กบร. รับร่าง Roadmap แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568 และร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ

ที่ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ครั้งที่ 4/2565 นำโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการบินพลเรือน ร่วมกับกรรมการในที่ประชุมมีมติรับร่าง Roadmap แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568 และร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างมากต่อการช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน และเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

แผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินของของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี โดยในปี 2563 มีผู้โดยสารลดลงจากปี 2562 ถึงร้อยละ 64.7 และปริมาณเที่ยวบินทั้งหมดลดลงร้อยละ 53.1 ต่อเนื่องปี 2564 มีจำนวนผู้โดยสารลดลงจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 64.1 และปริมาณเที่ยวบินทั้งหมดลดลงร้อยละ 48.5 ส่งผลให้การจ้างงานในอุตสาหกรรมการบินลดลงร้อยละ 20.88 และรายรับในการประกอบการการบินลดลงมากถึงร้อยละ 70.96

ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการบินได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. มาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน เช่น การปรับลดค่าบริการการบินของสนามบินและบริการการเดินอากาศ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ (Credit Terms) 2. มาตรการผ่อนคลายกฎระเบียบข้อบังคับ เช่น การยกเว้นมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการขนส่งสินค้าภายในห้องโดยสาร การขยายระยะเวลาการมีผลใช้ได้ของใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ประมาณการการฟื้นตัวของผู้โดยสารซึ่งมีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่า อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและรองรับการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น CAAT ตามมติ กบร. จึงได้ศึกษาและจัดทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมและปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ปี 2565-2568

กรอบแนวคิดและแผนปฏิบัติของแผนฯ มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการบินสามารถ “อยู่รอด เข้มแข็ง และยั่งยืน” โดยอ้างอิงจาก แนวปฏิบัติด้านมาตรการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในอุตสาหกรรมการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มาตรการให้การช่วยเหลือของต่างประเทศ และแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 พ.ศ. 2564-2565 (แผน 2 ปี) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โดยในปี 2565 มีเป้าหมายระยะ Quick-win ตามมาตรการ “อยู่รอด” คือ อุตสาหกรรมการบินมีความพร้อมสำหรับการเปิดทำการบินอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2565 มีเป้าหมาย เช่น ผู้ประกอบการการบินสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงที่ยังคงมีการระบาด โดยมีกลยุทธ์ในการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวก พัฒนาความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อกระตุ้นความต้องการในการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ไปพร้อมกับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ประกอบการ เพื่อให้ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติการบิน

สำหรับปี 2566-2568 เป็นเป้าหมายระยะกลางตามมาตรการ “เข้มแข็ง และ ยั่งยืน” คือ ประเทศไทยมีความพร้อมของอุตสาหกรรมการบินที่จะรองรับการจราจรทางอากาศเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติหรือเทียบเท่ากับปี 2562 ในปี 2568 ที่มีจำนวนผู้โดยสารสูงถึง 165 ล้านคน และจำนวนเที่ยวบิน 1.07 ล้านเที่ยวบิน โดยมีเป้าหมาย เช่น สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยระบบกำกับดูแลทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเดินทางแบบ New Normal ในอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน โดยการพัฒนาสถาบันฝึกอบรมให้เป็นที่ยอมรับ รวทั้งยกระดับมาตรฐานใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ของไทยให้ทัดเทียมสากล เป็นต้น

ทั้งนี้ CAAT จะดำเนินการส่งร่างฯ ให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็น ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป

ร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ

พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การเดินอากาศฯ) ในมาตรา 15 ได้ระบุอำนาจหน้าที่ของ กบร.  ในการกำหนดนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ นโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการในภาคอุตสาหกรรมการบิน และนโยบายเกี่ยวกับการใช้ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศของประเทศไทย

ในเดือนมิถุนายน 2564 กบร. จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การขนส่งทางอากาศ (คณะอนุกรรมการ ฯ) เพื่อพิจารณากลั่นกรอง วิเคราะห์ให้ความเห็นและเสนอแนะการกำหนดนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ ดังนั้น คณะอนุกรรมการฯ โดยมีคณะทำงานจัดทำนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศเป็นผู้จัดทำร่างนโยบาย ฯ จึงได้พิจารณาร่างนโยบาย ฯ มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีมติเห็นชอบให้นำเสนอร่างนโยบาย ฯ ต่อ กบร. โดยมีรายละเอียดหลัก 3 ด้าน คือ

1. ด้านเศรษฐกิจการบิน มีเป้าหมายหลัก เช่น พัฒนาระบบบริหารนโยบายเศรษฐกิจการบินพลเรือน

ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเข้มแข็งของผู้ประกอบการการบินของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเชื่อมโยงโครงข่ายเที่ยวบินเพื่อการเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค พัฒนาให้ประชาชนเข้าถึงการบริการขนส่งทางอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม ไปพร้อมกับการพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุม เป็นต้น

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มุ่งหวังเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดสรรและจัดการห้วงอากาศอย่างทั่วถึงและคุ้มค่า พัฒนาระบบการเดินอากาศอย่างเชื่อมโยง พัฒนาให้เกิดระบบท่าอากาศยานอัจฉริยะที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนปัญญาที่สอดคล้องกับมาตรฐานและความต้องการในปัจจุบันและอนาคตรวมถึงสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เป็นต้น

3. ด้านมาตรฐานการบิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการบิน เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการบินและลดผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน รวมถึงเพื่อจัดทำแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติให้มีประสิทธิผล มีการระบุและจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่จะช่วยส่งเสริมความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบการบินของประเทศ เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ประชุม กบร. มีมติเห็นชอบร่างนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงต่อไป ถือเป็นนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่เป็นรูปธรรมฉบับแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ประธาน กบร. ได้สั่งการให้ CAAT หารือร่วมกับสนามบิน สายการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับจำนวนผู้โดยสารทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการการผ่อนคลายการเข้าประเทศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา และช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่มีความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากสถิติผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก IATA คาดการณ์ว่าภายในปี 2565 ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 22 ล้านคน และจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการด้านการบินอาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในปี 2568

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสี่ยหนูมั่นใจ! กฎหมายกัญชาเสนอเมื่อไหร่ผ่านฉลุยแน่

'อนุทิน' เชื่อการออก พ.ร.บ.คุมกัญชาฉลุย มั่นใจ 'นายกฯ - พรรคร่วม 314 เสียง' หนุน ลั่นเป็นชัยชนะประชาชน พร้อมถ่อมตัวมี 71 เสียงไม่ขอแข่งพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่บอร์ดป.ป.ส. ไม่ต้องประชุมแล้ว

“พัชรินทร์” มือทำคลอดกม.ฉีดไข่ฝ่อ ขอบคุณสภาฯ รับหลักการ แก้นิยาม “กระทำชำเรา” เพิ่มบทลงโทษการคุกคามทางเพศ

ดร.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้ผลักดัน กฎหมายป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพ

'สส.ภูมิใจไทย' รับสายแทบไม่ทัน หลังโผล่ พปชร. ยังไม่คิดย้ายพรรคเป็นเรื่องอนาคต

นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ชี้แจงภายหลังไปปรากฏตัวที่พรรคพลังประชารัฐ โดยนำกุ้งกระบี่ไปให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ว่า ยืนยันว่าไม่มีนัยยะทางการเมือง

'อนุทิน' เผย 'วัน อยู่บำรุง' มีพรรคสังกัดแล้ว ลุ้นนั่งเก้าอี้ผู้ช่วยรมต.มหาดไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง ระบุตนเป็นหนึ่งในบุคคลที่รักและเคารพว่า นายอนุทิน อุทานว่า "โอ้โห้ ผมรู้จักกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

เอาแล้ว! สส.รัฐบาลยังโวยกลางสภาไม่เอา 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอ 'ไร่ละพัน' กลับคืน

เอาแล้ว!!! สส.ฝ่ายรัฐบาล “ภท.-พท.” หารือกลางสภาฯ ออกโรงต้าน ชี้ ชาวนาร้องยี้ 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอคง 'ไร่ละพัน' ไว้เหมือนเดิม