ขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” มุ่งเสริมทักษะเด็กสปป.ลาว

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นPM2.5ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ประสบปัญหาฝุ่นPM2.5สูงสุดเป็นเวลากว่า10ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งในปี2563สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้จับมือร่วมกับภาคีเครือข่ายสู้ฝุ่นภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรม "ห้องเรียนสู้ฝุ่น"  ส่งผลให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนกว่า100แห่งทั่วประเทศไทย สามารถรับมือกับผลกระทบจากฝุ่นPM2.5 และสามารถส่งต่อความรู้สู่คนในชุมชนรอบข้างได้  นับเป็นตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งและสร้างความตื่นรู้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้จาการศึกษาปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ทำให้พบว่าจุดความร้อน(hotspot)เชียงใหม่ในปี2560-2564 มีจำนวนสูงขึ้นในเดือนมี.ค.ของทุกปี จากดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ(NASA) โดยพบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10 และPM2.5) ใน 5อำเภอเป็นประจำทุกปีได้แก่  อ.แม่แจ่ม อ.เชียงดาว อ.ฮอด อ.อมก๋อย อ.แมแตง

หากพิจารณาเป็นรายตำบล เกิดจุดความร้อนประจำทุกปี ต.เมืองนะ ต.แม่นาจร ต.บ้านทับ ต.แม่ศึก ต.ปึงโค้ง จึงเป็นพื้นที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเกิดความคิดในการสร้างห้องเรียนสู้ฝุ่นจำนวน10โรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการรับมือด้านสุขภาวะแก่เด็กและเยาวชนในภาวะฝุ่นที่วิกฤตนี้อย่างปลอดภัย

ล่าสุด เพื่อขยายผล "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" ..สสส.ได้ร่วมกับ สภาลมหายใจเชียงใหม่ เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดและขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมแนวคิด “ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น จังหวัดเชียงใหม่” มุ่งขับเคลื่อนงานลดมลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ครอบคลุมทั้ง 19 ชุมชน ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 

นายศรีสุวรรณ ควรขจร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาชุมชน สสส. กล่าวว่า การจัดงาน MOU ครั้งนี้ มีเป้าขยายผลไปสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในปี2566 มุ่งส่งต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเผาในที่โล่งสาเหตุหลักสำคัญในการเกิดฝุ่นควัน PM 2.5

“ผมทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาค่อนชีวิต ไม่คาดคิดว่ามลพิษจะเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย พื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเคลื่อนย้ายประชากรขยายตัวของเมืองอุตสาหกรรม ประเทศเพื่อนบ้านทำให้ปัญหาขยายตัวอย่างคาดไม่ถึง นับวันก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว

“ปี 2565 นี้ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายสู้ฝุ่นภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมแนวคิด ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบแนวทางการลดฝุ่นที่สามารถทำได้ง่าย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับประเทศไทยในการที่มีกลุ่มนักวิชาการที่อุทิศตนอย่างมุ่งมั่น ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมจากประชาชน ที่ปรับเปลี่ยนการประกอบธุรกิจ อาคาร สถานที่ บริการ และกิจกรรมการใช้ชีวิต โดยมีจุดร่วมคือ ทุกคนมีความรักในเมืองเชียงใหม่ ด้วยหัวใจของการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนเมือง ตามแนวคิดการปรับบ้านในพื้นที่เมืองเพื่อเป้าหมายการบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นควัน มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาฝุ่นในพื้นที่เมืองเชียงใหม่จนนำไปสู่การเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ได้” นายศรีสุวรรณกล่าว

ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น สสส.  อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย   เปิดเผยว่า  "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ได้รับเชิญเป็นต้นแบบการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติระดับชาติ ในการประชุมป่าไม้โลก ประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงองค์การนาซ่า นำไปเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องของการติดตามการเกิดไฟ(Blue School) ถือเป็นความสำเร็จในเวทีระดับโลก เพื่อนำเสนอว่าคนไทยได้ทำอะไรบ้างในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ เป็นงานที่สสส.ให้ทุนกับมหาวิทยาลัยและได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานห้องเรียนสู้ฝุ่นซึ่งจัดทำให้เด็ก เยาวชนตระหนักรู้เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน ระดับนโยบาย เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆออกแบบสำหรับเด็กประถมปีที่4, 5 , 6 ขยายผลถึงเด็กระดับอนุบาล มัธยม

แต่เดิมคนส่วนใหญ่คิดกันว่าฝุ่นพีเอ็ม2.5เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่เรื่องนี้ใกล้ตัวมากเพราะเกิดขึ้นทุกปี จึงคัดเลือกโรงเรียนเพื่อปักหมุดความคิดเรื่องสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังในอนาคต มิฉะนั้นเด็กในวันนี้จะกลายเป็นผู้ป่วย เราต้องร่วมมือกันเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต แก้ไขปัญหาวิกฤตให้เกิดความปลอดภัยได้ รวมทั้งการขยายผลไปยังสปป.ลาว อุดรธานี ขอนแก่น ช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ไปยังพื้นที่เสี่ยง มีองค์กรระหว่างประเทศขยายผล องค์การNASAจับมือไทยทำเรื่องนวัตกรรมจัดงานประกวดระดับโลก สสส.สนับสนุนการนำเสนอบนเวทีระดับโลก เมืองไทยนำเสนอเรื่องBlue School ทำงานเรื่องกระบวนการสู้ฝุ่น

