ตำบลลำไทรโยง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นตำบลหนึ่งที่มีความเข้มแข็ง นอกจากชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาชุมชน และประกอบอาชีพต่างๆ ในลักษณะวิสาหกิจชุมชนอีกเกือบ 20 กลุ่ม เช่น กลุ่มทำปุ๋ยหมัก ธนาคารข้าว นาแปลงใหญ่ ประมง กลุ่มเลี้ยงวัว-ควาย ร้านค้าชุมชน กลุ่มทำน้ำพริกแกง ทำไม้กวาด เพาะเห็ด เลี้ยงไก่พื้นบ้าน ฯลฯ เป็นการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกัน เช่น กลุ่มเลี้ยงวัว-ควาย มีสมาชิก 114 ราย
สมบูรณ์ จีนประสพ กำนันตำบลลำไทรโยง บอกว่า ในตำบลมี 14 หมู่บ้าน ประชากรเกือบ 6,000 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา สมัยก่อนจะเลี้ยงควายเพื่อช่วยไถนา แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปใช้ควายเหล็กกันหมดแล้ว เพราะสะดวกและเร็วกว่า ทุกวันนี้จึงเลี้ยงวัวควายเป็นอาชีพเสริม ส่วนใหญ่จะเลี้ยงวัวเนื้อ เพราะเลี้ยงง่ายกว่าควาย เป็นวัวพันธุ์พื้นบ้าน และพันธ์ผสมอเมริกาบราห์มัน
ราคาขายก็แล้วแต่อายุและความสมบูรณ์ของวัวแต่ละตัว พ่อค้าจะมารับซื้อไปส่งโรงงานชำแหละ บางคนซื้อเอาไปขุนก่อนขายต่อ วัวอายุ 1 ปีขึ้นไป ราคาประมาณ 25,000-30,000 บาท ตัวที่โตและสมบูรณ์ไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 บาท
สมบูรณ์ จีนประสพ กำนันนักพัฒนา
กำนันบอกว่า ในตำบลมีชาวบ้านที่เลี้ยงวัวทั้งหมดราว 300 ครอบครัว มีวัวรวมกันประมาณ 2,300 ตัว ครอบครัวหนึ่งจะเลี้ยงเฉลี่ย 3 ตัว บางครอบครัวเลี้ยง 8-10 ตัว ที่เลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ 20-30 ตัวก็มี แต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างเลี้ยง ไม่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกัน และส่งเสริมการเลี้ยงวัวให้มีคุณภาพ
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมจึงตั้งกลุ่มเลี้ยงวัว-ควายขึ้นมา เพื่อกลุ่มจะได้เข้มแข็ง ช่วยเหลือกัน ต่อรองราคาซื้ออาหาร และราคาขายวัวกับพ่อค้าได้ ตอนนี้มีสมาชิก 114 ราย มีวัวรวมกันประมาณ 400 ตัว ที่ผ่านมากลุ่มได้จัดอบรมสมาชิกให้มีความรู้เรื่องการผสมเทียมวัว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด ส่งเสริมให้ปลูกหญ้าเป็นอาหารให้วัว วัวจะได้มีคุณภาพ ขายได้ราคา เวลาครอบครัวมีความจำเป็นก็ขาย ถ้ายังไม่ขายก็เลี้ยงเอาไว้ เมื่อตกลูกออกมาก็จะมีวัวเพิ่มขึ้นอีก” กำนันสมบูรณ์บอก
วัวเป็นทรัพย์สินในครัวเรือน หากครอบครัวหนึ่งเลี้ยง 3 ตัวก็มีเงินแสน
ในปี 2565 นี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ได้สนับสนุนโครงการ ‘การพัฒนาสายพันธุ์โค-กระบือ ตำบลลำไทรโยง’ ที่เสนอโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลลำไทรโยง (กำนันสมบูรณ์เป็นประธานสภาองค์กรชุมชนฯ) งบประมาณ 80,000 บาท ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทของ พอช. เพื่อพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง พัฒนาอาชีพเลี้ยงวัวให้มีคุณภาพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก
เช่น หากผสมเทียมวัว จะมีค่าจ้างตัวละ 2,500-3,000 บาท แต่ถ้ากลุ่มผสมเทียมให้จะคิดราคาเพียง 1,000 บาท นอกจากนี้กลุ่มยังรับซื้อมูลวัวแห้งจากสมาชิก เพื่อนำมาขายทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปใส่ในไร่นา ใส่แปลงปลูกผัก ราคารับซื้อ 3 ถุง 100 บาท (1 ถุงประมาณ 20 กิโลกรัม) ฯลฯ รายได้จากการผสมเทียมและขายมูลวัว 50 % จะแบ่งเข้ากลุ่มเพื่อนำไปบริหารจัดการ
กำนันบอกว่า มูลวัวยังเอาไปใช้เลี้ยงปลาได้ด้วย โดยในตำบลมีปลาที่เลี้ยงรวมกันใน ‘หนองตะลุมปุ๊ก’ เนื้อที่หลายไร่ มีปลานิล ปลาจีน ยี่สก ฯลฯ จะเอาฟางก้อนและมูลวัวใส่ลงในหนองน้ำ ไรแดงที่มีอยู่ในหนองตามธรรมชาติก็จะกินฟางและมูลวัวเป็นอาหารและขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นเป็นอาหารปลา
