ผลักดันหญิงพิการ’ถูกละเมิด’เข้าถึงระบบยุติธรรม

ไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงติดอันดับโลก ที่น่ากังวลเด็กและสตรีพิการถูกทำร้ายบาดเจ็บทั้งกายและบอบช้ำทางจิตใจเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีแค่ 29% ขณะที่แต่ละวันมีผู้หญิงถูกล่วงละเมิด ไม่น้อยกว่า 7 คน เหยื่อที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ ประมาณปีละ 3 หมื่นราย ข้อมูลเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านเวทีนำเสนอรายงาน “สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงพิการ”  จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และสมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่ให้หญิงพิการไร้ตัวตน

พัชรี อาระยะกุล ปลัด พม.

นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า พม. สนับสนุนทุกภาคส่วนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เพื่อปกป้องและเอาผิดกับผู้กระทำผิด มีนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัดสนับสนุนให้เด็กและสตรีพิการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมาย และการสนับสนุนด้านอื่นที่จำเป็นสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ เน้นกระบวนทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชน ขับเคลื่อน 4 มิติ ป้องกัน ช่วยเหลือเยียวยา ดำเนินคดี และร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  ช่วงโควิดที่ผ่านมาครอบครัวใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น  คดีล่วงละเมิดเพิ่มขึ้น  เด็กหรือผู้หญิงออกมาแจ้งความทำได้ยาก เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เช่น พ่อทำลูก เราต้องช่วยในกระบวนการรับรู้สิทธิ  ปกป้องและยืนเคียงข้างในกระบวนการยุติธรรมจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการ ต้องทำให้ผู้ถูกละเมิดกล้าและไม่รู้สึกสู้อยู่คนเดียว มีคดีตัวอย่างที่ผู้เสียหายชนะจากการทำงานร่วมกัน

ความร่วมมือผลักดันให้ยุติความรุนแรงในผู้หญิงเป็นประเด็นใหญ่ นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า ผู้หญิงอยู่ในกลุ่มเปราะบางเผชิญความเหลื่อมล้ำจากอคติทางเพศ จารีต ประเพณี และวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานาน ทำให้บางคนสูญเสียโอกาสและได้รับผลกระทบในชีวิตอย่างหนัก  สสส. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะผู้หญิงเพื่อปลดล็อกปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ป้องกัน คุ้มครองให้รอดพ้นจากความรุนแรงทุกมิติ ทำให้กลุ่มคนพิการ มุสลิม ชาติพันธุ์ ผู้ต้องขัง ผู้หญิงบริการ และผู้หญิงรักผู้หญิง มีสุขภาวะที่ดี

ภารนี ภู่ประเสริฐ

กุญแจสำคัญในการกำหนดชะตาชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ นางภรณีเน้นย้ำถึงนโยบายสาธารณะ ซึ่ง สสส. ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และภาคี ขับเคลื่อนโครงการก้าวที่เป็นมิตรต่อเด็ก ผู้หญิง คนพิการ และผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เป้าหมายสำคัญสนับสนุน ฟื้นฟู เยียวยา เสริมพลังเด็ก ผู้หญิง คนพิการที่ประสบความรุนแรงให้ก้าวข้ามปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงรายอื่นให้รู้สิทธิตามกฎหมาย และรวบรวม เผยแพร่สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงพิการ ค้นหาปัญหา ช่องโหว่ และนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและบริการของภาครัฐ

ทำงานเชิงรุกโฟกัสกับความรุนแรงในครอบครัวที่กระทบผู้หญิง นางภรณี เผย สสส.ผนึกภาคีเครือข่ายเพื่อลดปัญหาผ่านงานพัฒนาองค์ความรู้และสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวระดับประเทศ, พัฒนาหลักสูตรแก้ปัญหาความรุนแรงและเพิ่มศักยภาพคนทำงานด้านความรุนแรง, พัฒนาหลักสูตรความรู้ด้านกฎหมายและการประสานงานสหวิชาชีพกรณีเกิดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมถึงพัฒนาพื้นที่นำร่องสร้างระบบงานสหวิชาชีพแก้ปัญหานี้ในจังหวัดต่างๆ เพื่อสร้างสวัสดิภาพ ลดความรุนแรงในพื้นที่ พัฒนาแกนนำสตรี 4 ภาค และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะผู้หญิงและครอบครัว ให้คำปรึกษาผ่านมูลนิธิเพื่อนหญิง

เปิดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและหญิงพิการ

ส่วนงานสื่อสารสาธารณะมุ่งส่งเสริมงานสื่อสารร่วมกับทุกภาคส่วนปรับทัศนคติให้สังคม “ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง” หรือ “ความรุนแรงเป็นเรื่องของคนอื่น” ผ่านแฟนเพจ Free From Fear, ขับเคลื่อน “โครงการเผือก” เปลี่ยนพลังเงียบให้เป็นหู เป็นตา ช่วยเหลือ เก็บหลักฐาน พร้อมจัดทำเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ลดการคุกคามทางเพศในระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งยังผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.2560 – 2564 พัฒนากลไกยุติความรุนแรงผ่าน MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติ  ส่วนปัญหาคุกคามทางเพศบนรถขนส่งสาธารณะ ร่วมกับ บขส.เสริมศักยภาพพนักงาน ติดกล้องวงจรปิดภายในรถ และพัฒนาระบบการแจ้งเหตุขึ้นมา

ประเด็นเหยื่อเข้าถึงไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม นางสาวเสาวลักษณ์ ทองก๊วย กรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่อง พบว่า คดีหรือเรื่องที่เกิดขึ้นร้อยละ 20 เท่านั้นที่เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ผู้เสียหายเข้าไม่ถึงด้วยความไม่รู้กฎหมาย บางครั้งถูกชักจูง ไกล่เกลี่ย ทำให้ยอมความรับค่าทำขวัญเพื่อจบ ไม่ให้เรื่องสิ้นสุดที่กระบวนการยุติธรรม   ร้อยละ 90 ของการละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นคนในบ้าน ยิ่งบุคคลที่เป็นผู้พิการด้วยแล้วจะยิ่งถูกมองว่า ไร้ตัวตน ถึงเวลาต้องกลับมามองถึงปัจจัยที่ทำให้เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งที่ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียม เสนอแนะให้ภาครัฐปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายสากลที่ครอบคลุมสิทธิเรื่องผู้พิการ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน