สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย หยุดวิกฤติ Learning Loss

เชื่อหรือไม่? เด็กไทยจำนวน 1.1 ล้านครัวเรือนไม่มีหนังสือ (นิทาน) ให้อ่านภายในบ้าน

นอกจากนั้นยังมีสถิติที่ได้จากการเก็บข้อมูล พบว่าเด็กไทยไม่สามารถอ่านหนังสือได้ มีโอกาสออกจากระบบโรงเรียนสูงถึง 40% และการที่เด็กเข้าไม่ถึงหนังสือถือเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จึงเดินหน้าขับเคลื่อน เติมเต็มช่องว่างในการสร้างคุณภาพการอ่านให้เป็นจริง

การจัดเวทีพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย “สานพลังร่วมหยุดวิกฤติ Learning Loss จากปฏิบัติการทางสังคมสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย” มุ่งเป้าสนับสนุนให้เกิดสวัสดิการหนังสือในเด็กปฐมวัย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด โดย สสส.ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านกว่า 340 องค์กร อาทิ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก บริษัท กล้าก้าว อินสไปเรชั่น จำกัด ศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายอ่านยกกำลังสุข ศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ เครือข่ายเด็กเท่ากัน เครือข่ายรัฐสวัสดิการ เพื่อการวางรากฐานการอ่าน สร้างกระบวนการเรียนรู้และสุขภาวะจากการอ่าน

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า สสส.เร่งสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย พัฒนาแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านตั้งแต่เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ปี ริเริ่มโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ชวนกันอ่านสร้างสุข โครงการคัดสรร 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย โครงการนครแห่งการอ่าน โครงการอ่านยาใจ : สร้างภูมิคุ้มใจเด็กปฐมวัย มุ่งขยายผลขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา สร้างครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแก้วิกฤติพัฒนาการภาษาล่าช้า ลดภาวะถดถอยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

“เราไม่อยากรับบริจาคหนังสือ สสส.ไม่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ขับเคลื่อนนโยบาย นายก อบต.ขานรับนโยบายเห็นว่าเด็กเปลี่ยนแปลง การจัดกิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมด้วยการเสริมสร้าง เชื่อมโยง และเสริมพลังเครือข่าย เพื่อให้เกิดกลไกการทำงาน ทั้งกลไกด้านสุขภาพ ภาควิชาการท้องถิ่น และภาคนโยบาย เช่น สวัสดิการสำหรับแม่ตั้งครรภ์และเด็กตั้งแต่แรกเกิด ที่สร้างโอกาสการเข้าถึงหนังสือคุณภาพและสวัสดิการหนังสือเด็กปฐมวัย เพื่อวางรากฐานการอ่านที่เป็นทักษะสำคัญของการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต” นางญาณีกล่าว

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอ่าน เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมใหม่ของสังคมไทย ที่มีกระบวนการสร้างสุขภาวะและศักยภาพของเด็กปฐมวัย เป็นยุทธศาสตร์สำคัญและเร่งด่วนในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งต้องทำงานคู่ขนานระหว่างการขับเคลื่อนปฏิบัติการทางสังคมและภาคนโยบาย เพื่อขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศ ที่ผ่านมาได้จัดเวทีสาธารณะทั่วทุกภูมิภาค 5 ครั้ง เพื่อให้เกิดข้อเสนอสำคัญนำยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อนำไปสู่มติคณะรัฐมนตรีต่อไปภายในปี 2565 ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “อ่านยกกำลังสุข”

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวทาง ZOOM ว่า กทม.มุ่งทำงานภายใต้แนวคิด “ลงทุนน้อย แต่ได้ผลเยอะ” การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในเด็กปฐมวัย ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าได้ผลลัพธ์มหาศาล ในการนี้ สสส.และภาคีเครือข่ายผลักดันขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย ทางกทม.พร้อมรับนโยบายมาส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านนโยบาย 3 ข้อ 1.ส่งเสริมให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง มีหนังสือในบ้าน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญให้เด็กอายุ 0-8 ปี ที่มีพัฒนาการเร็ว มีนิสัยรักการอ่าน 2.ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง พ่อ-แม่ มีเวลาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยฝึกให้พ่อ-แม่มีบทบาทในการฝึกลูกเรื่องการอ่านมากขึ้น 3.จัดทรัพยากรหนังสือเพื่อเด็ก อาทิ โครงการหนังสือ 100 เล่ม แนะนำให้เด็กอ่าน จัดตั้งศูนย์กลางห้องสมุด 36 แห่ง พัฒนาบ้านหนังสือในชุมชน 117 แห่ง ช่วยคนรายได้น้อย เข้าถึงหนังสือ 3-5 เล่มต่อ 1 บ้าน ใช้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนหมุนเวียนหนังสือ พร้อมมีจิตอาสาหมุนเวียนมาอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ถือเป็นการที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลเยอะ สร้างเด็กปฐมวัยมีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาการที่ดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในชีวิตและสังคมไทย

“ขอรับนโยบาย สสส.และภาคีเครือข่ายในการผลักดันให้เด็กทุกคนเข้าถึงสวัสดิการหนังสือเด็กปฐมวัย โดย กทม.จะขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพราะการอ่านหนังสือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คือลงทุนน้อยแต่ได้เยอะ” รศ.ดร.ชัชชาติกล่าว

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การอ่านมีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ สร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูก 7 ข้อคือ 1.อ่านหนังสือหรือเล่านิทาน โดยแนะนำให้ลูกรู้จักตัวละครในหนังสือ พร้อมตอบคำถาม 2.พาลูกไปเลือกซื้อหนังสือที่สนใจ 3.ทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน เช่น จัดชมรมนักอ่าน จัดห้องสมุดโรงเรียน เป็นวิทยากรอ่านหนังสือให้เด็กฟัง 4.ชวนลูกทำอาหารจากหนังสือหรือตำราอาหารเด็ก 5.ให้ลูกฝึกค้นหาคำตอบจากหนังสือสารานุกรมเด็ก 6.อ่านหนังสือทุกวัน เลือกที่เหมาะสมตามวัย มีภาพประกอบมีสีสันสวยงาม มีเนื้อหาเข้าใจง่าย และภาษาไพเราะ 7.ให้หนังสือเป็นของขวัญสำหรับลูกในวันสำคัญต่างๆ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างน้อย 1 แห่ง ต้องมีห้องสมุดศูนย์กลาง จึงได้ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ริเริ่มโครงการ “ท้องถิ่นรักษ์การอ่าน” ปรับศาลากลางบ้าน วัด ส่วนของพื้นที่ราชการท้องถิ่น หรือบ้านของจิตอาสา เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ แบ่งปันหนังสือของคนในชุมชน จำนวน 9,102 แห่ง พร้อมผลักดันนโยบายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรในท้องถิ่น ให้มีมุมอ่านหนังสือ มีกิจกรรมเล่านิทาน สนับสนุนให้ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมการเรียนรู้วงกว้างในระยะเวลาที่รวดเร็ว

นางพนมวรรณ คาดพันโน ประธานเครือข่ายฮักอ่าน จังหวัดยโสธร กล่าวว่า รับราชการสำนักงานสาธารณสุขยโสธรเป็นเวลา 27 ปี ขณะเดียวกันทำหน้าที่ส่งเสริมการอ่านให้เด็กในพื้นที่ พัฒนาทีม อสม.ในละแวกบ้าน ครอบครัวคนไข้ที่เป็นเด็กๆ ปู่ย่าตายายอ่านหนังสือให้เด็กฟัง กศน.มีบ้านหนังสือ มีการจับมือกับสาธารณสุขจัดทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กควรจะได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย เพื่อเด็กจะได้มีคลังศัพท์จากการอ่านหนังสือ อุปสรรคของเด็กก็คือการติดโทรศัพท์มือถือ โควิดทำให้ต้องเว้นระยะห่าง นอนโรงพยาบาล 14 วัน ระหว่างการพักฟื้นก็ขอหนังสือให้เด็กอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน  เด็กมีความสุขที่มีหนังสือเป็นเพื่อนในยามป่วย

นอกจากนี้ ยังแก้ไขปัญหาเด็กพิเศษให้มีพัฒนาการสมวัยด้วยการอ่านหนังสือให้เด็กฟังบ่อยๆ มิฉะนั้นเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้า พูดไม่เป็นภาษา แนะนำพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน ขณะเดียวกันให้เด็กห่างมือถือ “แม่พาแก้มอิ่ม-รตา ลูกสาวอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ ฟัง เด็กมีพัฒนาการที่ดีชวนกันแข่งขันการอ่านและเล่านิทาน ในฐานะที่เป็นหนอนหนังสือเพื่อจะช่วยกันสร้างหนอนหนังสือรุ่นต่อๆ ไป เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัดเจน เด็กเรียนเก่งมีพัฒนาการ EF ถ่ายทอดความรู้ด้วยการอ่านหนังสือให้น้องๆ ฟัง มีการจัดทำกิจกรรมทอดผ้าป่าหนังสือ เพื่อเด็กจะได้มีหนังสือดีๆ หมุนเวียนกันอ่าน เป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม”.

 

วิกฤติการอ่านของเด็กไทย

ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2562 (MICS6) จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ  พบว่า

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทย มีจำนวน 34% ที่มีหนังสือสำหรับเด็กอย่างน้อย 3 เล่มที่บ้าน (ลดลงจากร้อยละ 41 ในปี 2558 แบ่งเป็นเด็กในครัวเรือนที่ร่ำรวยมาก 65% เด็กในครัวเรือนที่ยากจนมาก 14%

เด็ก 0-3 ปีไม่มีหนังสือนิทานในบ้าน 3 เล่ม 1.1 ล้านครัวเรือน

เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 53% พบว่ามีเด็กถึง 8% ที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง

การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบต่อเด็ก จากการศึกษาของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมสมาธิสั้น พฤติกรรมแยกตัว ดื้อ ต่อต้านมากขึ้น พฤติกรรมด้านภาษา พัฒนาการด้านการใช้สมองระดับสูง (Executive Functions หรือ EF) ในการแก้ไขปัญหาคิดสร้างสรรค์

เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อทักษะ EF ประกอบด้วย กลุ่มทักษะพื้นฐานสำคัญ 3 อย่าง 1.ความจำในการทำงาน (working memory) การควบคุมยับยั้งตนเอง (ingibitory control) การมีความคิดยืดหยุ่น (cognitive flexibility) การให้เด็กวัยหัดเดินดูโทรทัศน์นานกว่าวันละ 2 ชั่วโมง เด็กจะมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าถึง 6 เท่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัยโจ๋อุดร หลีกทางสายควันบุหรี่ ไม่เท่แถมคนรอบข้างเหยื่ออันตราย

วิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี จ.อุดรธานี จัดโครงการ “กล่องความคิดในความเห็นต่าง” เปิดใจผู้สูบและไม่สูบบุหรี่ เสียงส่วนใหญ่เคาะ “สูบบุหรี่ไม่ได้เท่อย่างที่คิด คนรอบข้างเสี่ยงติดโรคจากควันบุหรี่” สสส. ชวนเยาวชนสร้างสรรค์คอนเทนต์พิษภัยปัจจัยเสี่ยงเหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ เป็นเครื่องเตือนใจคนรอบข้าง

สสส. สานพลัง ภาคี จัดใหญ่! กลางเมืองสุโขทัย เทศกาล The ICONiC Run Fest Thailand Series Sukhothai 2024 เดิน วิ่ง กิน เที่ยว เพื่อสุขภาพ

วันที่ 24 ส.ค. 2567 ที่วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อ.เมือง จ.สุโขทัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สสส. สานพลัง SYNHUB เดินหน้าโครงการ “HealthTech X 2 The Future” หนุน คนรุ่นใหม่-ธุรกิจ-สตาร์ทอัพ ตื่นตัวสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์กลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สนับสนุนทุนสูงสุด 1 ล้านบาท ปลื้ม HealthTech X 1 ออกสู่ตลาดโลก นวัตกรรมสุขภาพ “Bederly” ใช้จริงใน 20 รพ.สต. “iFlow Zone Headband” จดลิขสิทธิ์เตรียมต่อยอดเชิงพาณิชย์

วันที่ 22 ส.ค. 2567 ที่ SYNHUB Digi-Tech Community จ.ปทุมธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น จำกัด (SYNHUB) จัดกิจกรรม Open House โครงการ HealthTech X 2 The Future เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการไทย

“Movement คนรุ่นใหม่” #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 สสส. สานพลัง พอช. มุ่งกระจายโอกาสทั่วถึง ร่วมพลิกวิกฤต เป็นโอกาสพัฒนาบ้านเกิด

กรุงเทพมหานคร / เวลา 09.00 น. วันที่ 20 ส.ค. 2567 ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

“ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้” พลิกใจให้เลิกยา...คืนสู่สังคม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่รับฟังสรุปการดำเนินงาน “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม”

เนื่องในวันแม่แห่งชาติ มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ สานพลัง สสส. เดินหน้ารณรงค์ หนุนให้ “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ”

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.