“ประมาณ 2-3 ปีเมื่อปลาโตได้ขนาด เราก็จะเปิดให้มีการหว่านแหจับปลาในหนอง คราวที่แล้วเก็บค่าจับปลาได้เงินประมาณ 140,000 บาท เงินที่ได้ก็เอามาซื้อพันธุ์ปลาเพื่อมาเลี้ยงใหม่ และเอาไปพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไปจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเอาปลามาแปรรูปขาย เช่น ปลาส้ม ปลาร้า” กำนันนักพัฒนาบอก
ปัน เทพเนาว์
ปัน เทพเนาว์ สมาชิกกลุ่มเลี้ยงวัว บอกว่า ครอบครัวของเขาทำนาเป็นหลัก มีที่นา 24 ไร่ ได้ข้าวเปลือกประมาณไร่ละ 800 กิโลฯ เหลือกินเหลือขายทุกปี และเลี้ยงวัวเป็นอาชีพรอง โดยเลี้ยงวัวในคอกเดียวกันรวมกับเพื่อนบ้านอีก 6 คน เพื่อความสะดวกในการดูแล มีวัวรวมกัน 35 ตัว มีทั้งวัวพื้นบ้านและพันธุ์ผสมบราห์มัน
นอกจากนี้เขายังเป็นอาสาสมัครของกลุ่ม ทำหน้าที่ผสมเทียมและฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้วัว ราคาวัวที่เคยขายไปตัวละ 40,000-50,000 บาท คอกนี้ถ้าขายรวมกันประมาณ 1 ล้านบาท แต่จะขายเมื่อมีความจำเป็น
“สมาชิกที่เลี้ยงวัวด้วยกันจะช่วยกันปลูกหญ้าเนเปียร์และหญ้ารูซี่เอามาให้วัวกิน เพราะมีประโยชน์มากกว่าหญ้าที่ขึ้นอยู่ทั่วไป และต้องให้อาหารเสริมวันละมื้อวัวจะได้โต มีน้ำหนักดี ช่วงเช้าจะปล่อยวัวออกไปหากินหญ้าในทุ่ง ตอนเย็นก็ต้อนเข้าคอก พอเกี่ยวข้าวแล้วก็จะเอาฟางมาอัดเป็นก้อน เก็บไว้ให้วัวกินในช่วงหน้าแล้ง ขี้วัวก็เอามาทำปุ๋ย และตากแห้งใส่ถุงขาย ปีที่แล้วขายขี้วัวได้ประมาณ 16,000 บาทเอามาแบ่งกัน” ปันบอกถึงผลพลอยได้จากการทำนาและเลี้ยงวัว
นี่คือวิถีชีวิตที่เกื้อกูลสัมพันธ์กัน จากตำบลที่เคยแห้งแล้ง ทำนาไม่พอกิน หนุ่มสาวต้องไปขายแรงงานในเมือง วันนี้พวกเขาช่วยกันพลิกฟื้นผืนดิน ดูแลป่า สร้างแหล่งอาหาร สร้างอาชีพ มีวัวควายไร่นาเป็นหลักประกัน...สร้างความมั่นคงให้กับคนลำไทรโยง !!
ฟางเป็นผลพลอยได้จากการทำนา ส่วนมูลวัวนำมาทำปุ๋ยหรือขายได้อีก
เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซีพี ออลล์ หารือ พอช. ขับเคลื่อน 4 project ใหญ่ เสริมศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนไทย
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. หารือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมหารือความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ คุณชลิกา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ซีพี ออลล์ ณ ห้องประชุมชั้น3 Joy of Life (สีลม ซอย 3)
หนุ่มเมาเต็มคราบ จุดไฟเผา จยย.ตำรวจวอดทั้งคัน หวิดลามไหม้ป้อม
ชายวัย 48 เมาหนักขี่ จยย.พ่วงข้างผ่านถนน 24 โชคชัย-เดชอุดม ถึงร้านสะดวกซื้อข้างทาง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ลงไปซื้อของเดินกลับมาจำที่จอดรถไม่ได้ คิดว่า ตร.ที่เข้าเวรอยู่จุดบริการ ปชช.ตู้ยามตำบลหนองโบสถ์ยึดรถไป ท้าต่อยจุดไฟเผา
'บุรีรัมย์'เปิดตัว'ฉัตรชัย บุตรพรม' มือกาววัยเก๋า เสริมทัพใหญล่าแชมป์ทุกรายการ
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บรรลุข้อตกลงคว้าตัว “บอย” ฉัตรชัย บุตรพรม ผู้รักษาประตูมือดี อดีตทีมชาติไทย ร่วมทัพอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ในการหมุนเวียนการเล่นของทีมที่มีโปรแกรมการแข่งขันหลายรายการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
พอช.: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
หนุ่มใหญ่วัย 53 ยิงเพื่อนบ้านดับ ขณะกินเลี้ยงปีใหม่ รับเจอหน้าทะเลาะกันประจำ
คืบหน้า ตำรวจ สภ.ถาวร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ คุมตัวหนุ่มใหญ่วัย 53 ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
'อนุทิน' ควง 'เนวิน' ทำพิธียกยอดฉัตร วงเวียนรัชกาลที่ 1 เสริมมงคลรับปีใหม่
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นประธานในพิธียกยอดฉัตรตามโครงการปิดทองเบิกฟ้า สักการบูชา มหาราช รัชกาลที่ 1 ที่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่ 1)