“การทำงานของไทยร่วมกับNASAสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก(WHO)แจงตัวเลขว่าปีหนึ่งๆประชากรโลกเสียชีวิต7ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนที่มาจากประเทศยากจนที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นกลุ่มที่เผามลพิษ ประเทศไทยก็ติดอันดับกลุ่มนี้ที่เสียชีวิต มีงานวิจัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนเชียงใหม่มีอายุสั้นกว่าปกติเพราะเป็นมะเร็งปอดสูงสุด เพราะเมื่อสูดดมฝุ่นP.M2.5ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้จะสะสมอยู่ในกระแสเลือด และไม่มีวิธีกำจัดออกไปได้ การให้ความรู้กับเด็ก เยาวชนเป็นเรื่องที่ดีเพราะเด็กจะนำความรู้ที่ซึมซับไปถ่ายทอดต่อให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองว่าการเผาป่าส่งผลเสียทางนิเวศ ใช้เสียงเด็กเป็นพลัง แต่อย่างไรก็ตามคนที่มีอาชีพเกษตรกรทำไร่เลื่อนลอยรู้ว่าการเผาป่าใช้ต้นทุนต่ำ เป็นการทำลายที่ง่ายที่สุด ขณะนี้ภาคีเครือข่าย หอการค้าที่ทำCSRเปลี่ยนอาชีพให้เกษตรกรเหล่านี้เลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”

การจัดงาน MOU ครั้งนี้ มีเป้าหมายขยายผลห้องเรียนสู้ฝุ่นไปสู่กลุ่มลุ่มน้ำโขง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในปี 2566 มุ่งส่งต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเผาในที่โล่งเพื่อลดต้นเหตุสำคัญในการเกิดฝุ่นควันPM2.5 ทั้งนี้นายทุนสนับสนุนกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยการทำไร่เลื่อนลอย มีการเผาป่าและย้ายถิ่นไปเรื่อยๆส่งผลให้ฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในเมืองไทย

 

PM Rangers ซูเปอร์ฮีโร่สู้ฝุ่น

"เด็กคิด..ผู้ใหญ่หนุน" เพื่อสุขภาวะ

 

ในโอกาสการลงนามในเอ็มโอยูนี้ มีการมอบรางวัลแก่เด็กที่ชนะเลิศการขับเคลื่อนกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่น

ด.ช.กาก้า-ปองคุณ จี้ขาว  ด.ช.สไปร์ท -คฑาเทพ จินเหมย ด.ญ.ต้นข้าว-จิรัชญา ตาแก้ว  ด.ญ.ไบร์ท-ภิญญาพัชญ์ วังวงค์  ด.ญ.ฟ้าใส-ฟ้าใส ยังน้อย ทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่5 ร.ร.บ้านแม่เทย  ลำพูน ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วยแนวคิดการแต่งเพลงหมอกหรือควันของเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินค่ายแกรมมี่ มาดัดแปลงเนื้อร้องเป็นเพลงฝุ่นหรือควัน  เพื่อรณรงค์ในการสู้ฝุ่นPM2.5 พร้อมกับการสวมหมวกสีต่างๆเป็นการบ่งบอกคุณภาพอากาศของแต่ละวัน นั่นคือ

               หมวกสีฟ้า PM2.5  0-25 อากาศดีมาก ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

               หมวกสีเขียว PM2.5  26-37 อากาศดี ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

               หมวกสีเหลือง PM2.5   38-50 อากาศปานกลาง  ทำกิจกรรมปกติ ผู้ป่วยลดการออกกลางแจ้ง

               หมวกสีส้ม PM2.5   51-90 มีผลต่อสุขภาพ งดกิจกรรมกลางแจ้ง สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น

               หมวกสีแดง PM2.5  91ขึ้นไป อันตราย งดกิจกรรมกลางแจ้ง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่น

ขบวนการหมวกสีสุขภาพ PM Rangers การขับเคลื่อนกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่น สร้างActive Citizen  เพื่อให้ผู้ปกครอง คนในพื้นที่ตระหนักปัญหาและสร้างจิตสำนึกในการป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย การจัดการการเรียนการสอนและบูรณาการความรู้เกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ รู้จักการใช้ชีวิตประจำวัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ  ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน วางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน

การสวมหมวกสีเป็นกระบวนการSuperhero ถือเป็นSoft Powerfดึงดูดให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่นของโรงเรียน การสวมหมวกสีทำให้สังเกตได้ง่าย และนำติดตัวไปได้ทุกที่ ใช้เป็นสีสัญลักษณ์เตือนสภาพอากาศ ให้คนที่พบเห็นป้องกันตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ยังร่วมมือกับทีมงานฝ่ายปฏิบัติการด้านไฟป่าและหมอกควัน กระทรวงทรัพยากรฯ ช่วยกันสาธิตดับไฟป่าที่จะทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

นอกจากนี้ด.ญ.อรัญญา แก้วคำปัน นักเรียนชั้นม.3 ร.ร.บ้านแม่เทย ลำพูน ด.ญ.กชพร แซ่ล้อ นักเรียนชั้นม.1ร.ร.บ้านแม่เทย ลำพูนได้รับรางวัลชนะเลิศภาพวาดตระหนักปัญหาลดมลพิษ ด้วยแรงบันดาลใจให้สังคมมีอากาศที่ดี ส่วนรางวัลที่2และรางวัลที่3 เป็นนักเรียนจากภาคใต้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

'เบทาโกร' สยายปีกทุ่ม 650 ล้านบาท เปิดตัวโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกใน สปป.ลาว

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ “BTG” เปิดตัวโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกใน สปป.ลาว ภายใต้งบลงทุนกว่า 650 ล้านบาท นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์และบริหารทรัพยากร ด้วยกำลังการผลิต 108,000 ตันต่อปี มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ รองรับดีมานด์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน