นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ติดตามการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง นายประมวลรัตน์ จินณรงค์ รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนายสุรพงษ์ เมี้ยนมิตร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม 

การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อติดตามการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่ง กทพ. มีเขตทางที่ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 2,900 ไร่ และได้มีการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ โดยมีความคืบหน้าการดำเนินงาน จำนวน 7 แห่ง ได้แก่

บริเวณใต้ด่านฯ อโศก เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ปัจจุบันพันธมิตรได้ขอชะลอการเข้าร่วมดำเนินโครงการเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ซ้อนทับโครงการก่อสร้างและปรับปรุงทางพิเศษขั้นที่ 2 (Double Deck) จึงอาจจะต้องมีการพิจารณาปรับแนวทางในการพัฒนาพื้นที่อีกครั้ง โดย กทพ. มีโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่เพื่อสังคมโดยความร่วมมือกับพันธมิตรของ กทพ. ต่อไป

2.บริเวณถนนสุขุมวิท (เพลินจิต) เนื้อที่ประมาณ 4.5 ไร่ กทพ. มีแผนจะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์ โดยการให้เช่าพื้นที่ชั่วคราว คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569

บริเวณถนนสีลม เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ กทพ. มีแผนจะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ควบคู่กัน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2566

บริเวณบางโปรง เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นพื้นที่ที่เวนคืนเพื่อรองรับการก่อสร้างจุดให้บริการบนทางพิเศษ (Service Area) ขณะนี้อยู่ระหว่างการจ้างศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ โดยการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะได้ผู้ร่วมลงทุนประมาณปี 2568

บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เนื้อที่ประมาณ 98 ไร่ เป็นพื้นที่ที่เวนคืนเพื่อใช้เป็นจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) ขณะนี้อยู่ระหว่างการจ้างศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการโดยการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะได้ผู้ร่วมลงทุนประมาณปี 2568

บริเวณ กม.16 เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตทางพิเศษอุดรรัถยาเพื่อรองรับการก่อสร้างจุดแวะพัก (Rest Area) ขณะนี้บริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) มีความสนใจโครงการดังกล่าว เพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิง และร้านค้าเพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทางพิเศษ

7.บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตทางพิเศษศรีรัช โดยจะแบ่งการพัฒนาพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ (1) ช่วงถนนพหลโยธิน (ด่านฯ พหลโยธิน 1) ถึงถนนดินแดง พัฒนาเป็นร้านค้า ทางเดินลอยฟ้า พื้นที่จอดรถ และพื้นที่สาธารณะ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 (2) ช่วงถนนพหลโยธิน ถึงด่านฯ พหลโยธิน 2 พัฒนาเป็นศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ร้านค้า ทางเดินลอยฟ้า พื้นที่จอดรถ และพื้นที่สาธารณะ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2569

ซึ่ง กทพ. ได้จัดทำแผนการดำเนินงาน (Action Plan) พื้นที่ดังกล่าว ทั้ง 7 แห่ง แล้วทั้งนี้ นายศักดิ์สยามฯ ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ให้ กทพ. จัดทำขั้นตอน/กิจกรรม ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ให้มีความชัดเจน เพื่อให้สามารถติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรมให้ กทพ. นำข้อมูลที่สะท้อนภาพความเป็นจริง และพยากรณ์ปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต ในส่วนของการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษด้วย

3.ให้ สนข. บูรณาการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่การดำเนินโครงการมีการเวนคืนที่ดิน โดยให้พิจารณาการใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ควบคู่ด้วย และศึกษาตัวอย่างจากการพัฒนาโครงการในต่างประเทศ เพื่อชดเชยรายได้ในแต่ละโครงการ อันจะส่งผลให้เป็นการลดภาระค่าบริการของประชาชนจากการใช้บริการโครงการ

4.ให้ กทพ. พิจารณารูปแบบ Service area แบบคร่อมทางพิเศษในลักษณะเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ในแนวดิ่งและด้านข้างให้มีความทันสมัยและสอดรับกับพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ในแนวราบเพียงอย่างเดียว เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่

5.ให้ กทพ. ประชาสัมพันธ์และทำการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่เป็นระยะ เพื่อสร้างความรับรู้ให้กับประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ไชยชนก” นำกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 8 มกราคม 2568

วันนี้ (9 ม.ค. 2568) ที่วังศุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ สส.พระนครศรีอยุธยา รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย, นายกรวีร์

ส่อง 'พรรคปฏิบัติการ' ปี 68 'ภูมิใจไทย' ถูกขวางยิ่งโต

“พรรคภูมิใจไทย” ภายใต้การนำของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ถือเป็นองค์กระกอบตัวแปรสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้เกิดรัฐบาลไฟต์บังคับนี้ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย

‘อนุทิน’ ยันไม่ประเมินผลงานนายกอิ๊งค์ ย้ำสามัคคีทำงานดี 

“อนุทิน” ยัน รัฐบาลแพทองธาร สามัคคีทำงานได้ดี  - ออกตัวไม่ขอประเมินผลงาน “นายกฯอิ๊งค์” แต่ยกภาวะผู้นำสูง  ย้ำปรับ ครม.เป็นอำนาจผู้นำปท.แต่ ”ภูมิใจไทย“ ยืนยันโควตาเดิม ลั่นปีหน้าพร้อมผลักดันภารกิจกระทรวงมหาดไทย  ปราบผู้มีอิทธิพล - แก้ยาเสพติด-  เพิ่มมิติป้องกันภัยพิบัติหลังลดงบเยียวยาพุ่งสูง

“สิริพงศ์” รับเรื่องร้องเรียนจากศูนย์สิทธิผู้บริโภค โซนกรุงเทพฯ เหนือ ยัน 3 ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.อาหาร - พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า รอฝ่าย กม.พรรค ภท.พิจารณา

ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รับหนังสือร้องเรียนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) นำโดยนางกนกวรรณ ด้วงเงิน ประธานโซนกรุงเทพฯ เหนือ พร้อมคณะศูนย์สิทธิผู้บริโภค จากเขตหลักสี่ จตุจักร ดอนเมือง สายไหม บางเขน และลาดพร้าว ได้ยื่นหนังสือ 3 ฉบับ อาทิ