พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดท่าเรือท่าช้าง - สาทร “SMART PIER SMART CONNECTION” โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม หัวหน้าส่วนราชการ และภาคเอกชน เข้าร่วมพิธี ในวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ณ ท่าเรือท่าช้าง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมคมนาคม บริเวณท่าเรือสาทร ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร ด้วย
พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับนานาชาติ ตลอดจนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก ปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มีแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา จท. ได้ก่อสร้าง ปรับปรุงท่าเรือท่าช้างและท่าเรือสาทรแล้วเสร็จ โดยมีระบบการให้บริการที่ทันสมัย รูปลักษณ์สวยงามเป็นอารยสถาปัตย์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางทางน้ำเป็นทางเลือกที่ดีของการเดินทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกทางหนึ่งเนื่องจากราคาถูก สามารถกำหนดระยะเวลาเดินทางได้แน่นอน บรรยากาศในการเดินทางมีความผ่อนคลาย ทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำมีความสวยงาม รวมทั้งการนำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานตามนโยบายของรัฐบาล ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ลดปริมาณการใช้น้ำมัน ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และให้การสนับสนุนแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยาให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จลุล่วงเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและส่วนรวมต่อไป
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 พร้อมทั้งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งทางบก น้ำ ราง อากาศ ให้มีความเชื่อมโยง สะดวก ปลอดภัย สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ จท. มีภารกิจในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ได้กำหนดแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2567 ที่จะพัฒนาท่าเรือ จำนวน 29 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามตามหลักอารยสถาปตย์ (Universal Design) มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริมให้มีเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อีกทั้งมีส่วนในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ให้กับประเทศ และเมื่อพัฒนาท่าเรือแล้วเสร็จตามแผน จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 53,000 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2570
กรมเจ้าท่า ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ได้กำหนดแผนงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางน้ำ เพื่อตอบสนองเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2562 - 2567 เพื่อพัฒนายกระดับท่าเรือให้เป็นสถานีเรือ ทั้งในส่วนของท่าเรือและตัวเรือ รวมทั้งพัฒนาระบบการรองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เชื่อมต่อกับระบบการขนส่งสาธารณะอื่นทั้งล้อ ราง เรือ เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางประชาชน ตามแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวจะพัฒนารูปลักษณ์ท่าเรือให้มีความสวยงามตามอัตลักษณ์ เกิดเป็นจุดหมายตา (Landmark) ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมและให้บริการบนท่าเรือและเรือ เพื่อให้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีต้นทางจากท่าเรือสาทรไปยังปลายทางที่ท่าเรือปากเกร็ด จำนวนทั้งสิ้น 29 ท่าเรือ โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2562 จำนวน 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือกรมเจ้าท่า ท่าเรือสะพานพุทธ และท่าเรือนนทบุรี แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 1 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือท่าช้าง แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 1 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือสาทร อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2565 จำนวน 6 ท่าเรือ ขอรับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 8 ท่าเรือ มีแผนของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 10 ท่าเรือ และมีแผนติดตั้งระบบให้บริการบนท่าเรือทั้ง 29 ท่าเรือ ในปี พ.ศ. 2566 - 2567 ซึ่ง จท. ได้ร่วมกับผู้ประกอบการเรือโดยสารปรับเปลี่ยนมาใช้เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในการให้บริการ เพื่อลดมลพิษ และลดปริมาณการใช้พลังงานน้ำมัน
สำหรับท่าเรือที่ก่อสร้างปรับปรุงแล้วเสร็จ ได้แก่ ท่าเรือช้างและท่าเรือสาทร ถือเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญต่อการเดินทางและการท่องเที่ยว เนื่องจากท่าเรือ ท่าช้าง มีผู้โดยสารจำนวนมาก ทั้งผู้สัญจรและนักท่องเที่ยวชาวไทยชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ พระบรมมหาราชวัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และวัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร เป็นต้น สำหรับท่าเรือสาทร เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อของระบบล้อ ราง เรือ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสะพานตากสิน มีผู้โดยสารจำนวนมาก และเป็นจุดลงเรือบริการไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอื่น ๆ อาทิ ห้างสรรพสินค้าไอคอน สยาม และเอเชียทีค เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้จัดตั้งศูนย์บริการร่วมคมนาคม เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2549 เพื่อเป็นศูนย์รวมการให้บริการด้านคมนาคมแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ มาให้บริการประชาชน ณ จุดเดียวกัน อาทิ บริการข้อมูลข่าวสาร แนะนำเส้นทางการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ รถไฟฟ้า เรือโดยสาร สายการบิน ตรวจสอบสภาพจราจร บริการเปลี่ยนใบขับขี่กรณีชำรุดเสียหาย บริการตู้รับชำระภาษีรถประจำปีและตู้เติมบัตรทางด่วน Easy Pass รับชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า บริการตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ อาทิ ตรวจสอบข้อมูลใบสั่ง สิทธิการรักษา ประกันสังคม รวมทั้งบริการให้ข้อมูลด้านกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปใช้บริการที่หน่วยงานต่าง ๆ โดยเปิดให้บริการในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดสอบการให้บริการ และสำรวจงานบริการเพิ่มเติมเพื่อให้ครบถ้วนตามภารกิจของกระทรวงฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ
'อนุทิน' ยืนยัน ภท.โหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติเข้าโหวตในสภา ย้ำเพื่อให้ ปชช.ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้าแก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
'เสี่ยหนู' ลั่น 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ไม่เคยขัดแย้งปมที่ดินเขากระโดง!
'เสี่ยหนู' ยัน พท.-ภท. ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท.แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย
'ณฐพร' ลั่นจะใช้กฏหมาย-พยานหลักฐาน ดำเนินคดีกับก๊วนยึด 'ที่ดินเขากระโดง' จนถึงที่สุด
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่ข้อความ หัวข้อ ยุคนักการเมืองชั่ว มีเนื้อหาดังนี้
3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง
วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์