สสส. หนุน งานวิชาการ ชี้ ประโยชน์-โทษกัญชา ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้าน ผอ.ศศก. ขอความร่วมมือ ครู-ผู้ปกครอง ทำความเข้าใจเด็ก-เยาวชน ป้องกัน “กัญชา” กระทบสมอง IQ – EQ ลดลง

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับหลายภาคีเครือข่าย และนักวิชาการ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทางวิชาการทั้งประโยชน์ และการป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม   การสร้างการรับรู้และความตระหนักแก่สังคมในการใช้กัญชายอย่างถูกวิธีให้เกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยไม่ใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม มุ่งสู่การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน   ตลอดจนการสนับสนุนให้มีกลไกภาคประชาสังคมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสม ผ่านเครือข่ายเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  5 ภูมิภาค ครอบคลุม 44  จังหวัด 1,527 ชุมชน

รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) กล่าวว่า การปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5  ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ทำให้ส่วนต่างๆ ของกัญชา ได้แก่ ใบ ช่อดอก เปลือก ราก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ทุกรูปแบบ ไม่มีสถานะเป็นยาเสพติด ยกเว้นสาร THC (Tetrahydrocannabinol)  ที่เกิน 0.2% ยังเป็นสารเสพติด เพราะมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากไม่ควบคุม ทำให้คนอยากใช้มากขึ้น ซึ่งในทางการแพทย์หากไม่ได้รับคำแนะจากผู้เชี่ยวชาญ การใช้กัญชาเองถือว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต สุขภาพ งาน และการขับขี่ยานพาหนะ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมให้รัดกุมในอนาคต โดยเฉพาะควบคุม “การสูบ” เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกคนในสังคม

รศ.พญ.รัศมน กล่าวต่อว่า เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี คือกลุ่มเสี่ยงหลังปลดล็อกกัญชา เพราะเป็นวัยอยากรู้ อยากลอง แนะนำให้ครูในโรงเรียนและผู้ปกครอง ทำความเข้าใจผลกระทบของกัญชา เช่น รับฟัง เปิดใจ ไม่ใช้อารมณ์ คุยกันอย่างซื่อสัตย์ จริงใจโดยไม่ใช้อารมณ์หรือทำให้หวาดกลัว เพราะจะทำให้เด็กและเยาวชนยิ่งอยากทดลองใช้ และควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากกัญชา เช่น อาหาร ขนม เครื่องดื่ม รวมถึงการใช้ด้วยวิธีการสูบ เพราะกัญชาส่งผลกระทบต่อสมอง โดยงานวิจัยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่ากัญชาทำให้ความสามารถทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) nv เยาวชนา พบว่ากัื่องนี้ของเด็กและเยาวชนต่ำลง ซึ่งจะนำมาซึ่งผลกระทบ ดังนี้ 1.ผลกระทบระยะสั้น มึนเมา หากมีภาวะเป็นพิษเฉียบพลันจะเกิดอาการ หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตต่ำหรือสูงเกินไป ปาก-คอแห้ง ตาแดง หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน และเห็นภาพหลอน 2.ผลกระทบระยะยาว หากใช้กัญชา 2-3 ปีขึ้นไป จะเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคจิตเภท สมาธิสั้น ความคิด ความจำแย่ลง อ่อนล้า และเพลีย ทำให้ผู้ปกครองต้องดูแลเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ เพราะจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่าสาร THC ส่งผลกระทบต่อสมอง หากไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.ภูมิใจไทย ซัดนโยบายกัญชากลับเป็นยาเสพติด ไม่เป็นผลดีต่อการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน

นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีนโยบายกัญชาของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสินว่า ตนไม่เห็นด้วยกับ

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

ชี้ กฎหมายกัญชา ฉบับใหม่ล็อกสเป็กเอื้อนายทุนโรงพยาบาล เปิดชื่อคนดังมีเอี่ยวเพียบ

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยว่า ร่างประกาศ

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1