 13) การพัฒนาระบบติดตามโครงการก่อสร้างรถไฟ และ 14) การจัดทำแผนรองรับการเปิดประเทศ สำหรับปี 2565 กระทรวงฯ ได้เร่งรัดการพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ (Transit Oriented Development: TOD) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับทุกคน (Universal Design: UD) รวมทั้งการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ
- การคมนาคมขนส่งทางน้ำ แบ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 สานต่อปี 2565 จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้ และ 2) การผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับ เรือโดยสารสาธารณะ โดยในปี 2565 จะมีการพัฒนาระบบคมนาคมทางน้ำ อาทิ การปรับปรุงกฎหมายการขนส่งทางน้ำให้ทันสมัย การศึกษาสำรวจจัดทำฐานข้อมูลพาหนะทางน้ำ การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมรับการประเมินจาก องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ การจัดทำแผนความมั่นคงทางทะเล การสร้างเขื่อนแนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่งการจัดทำ Master Plan เพื่อฟื้นฟูชายหาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้และรูปแบบการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือให้เป็นยอร์ชคลับ นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมต่อท่าเรือกับสถานีรถไฟฟ้า การจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็น Automation Port และการพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น
- การคมนาคมขนส่งทางอากาศ แบ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 สานต่อปี 2565 จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การเร่งรัดพัฒนาท่าอากาศยานเป็นศูนย์กลางรวบรวม กระจายสินค้าเกษตรหรือสินค้าเน่าเสียง่าย 2) การจัดตั้งศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP 3) การให้สิทธิการบริหารท่าอากาศยานของ ทย. แก่ ทอท. และ 4) เตรียมการรองรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล สำหรับปี 2565 ได้เร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานต่าง ๆ และนำระบบ Automation มาใช้ในการพัฒนาห้วงอากาศ ระบบการเดินอากาศ รวมถึงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบเพื่อรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต การยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงฯ มีนโยบายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างกระทรวงฯ และประชาชน โดยการพัฒนา MOT Your Social ซึ่งประชาชนจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของกระทรวงผ่านสื่อออนไลน์ของกระทรวง (Facebook, Twitter, Instagram, Youtube, Tiktok, และ Podcast) ได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น และเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ติดตาม
การดำเนินงาน ช่วยให้กระทรวงฯ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) MOT Channel ผ่านทาง YouTube เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกระทรวงฯ โดยประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ข่าวสารสำคัญ เข้าถึงทุกการดำเนินงาน ได้อย่างต่อเนื่อง 2) MOT Public Hearing เป็นช่องทางการสื่อสารกับประชาชนผ่านเว็บไซต์กระทรวงฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมในทุกแผนงานโครงการ และนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและกระทรวงฯ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป และ 3) สายด่วน Call Center โทร. 1356 ซึ่งประชาชนสามารถสอบถาม ร้องเรียน และแจ้งเหตุได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กระบวนพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ โดยได้ให้ความสำคัญกับการให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมต่อการดำเนินโครงการ แผนงาน การก่อสร้าง ในการพัฒนาระบบคมนาคมทุกโหมดการเดินทาง โดยกระทรวงฯ มีนโยบายการจัดการข้อร้องเรียน การส่งเสริมช่องทางการรับข้อร้องเรียนที่หลากหลาย และการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาดำเนินการต่อข้อร้องเรียนด้วยความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว และผู้บริหารทุกระดับต้องมีส่วนร่วม ทั้งนี้ การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านเวทีการประชุมรับฟังความเห็น การลงพื้นที่และการพูดคุยกับผู้นำชุมชน ประชาชน หรือหน่วยงานของภาครัฐในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ เพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปพัฒนาโครงการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติสูงสุด
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการข่าวปลอมกระทรวงคมนาคม (MOT Anti-Fake News Center) ซึ่งมีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร และรวบรวมสรุปประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่ง เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสาธารณชนได้รับทราบอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และทันต่อสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ
'อนุทิน' ยืนยัน ภท.โหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติเข้าโหวตในสภา ย้ำเพื่อให้ ปชช.ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้าแก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่