ศักดิ์สยาม ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองและสายสีชมพู สั่งการให้ใช้บัตรโดยสาร EMV ลดค่าแรกเข้า และจัดค่าโดยสารแบบแพคเกจ เพื่อลดภาระประชาชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รวค.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ครั้งที่ 1/2565 เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวง (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวง (ด้านอำนวยการ) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

สืบเนื่องจากปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู การก่อสร้างมีความคืบหน้าตามลำดับ โดยความคืบหน้า ณ ปัจจุบัน สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว – สำโรง) มีความคืบหน้าการก่อสร้าง ร้อยละ 92.93 มีแผนเปิดให้บริการบางส่วนของเส้นทางในเดือนมกราคม 2566 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน 2566 ส่วนสายสีชมพู (ช่วงแคราย - มีนบุรี) มีความคืบหน้าร้อยละ 88.51 มีแผนเปิดให้บริการบางส่วนของเส้นทางในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการ ทั้งในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้ากับรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ากับระบบคมนาคมขนส่งรอง เช่น รถโดยสารประจำทางและเรือโดยสาร ตลอดจนการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม กระทรวงคมนาคมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดให้บริการ โดยในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรก (Kick-off Meeting) เพื่อมอบหมายนโยบายให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการเตรียมความพร้อมฯ ต่อไป 

ทั้งนี้ ในการประชุม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสั่งการให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการดังนี้

  1. คณะอนุกรรมการด้านการเดินรถ การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง และการประเมินคุณภาพ

1) เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ และทดสอบเดินรถจนเห็นว่ามีความปลอดภัยแล้ว เห็นควรให้มีการทดลอง

เปิดให้บริการเดินรถเสมือนจริงโดยไม่เก็บค่าบริการ เพื่อให้ทราบอุปสรรคและปัญหาต่างๆ และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

2) เห็นควรให้มีการจัดทำแผนการเดินรถให้มีความชัดเจน และเร่งรัดการเปิดให้บริการตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งจัดเตรียมแผนการจัดการขนส่งสาธารณะระบบรอง เช่น รถโดยสาร ให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการ

3) ให้ตรวจสอบความพร้อมของสถานี และแนวเส้นทางเดินรถให้มีความปลอดภัย

4) ให้เรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาจากโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง

พร้อมทั้งเตรียมการลดผลกระทบของประชาชนด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้โดยสาร และผู้อยู่อาศัยตามแนวเส้นทาง เช่น ข้อร้องเรียนเรื่องเสียงและฝุ่นละออง และการคืนพื้นที่ผิวจราจรจากการก่อสร้าง เป็นต้น

  1. คณะอนุกรรมการด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร

1) ให้มีการนำเทคโนโลยีบัตรโดยสารในรูปแบบ EMV (Europay Mastercard Visa) มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นผลดีช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายบัตร

2) ให้พิจารณาการลดค่าแรกเข้าการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่ซ้ำซ้อน โดยให้พิจารณาบนพื้นฐานตามเงื่อนไขของสัญญา และผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

3) ให้พิจารณาการจัดทำรูปแบบอัตราค่าโดยสารแบบแพคเกจ ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่เชื่อมต่อตามแนวเส้นทาง

  1. คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ

1) เห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่น แผนการเปิดให้บริการ แนวทางการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบอื่นๆ โดยประชาสัมพันธ์ให้กระชับสม่ำเสมอ และเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เป็นต้น 

2) ให้คอยตรวจสอบข่าวเท็จที่คลาดเคลื่อนต่างๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ และชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว

  1. คณะอนุกรรมการด้านการเตรียมการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการให้ประสานคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการทั้ง 2 สาย โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ ขอให้คณะอนุกรรมการทุกคณะถอดบทเรียนการดำเนินโครงการสายสีแดงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการสายสีชมพูและสายสีเหลือง รวมถึงจัดทำ action plan พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อนุทิน” นำทีม “ภูมิใจไทย” ยื่นกฎหมาย คงไว้ซึ่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านแล้ว ชี้ ช่วยเหลือชาวบ้าน ลงลึกถึงพื้นที่ห่างไกล เผย คุยฝ่ายค้าน-รัฐบาลแล้ว หวังได้รับเสียงหนุน เพราะทำเพื่อประชาชน .

30 ตุลาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

“โสภณ” นำ สส.ภท. ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ วอน รัฐ เร่งดำเนินการบรรจุร่างให้เร็วที่สุด ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของชาติ ยื่นต่อ "วันนอร์" ประธานสภา

วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทยได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... เพื่อปฎิวัติการศึกษา ตามนโยบายพรรคภูมิใจไทย ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ที่คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้

'ภูมิใจไทย' ย้ำจุดยืน 4 ข้อ ดันร่างพรบ.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เตรียมผลักดันร่างพ.ร.บ.เอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์

'อนุทิน' ยืนยัน สส.ภูมิใจไทย ไม่เห็นด้วยนิรโทษกรรมล้างผิดคดี 112

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงมติที่ประชุมพรรคภูมิใจไทยเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 67

'อนุทิน' เผยเห็นต่าง ผลศึกษานิรโทษกรรมคดี 112 ไม่ใช่เรื่องขัดแย้งพรรคร่วมรัฐบาล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงทิศทางของพรรคในการโหวตรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยตอกย้ำนิรโทษกรรมต้องไม่มี 'คดีโกง-มาตรา112'

'อนุทิน' ย้ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องไร้ ม.112 -ทุจริต เปิดช่องผิดเคลื่อนไหวการเมืองคุยกันได้ ยันพร้อมถกหากมีความชัดเจน