“มากกว่าการบาดเจ็บทางร่างกาย คือ ความรู้สึกทางด้านจิตใจ และการที่ต้องอยู่กับความรู้สึกว่า หมดสิ้นหนทาง เพราะร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม ส่งผลให้ไม่สามารถกลับไปทำงาน หรือใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติดังเดิมได้ แต่ด้วยสิทธิจากกองทุนเงินทดแทน ช่วยให้ได้มีโอกาสเข้ารับการฟื้นฟู ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน รวมทั้งได้รับแรงบัลดาลใจในด้านอาชีพ จึงช่วยให้กลับมามีชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง” นายอมร วะทา ผู้ประกันตนจากสิทธิกองทุนเงินทดแทน จ.เพชรบูรณ์
การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานจนต้องสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของลูกจ้างอย่างยิ่ง ในบางรายอาจต้องอยู่ในสภาพติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพดังเดิมได้ จนรู้สึกว่าตนเองกลายเป็นภาระของครอบครัว แต่สำหรับลูกจ้างที่อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม ยังคงมีสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนที่เข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู สมรรถภาพทั้งกาย ใจ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ตลอดจนโอกาสทางด้านอาชีพ และเงินทดแทนการขาดรายได้ ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มพลังกายใจให้กับผู้ประกันตน ดังเช่น
นายอมร วะทา ทุพพลภาพเนื่องจากประสบอุบัติเหตุกองไม้ล้มทับจากการทำงาน จนกระดูกสันหลังหัก ขาหัก ต้องนั่งรถวิลแชร์ ได้ให้ข้อมูลว่า ช่วงที่ประสบเหตุจากการทำงานภายหลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว พบว่าตนเองต้องกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ นอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นระยะเวลากว่า 2 เดือน ขณะนั้น รู้สึกสูญเสียทั้งร่างกาย และจิตใจ จนเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเข้ามาประเมินร่างกาย และให้คำแนะนำให้เข้ามาบำบัด ฟื้นฟู ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน จุดนั้นเอง ที่รู้สึกว่าตนเองเหมือนมีชีวิตใหม่ เพราะจากเดิมที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ก็ได้รับการฝึกฝนจากศูนย์ ฯ ให้ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็น การฝึกใช้รถวิลแชร์ การฝึกขึ้น – ลงจากเตียง การใช้รถวิลแชร์ เพื่อทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ และทำงานบ้านได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงการได้มีโอกาสฝึกอาชีพ ซึ่งขณะนั้นสนใจเรียนรู้งานบุดุลโลหะ จนปัจจุบันจากการเรียนรู้ที่ศูนย์ฟื้นฟู ก็ได้กลายมาเป็นอาชีพหลักในการหารายได้เลี้ยงชีพ โดยจำหน่ายผ่านช่องทางเฟสบุ๊คของตน และได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า ทำให้ตนเองรู้สึกว่า การที่สูญเสียอวัยวะในร่างกายไป ไม่สามารถกลับมา ยืน เดินได้เหมือนเดิม แต่ก็ยังมีอวัยวะส่วนที่เหลือที่ยังสามารถทำประโยชน์ให้กับตนเองได้
ปัจจุบันมีรายได้จากการประกอบอาชีพบุดุลโลหะ เดือนละ 8,000 – 9,000 บาท และได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนเงินทดแทนจำนวน 6,370 บาท ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยพึ่งพาตนเองได้ และหากท่านใดที่สนใจเลือกสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเป็นกำลังใจให้กับผู้ทุพพลภาพ สามารถเข้าชมได้ที่เฟสบุ๊ค : อมร วะทา นอกจากจะได้บุญแล้ว ยังเป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ทุพพลภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย
และทั้งหมดนี้คือสิทธิประโยชน์ ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือติดตามข่าวสารสำนักงานประกันสังคมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน
เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน
สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก
สปส. คุ้มครองผู้ประกันตนกรณีตาย ทายาทได้สิทธิรับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์
สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บและตาย โดยหากผู้ประกันตนประสบเหตุไม่คาดคิดจนทำให้ถึงแก่ความตาย
สปส. คว้ารางวัลเลิศรัฐ ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี 2567
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยนางสาวนันทินี ทรัพย์ศิริ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมรับรางวัลเลิศรัฐ “สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1