เปิดใจนักสังคมสงเคราะห์ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน “ลัดดาวัลย์ จอมใจ”บำบัด ฟื้นฟู สร้างเกราะคุ้มกันทางจิตใจให้ผู้ประกันตน

“เมื่อผู้ประกันตนบาดเจ็บจากการทำงานจนต้องสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจจะเป็นปราการด่านสำคัญ ที่ช่วยดึงให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูอยู่กับสิ่งที่เป็นได้ด้วยความเข้มแข็ง และหน้าที่ของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานมีเป้าหมายสำคัญ คือ ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทั้งหมด 100% จะต้องกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข” (ลัดดาวัลย์ จอมใจ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ)

ภารกิจสำคัญของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน นอกจากจะให้การบำบัด ฟื้นฟูทางด้านร่างกายให้กับผู้ประกันตนที่ประสบเหตุจากการทำงาน จนต้องสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน คือ การฟื้นฟู เยียวยาทางด้านจิตใจ ซึ่งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน จะให้การดูแลตั้งแต่แรกรับ ด้วยวิธีการประเมินสภาพปัญหาเบื้องต้น และให้คำวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมีความต้องการความช่วยเหลือในด้านใด ควรให้คำแนะนำอย่างไร ซึ่งจะมีพี่เลี้ยงที่คอยให้การดูแล คอยประเมินอาการและเป็นที่ปรึกษาตลอดการบำบัด ฟื้นฟู 

นางสาวลัดดาวัลย์ จอมใจ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ กล่าวว่า “การสูญเสียอวัยวะ เปรียบเสมือนการสูญเสียคนที่รัก ซึ่งการที่จะยอมรับ หรือทำใจได้กับความสูญเสียจึงไม่ใช่เรื่องง่าย”ในกรณีของผู้ประกันตนที่เข้ารับการฟื้นฟู ส่วนใหญ่เดิมทีมักมาจากผู้ที่เคยเป็นกำลังหลักของครอบครัว ทำงานเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง แต่ด้วยประสบเหตุจากการทำงานจนสูญเสียอวัยวะ และใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน เข้ารับการบำบัดรักษาที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน กลุ่มคนเหล่านี้ จึงเรียกได้ว่า เจอเรื่องพลิกผันในชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแลทางด้านจิตใจ เนื่องจาก เคยทำงานได้ ช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นกระบวนการเยียวยาทางด้านจิตใจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทางด้านร่างกาย เพื่อให้กระบวนการบำบัดประสบความสำเร็จ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจจึงมีกระบวนการหลัก ๆ 3 ด้านได้แก่ 

1.ด้านทัศนคติ โดยพยายามสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด มีกระบวนการเปลี่ยนทัศนคติโดยสังคม ให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟู ได้มีโอกาสเห็นเพื่อนที่มีเรื่องราวคล้ายกัน ตลอดจนได้ร่วมพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติวิธีคิด 

2.พัฒนาศักยภาพ จะเป็นการช่วยให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเห็นถึงคุณค่าของตนเอง ไม่โฟกัสในจุดที่ตนเองมีความบกพร่อง หรือที่ต้องสูญเสียอวัยวะ และให้สามารถใช้อวัยวะที่มีอยู่อย่างมีคุณค่ามากที่สุด 

3.กิจกรรมเสริม ซึ่งจะเป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูได้ทดลองทำ เช่น พาไปทัศนศึกษา การทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน ตลอดจนการทดลองออกไปใช้ชีวิตนอกศูนย์ฟื้นฟู ฯ เพื่อให้กล้าเผชิญหน้ากับสังคม และสายตาของผู้คนได้อย่างไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหากระทบกับจิตใจ 

นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้ารับฟื้นฟู กับนายจ้างเพื่อประเมินการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกันตนที่เข้ารับการฟื้นฟูมีความมั่นใจ สามารถเลือกทำงานที่เหมาะกับศักยภาพทางร่างกาย และก้าวต่อไปด้วยความพร้อม และความมั่นคง 

และทั้งหมดนี้คือสิทธิประโยชน์ ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานหากมีข้อสงสัยสามารถตรสจสอบ หรือติดตามข่าวสารสำนักงานประกันสังคมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

Website: www.sso.go.th

Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

Instagram: sso_1506

Twitter: @sso1506

YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

LINE: @SSOTHAI

TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

"พิพัฒน์" จับมือ ธอส. ปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.59% ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

วันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก

สปส. คุ้มครองผู้ประกันตนกรณีตาย ทายาทได้สิทธิรับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์

สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บและตาย โดยหากผู้ประกันตนประสบเหตุไม่คาดคิดจนทำให้ถึงแก่ความตาย

ดูแลสุขภาพฟันกันเถอะ ! ผู้ประกันตน อย่าลืมใช้สิทธิทันตกรรม 900 บาทต่อปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากและฟัน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวัยทำงานที่ต้องพบปะผู้คนในสังคม รวมทั้งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอีกด้วย ซึ่งหากเกิดปัญหาในช่องปากและฟัน เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ เสียวฟัน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือแม้แต่โรคปริทันต์