กทม. จับมือ DAD ทุ่มงบกว่า 45 ล้านบาท จ่ายให้การรถไฟฯ เพื่อแก้ปัญหาจราจรบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

กรุงเทพมหานคร บูรณาการความร่วมมือกับ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development ผู้บริหารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จัดเตรียมงบประมาณกว่า 45 ล้านบาท ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางเชื่อมทางข้ามทางรถไฟจากถนนวิภาวดีรังสิตขาออกเข้าสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ (ถนนหมายเลข 8) พร้อมเร่งเดินหน้าโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กับถนนประชาชื่น (ถนนหมายเลข 10) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ พร้อมทั้งยังรองรับพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี และศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (DAD) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบให้ปรับปรุง
เส้นทางเข้าออกศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จากถนนแจ้งวัฒนะซอย 9 เข้าสู่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ และเส้นทางเชื่อมทางข้ามทางรถไฟจากถนนวิภาวดีรังสิตเข้าสู่
ถนนเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ (ถนนหมายเลข 8) กับถนนกำแพงเพชร 6 โดย DAD ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนตัดผ่านเสมอระดับทางรถไฟ ระหว่างสถานีบางเขน-หลักสี่ บริเวณจุดตัดทางข้ามจากถนนหมายเลข 8 ไปยังถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเพิ่มเส้นทางการเข้าออก การระบายรถในชั่วโมงเร่งด่วน และการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ โดยใช้งบประมาณรวมกว่า 45 ล้านบาท เพื่อชำระค่าใช้จ่ายให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็นงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 23,790,395 บาท ดังนี้ 1. ค่าจัดหาและติดตั้งเครื่องกั้นถนนชนิดคานทำงานด้วยไฟฟ้า มีพนักงานควบคุม และ 2. ค่าก่อสร้างค่าทางผ่านเสมอระดับชนิดแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปและค่าควบคุมงาน ส่วน DAD ได้จัดเตรียมงบประมาณ จำนวน 21,588,126 บาท ดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดพนักงานของการรถไฟฯ ทำหน้าที่ควบคุมการปิดกั้นถนน 3 คน 2. ค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกั้นถนน (ระยะเวลา 5 ปี) 3. ค่าปรับปรุงระบบ CTC เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ 4. ค่าก่อสร้างบ้านพัก และซุ้มพนักงานควบคุมเครื่องกั้นถนนฯ และค่าควบคุมงาน 5. ค่าซ่อมบำรุงรักษาทางผ่าน (ระยะเวลา 5 ปี) และ 6. ค่าธรรมเนียมในการจัดทำสัญญา

นอกจากนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มณฑลทหารบกที่ 11 การประปานครหลวง กรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์ และ DAD รวม 6 หน่วยงาน ได้บูรณาการความร่วมมือดำเนินโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กับถนนประชาชื่น (ถนนหมายเลข 10) เพื่อเป็นการรองรับการจราจรของโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซน C และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่วนขยาย ขนาด 400 เตียง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกเส้นทางเข้าออกด้านทิศตะวันตกของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ โดยกรุงเทพมหานครได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กับถนนประชาชื่น (ถนนหมายเลข 10) ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 1,300 เมตร วงเงินงบประมาณ 320 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2566

ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวต่อว่า “DAD มุ่งมั่นอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบริหารจัดการการจราจรภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ และพื้นที่โดยรอบให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ให้ได้รับความพึงพอใจอย่างเต็มความสามารถ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด