จากความคืบหน้าล่าสุด กรณีเหตุเพลิงไหม้ย่านสำเพ็ง นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ได้สั่งระงับการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าในรุ่นเดียวกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าจากเหตุการณ์สำเพ็ง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA ทั้งหมดจำนวน 4 ลูก ก่อนนำไปตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับประชาชน พร้อมตอบสนองนโยบายการดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดของกระทรวงมหาดไทย โดยในวันนี้ (5 กรกฎาคม 2565) เจ้าหน้าที่ MEA ลงพื้นที่ถอดหม้อแปลงไฟฟ้าวงจรตาข่าย (Network Transformer) ในรุ่นเดียวกับที่เกิดเหตุ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม จำนวน 2 ลูก ก่อนนำไปตรวจสอบที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ และมีแผนที่จะถอดหม้อแปลงที่เหลืออีก 2 ลูก ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565
นอกจากนี้ MEA ได้ดำเนินมาตรการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าในกลุ่มหม้อแปลงวงจรตาข่าย (Network Transformer) อีกจำนวน 450 ลูก ในพื้นที่เมืองชั้นใน เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร โดยเป็นการดำเนินงานเพิ่มเติมจากภารกิจบำรุงรักษาตามมาตรฐานวิศวกรรมที่ MEA ทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยใช้วิธี Dissolved Gas Analysis (DGA) หรือ การวิเคราะห์ก๊าซที่ละลายในน้ำมัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของหม้อแปลงไฟฟ้า เสมือนการตรวจเลือดของมนุษย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพ โดยจะสามารถตรวจวัดค่าความชื้น ค่าก๊าซไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เอทิลีน อีเทน มีเทน และอะเซทิลีน เป็นต้น ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็จะทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้อย่างแม่นยำ และสามารถซ่อมบำรุง หรือการเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าลูกนั้น ๆ ได้ในทันที มีกำหนดการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ให้แล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม 2565
ขณะเดียวกัน MEA จะดำเนินการตรวจสอบด้วยรูปแบบ Standard Check กับหม้อแปลงไฟฟ้าของ MEA ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 67,000 ลูก ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยเริ่มต้นระยะที่ 1 จากการตรวจสอบควบคู่กับการทดสอบ DGA และพื้นที่ติดตั้งหม้อแปลงใกล้แหล่งชุมชน รวมจำนวนประมาณ 18,000 ลูก มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทำเพิ่มเติมจากการตรวจประจำปี โดยการตรวจสอบด้วยกล้องวัดอุณหภูมิ Thermo Scan เพื่อหาค่าความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ตรวจสอบการทำงานของระบบป้องกันในหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงการตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ และระบบสายดิน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าแต่ละลูก และประเมินความปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน ตลอดจนการเพิ่มนวัตกรรมระบบควบคุมและติดตามการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Online Transformer Control & Monitoring System) มาใช้เสริมความปลอดภัยจากการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบร่างสมบูรณ์อีก 4 ราย เร่งรื้อซากตึกสตง. ให้ถึงชั้น 1 ภายในสิ้นเดือนเมษา.
นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (สปภ.) ได้แถลงถึงความคืบหน้า กรณีค้นหาผู้สูญหายใต้ตึก สตง. เขตจตุจักร หลังรื้อถอนซากอาคารอย่างต่อเนื่อง ว่า วานนี้
'กมธ.งบฯ สว.' จัดทำข้อเสนอปรับเพิ่มเงินเยียวยาแผ่นดินไหว ชี้จ่ายไม่ตรงความเสียหาย
นายอลงกต วรกี สว. ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวภายหลังการประชุมกรณีการจ่ายเงินเยียวยาบ้านพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมที่ได้รับความเสียหาย
สว. ถกเกณฑ์เยียวยาแผ่นดินไหว พบ กทม.จ่ายเงินซ่อมบ้านพักอาศัย 70-300 บาท
กมธ.ติดตามงบฯ สว. ถกเกณฑ์เยียวยา-ชดเชย แผ่นดินไหว แนะ ปชช.ไม่พอใจ ยื่นอุทธรณ์ได้ หลังพบจ่ายเยียวยา 70-300 บาท แปลกใจ “ปธ.กมธ.”แจงแทนหน่วยงานที่เชิญมา เหตุรู้ระเบียบ แถมการันตีให้ กทม. ไม่ทำอะไรพลการ-ยึดตามระเบียบทั้งหมด
ซากตึกสตง. เหลือ 12 เมตร กทม.คาดจากชั้น 18 ลงมาจะพบร่างผู้เสียชีวิตมากขึ้น
นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าสถานการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหตุแผ่นดินไหว ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์สำนักงานเขตจตุจักร
'ผู้ว่าชัชชาติ' ยอมรับมีปัญหาสื่อสารหน้างานกู้ซากตึกถล่ม หน่วยงานอื่นเข้าพื้นที่ยาก
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเข้าพบ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานกรณีตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม
รองผู้ว่าฯกทม. เผยรื้อซากตึกถล่มเหลือ 14 เมตร เร่งทีมเข้าตัดเหล็ก นำร่างผู้ติดค้าง 50 ราย
น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการกู้ซากตึกถล่ม โดยกล่าวว่า สามารถลดยอดของซากตึกถล่มลงมาเหลือ 14 เมตร