พอช.-ภาคีเครือข่ายจัดงาน ‘ชุมชนท้องถิ่นร่วมใจแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย’ ซ่อมสร้างบ้านเรือนใน จ.แพร่ที่โดนพายุถล่ม 5 อำเภอ 20 หลัง

มอบบ้านที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติหลังแรกให้ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง  จ.แพร่

จ.แพร่ / สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ‘พอช.’ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย-ความยากจน  สนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์พายุฝนถล่มแพร่ในพื้นที่ 5 อำเภอ  รวม 20 หลัง  งบประมาณรวม 360,000 บาท

วันนี้ ( 12 มิถุนายน)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ (พมจ.แพร่) สำนักงานภาคเหนือ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดแพร่  มูลนิธิแพร่น้ำใจ  เครือข่ายคนฮักแพร่  และเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  ได้จัดงาน ‘ท้องถิ่นร่วมมือ  ชุมชนร่วมใจ  พัฒนาที่อยู่อาศัย  แก้ไขปัญหาความยากจน’ ที่บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ  เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง  อ.เมือง  จ.แพร่ 

เพื่อมอบบ้านที่ซ่อมสร้างให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ลมพายุและฝนพัดกระหน่ำเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  โดยมีนางศิริวรรณ  ปราศจากศัตรู  สส.บัญชีรายชื่อ จังหวัดแพร่  พรรคประชาธิปัตย์  เป็นประธานในการมอบบ้านหลังแรกให้แก่ครอบครัวนายเฉลิมวุฒิ  ผายาว  มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ  และประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 100 คน

นายวิชัย  นะสุวรรณโน  ผู้อำนวยการ  สำนักงานภาคเหนือ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’  กล่าวว่า  กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และ พอช. มีแผนงานพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยระยะ 20 ปี  คือตั้งแต่ปี 2560-2579  ตามนโยบายของรัฐบาล  มีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยทุกครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายในปี 2579  โดย พอช.จะใช้เรื่องบ้านนำไปสู่การทำงานพัฒนาทุกมิติ  โดยให้ชุมชนเป็นแกนหลัก  ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

โดยที่ผ่านมา  พอช.ทำงานเรื่องบ้าน  5  เรื่อง  คือ 1.บ้านมั่นคงเมือง  2.บ้านมั่นคงชนบท  3.บ้านพอเพียง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือนที่มีฐานะยากจน  สภาพทรุดโทรม  4.บ้านมั่นคงริมคลองในกรุงเทพฯ  และ 5.ที่อยู่อาศัยชั่วคราว  เช่น  กรณี  ไฟไหม้  ภัยพิบัติ  เช่นที่จังหวัดแพร่  โดยในปีนี้ พอช.สนับสนุนเรื่องบ้านพอเพียงในจังหวัดแพร่  รวม 65 หลัง  และเรื่องบ้านเรือนที่ประสบภัยพิบัติอีก 20 หลัง  ซึ่งรวมทั้งบ้านที่มีการมอบในวันนี้ด้วย

“การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจะสำเร็จได้  1.จะต้องมีข้อมูลและแผนงานที่ชัดเจน  โดยการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อน  และนำข้อมูลมาวางแผนการแก้ไขปัญหาระยะ 3 ปี  หรือ  5 ปี  2.ต้องมีกลไกเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน  เช่น  ในขณะนี้มีการจัดตั้ง ‘คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย’ ขึ้นมาในจังหวัดภาคเหนือ  โดยมี พอช.และ พมจ.ร่วมเป็นคณะทำงาน  และ 3.จะต้องมีการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน  ทั้งภาครัฐ  เอกชน  ชุมชน  และมูลนิธิต่างๆ   และที่สำคัญต้องมีทรัพยากรหรืองบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินงาน  การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยจึงจะประสบความสำเร็จ”  ผอ.สำนักงานภาคเหนือ  พอช.ยกตัวอย่าง

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา  ช่วงเวลาประมาณ 18.00-20.00 น. ได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองพัดถล่มหลายพื้นที่ในจังหวัดแพร่  มีลูกเห็บตก  และน้ำท่วมฉับพลัน  ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ในพื้นที่  5 อำเภอ  12 ตำบล  รวม 20 หลัง   ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อย  ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด - 19 บางครอบครัวตกงาน  มีรายได้ลดลง  สภาพครอบครัวยากจน  บางหลังคาเรือนมีผู้พิการ  ผู้สูงอายุ  ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรมไม่มั่นคงแข็งแรง  อย่างไรก็ตาม  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนไปแล้ว

ขณะเดียวกันสำนักงานภาคเหนือ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย  ผู้นำท้องถิ่น  และฝ่ายปกครอง  สำรวจข้อมูลความเสียหายบ้านเรือนประชาชน  และได้จัดทำ ‘โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยธรรมชาติ จังหวัดแพร่ ขึ้นมา  เพื่อสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนของประชาชนตามโครงการบ้านมั่นคง  กรณีภัยพิบัติ  งบประมาณสนับสนุนไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท  รวมงบประมาณทั้งหมด 360,000 บาท  โดยมีช่างชุมชน  ช่างจิตอาสา  และนักศึกษาในจังหวัดแพร่มาร่วมกันซ่อมสร้างบ้าน  ช่วยให้ประหยัดงบประมาณและซ่อมสร้างบ้านได้เร็ว

ช่างชุมชนช่วยซ่อมบ้านนักศึกษาช่วยซ่อมบ้าน

ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายในจังหวัดแพร่  รวม  5 อำเภอ 12 ตำบล 20 หลัง  ประกอบด้วย  ตำบลปงป่าหวาย  อ.เด่นชัย 5 หลัง  ตำบลนาจักร   อ.เมือง 2 หลัง  ตำบลทุ่งโฮ้ง อ.เมือง  1 หลัง  ตำบลบ้านถิ่น อ.เมือง  2 หลัง  ตำบลแม่ยม อ.เมือง  1 หลัง  ตำบลแม่คำมี  อ.เมือง  1 หลัง  ตำบลหนองม่วงไข่  อ.หนองม่วงไข่ 1 หลัง  ตำบลน้ำเลา  อ.ร้องกวาง  1 หลัง  ตำบลแม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง 1 หลัง  ตำบลร้องกวาง อ.ร้องกวาง  2 หลัง  ตำบลทุ่งน้าว อ.สอง 1 หลัง  และตำบลห้วยหม้าย  อ.สอง  2 หลัง

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพี ออลล์ หารือ พอช. ขับเคลื่อน 4 project ใหญ่ เสริมศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนไทย

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. หารือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมหารือความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ คุณชลิกา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ซีพี ออลล์ ณ ห้องประชุมชั้น3 Joy of Life (สีลม ซอย 3)

พอช.: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!

เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์

ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน

ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต