ลูกจ้างไม่ต้องกังวล “กองทุนเงินทดแทน” พร้อมช่วยเหลือหากเกิดเรื่องร้ายจากการทำงาน!

ปัจจุบัน หลังรัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการการควบคุม เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ยุติการ Work From Home กลับมาเปิดดำเนินการในสภาวะวิถี Next Normal ร้านอาหาร ร้านค้า ต่างๆเปิดกิจการภายใต้มาตรการควบคุม เกิดการจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แสดงความห่วงใย ลูกจ้างแรงงานไม่ต้องกังวลใจหากเกิดเรื่องร้ายแรงจากการทำงาน“กองทุนเงินทดแทน”พร้อมให้การช่วยเหลือ   ย้ำ เบื้องต้นขอให้เช็คสิทธิประโยชน์ของตนเอง เพื่อความสะดวกหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ปัจจุบันความมั่นคงของรายได้เป็นปัจจัยหลักที่ลูกจ้างคำนึงถึง แต่หากมีอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจนจำเป็นต้องหยุดงาน   จะส่งผลต่อรายได้ กระทบความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ดังนั้น กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม   จึงมีการจัดตั้ง “กองทุนเงินทดแทน” ขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้าง หากประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย อันเนื่องมาจาก การทำงานให้แก่นายจ้าง โดยมุ่งหวังให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน 

สำหรับรายละเอียดการช่วยเหลือของกองทุนเงินทดแทน ประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก คือ

  1. ค่ารักษาพยาบาล - จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง หรือหากรุนแรงหรือเรื้อรัง สามารถจ่ายเพิ่มได้อีกตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล หากเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ
  2. ค่าทดแทนรายเดือน - เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย จะได้ค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน และไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่โดยได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน
  3. ค่าทำศพ -จ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพในอัตรา 50,000 บาท
  4. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน-กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตราย สำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข โดยนายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจแจ้งแบบการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16) ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง กรณีลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สามารถยื่นคำร้องขอเงินทดแทน ณ สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบเหตุ หรือหากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

“ขอให้ลูกจ้างไม่ต้องกังวลใจ กองทุนเงินทดแทน พร้อมช่วยเหลือลูกจ้างทุกคนในกรณีเกิดเรื่องร้ายจากการทำงาน ซึ่งกองทุนเงินทดแทนพร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบเหตุร้ายจากการทำงานอยู่แล้ว เพียงแต่เบื้องต้นขอให้ลูกจ้างไปเช็คสิทธิประโยชน์ของตนเองเพื่อความสะดวกและขจัดปัญหาหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น”นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ กล่าว

ทั้งนี้ รายละเอียดสิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี ! ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นหนึ่งพันบาทต่อบุตรหนึ่งคน มีผลบังคับใช้มกราคม 68

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยว่าตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อส่งเสริมการมีบุตรให้กับผู้ประกันตน ด้วยสาเหตุจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง

ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนทุกช่วงวัย โชว์ความสำเร็จการดำเนินงาน ปี 67

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดการแถลงข่าว ผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ก.แรงงาน รวมพลังจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบกระทรวงฯ สร้างวินัยบุคลากรที่ทำงานสะอาด ปลอดภัย พร้อมให้บริการประชาชน

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในกิจกรรม “กระทรวงแรงงานรวมพลัง กิจกรรม Big Cleaning Day”

“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน