นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และ ลพบุรี ซึ่งนับเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แหล่งใหญ่ของประเทศ (เพชรบูรณ์ แหล่งผลิตลำดับที่ 1 นครสวรรค์ ลำดับที่ 5 และ ลพบุรี ลำดับที่ 7 ของประเทศ) ซึ่ง สศก. โดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ได้ลงพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ฤดูการผลิตปี 2565/66 ทั้ง 3 จังหวัด มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ฤดูฝน) รวมประมาณ 1.41 ล้านไร่ (เพชรบูรณ์ 696,536 ไร่ นครสวรรค์ 332,957 ไร่ และ ลพบุรี 382,817 ไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ลดลงจากปี 2564/65 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 1.42 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 0.67
สำหรับภาพรวมเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังที่มีต้นทุนต่ำและให้ผลตอบแทนดีกว่า ขณะที่เนื้อที่เพาะปลูกจังหวัดลพบุรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในช่วงปลายปี 2564 พื้นที่บางส่วนประสบอุทกภัยจาก อิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังได้รับความเสียหาย เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน
ด้านผลผลิตภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด มีผลผลิตรวมประมาณ 1.04 ล้านตัน (เพชรบูรณ์ 522,153 ตัน นครสวรรค์ 246,572 ตัน และ ลพบุรี 269,713 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 23 ของผลผลิตทั้งประเทศ ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ที่มีผลผลิตรวมประมาณ 1.03 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 เนื่องจากคาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเหมาะสมและเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับเกษตรกรมีความชำนาญในการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกระทู้มากขึ้น โดยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ฤดูฝน) ในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด จะทยอยออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565 เป็นต้นไป และคาดว่าจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2565
ด้านราคา คาดว่า ในปี 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นไม่เกิน 14.5% จะสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - มิถุนายน) ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 9.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.03 บาท ในช่วงเดียวกันของปี 2564 หรือร้อยละ 16
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการผ่อนปรนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน (ข้าวสาลี และ ข้าวบาร์เลย์) โดยผ่อนปรนมาตรการการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 3 ส่วนเป็นการชั่วคราว ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศยังออกสู่ตลาดไม่มาก เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาภายในประเทศ พร้อมทั้งผ่อนปรนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้กรอบ WTO ในโควตา ซึ่งจากเดิมให้เฉพาะองค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว ในอัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณ 57,000 ตัน ได้ปรับใหม่ โดยให้ อคส. และผู้นำเข้าทั่วไปสามารถนำเข้าได้ ในอัตราภาษีร้อยละ 0 ปริมาณไม่เกิน 600,000 ตัน ซึ่งหากมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา รวมทุกช่องทางปริมาณเกินกว่า 1.20 ล้านตัน ให้สิ้นสุดการผ่อนปรนและกลับไปใช้มาตรการเดิม
ทั้งนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมายถึง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพาะปลูกเพื่อนำเมล็ดมาใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์และอื่น ๆ ยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำการเพาะปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีเพาะปลูก 2565/66 แบ่งเป็น รุ่น 1 (ฤดูฝน) แบ่งออกเป็น ต้นฤดูฝน ปลูกระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565 และ ปลายฤดูฝน ปลูกระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565 ซึ่งผลผลิตทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 และ รุ่น 2 (ฤดูแล้ง) ปลูกระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึง พฤษภาคม 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิชิต' เดือด! ฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' ปมไร่ภูนับดาว
'วิชิต' ฉุนด่าเนรคุณ เปรียบเหมือนสุนัขเลี้ยงไม่เชื่อง จ่อฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' หมิ่นประมาทใส่ร้าย ยันเสี่ย 'ไร่ภูนับดาว' เป็นเกษตรกรจริง
รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย
'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ
รัฐบาลตีปี๊บ 10 เดือนส่งออกสินค้าเกษตร 2.1 ล้านล้าน
'อนุกูล' เผยตัวเลขส่งออกสินค้าเกษตรช่วง 10 เดือนปี 2567 มูลค่ารวมกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.49 'ข้าว' ครองแชมป์สินค้าเกษตรส่งออก มูลค่า 168,685 ล้านบาท ขยายตัว 39.24%
กษ.ระดมสรรพกำลังเร่งช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ เกาะติดสถานการณ์ตลอด 24 ชม.
นายเอกภาพ พลชื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งกรมชลประทาน ติ
“กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” จัดกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรม แฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 โดยยกขบวน แฟรนไชส์ชั้นนำกว่า 40 แบรนด์ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ และค้าปลีก มาให้ผู้สนใจได้เลือกสรรตามความสนใจและความถนัด
‘รมว.นฤมล’เผย ยอดออมเงินทั่วประเทศ ในโครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือนฯ มีกว่า 21 ล้านบาท เตรียมสานต่อโครงการช่วยวางรากฐานให้เกษตรกร
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปิดโครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือนขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (กิจกรรมเปิดกระปุกออมสิน) โดยมี