เด็กไทยนอกจากเผชิญปัญหาการกินที่ไม่สมดุลทั้งได้รับสารอาหารบางอย่างเกินหรือขาด ยังมีปัญหากิจกรรมทางกายต่ำ เพราะอยู่หน้าจอนานๆ ทั้งเรียนออนไลน์หรือเล่นเกม จากรายงานสถานการณ์กิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Report Card 2022) พบเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนักสะสมได้อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 60 นาที เพียง 27% ของเด็กและเยาวชนไทยทั้งประเทศ แม้จะปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2559 และ 2561 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ข้อมูลยังพบว่าเด็กไทยใช้หน้าจอเพื่อความบันเทิงต่อวันนานเกิน 2 ชั่วโมงถึง 85% นับเป็นปัญหาใหญ่จำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เพราะพฤติกรรมเนือยนิ่งส่งผลเสียต่อพัฒนาการตามช่วงวัย ร่างกายไม่แข็งแรง อีคิวต่ำ และเสี่ยงโรคไม่ติดต่อหรือกลุ่มโรค NCDs
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม
ขณะนี้สถาบันการศึกษาเปิดเรียนแบบออนไซต์เต็มรูปแบบ เด็กและเยาวชนมีความผูกพันต่อโรงเรียนมาก ครูและโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญต่อการผลักดันและส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายแห่งประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาแพลตฟอร์ม www.activekidsthailand.com เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการสนับสนุนเพิ่มกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การยกระดับนโยบายการมีกิจกรรมทางกาย เน้นที่การสร้างความสุข ลดความเครียด สามารถประยุกต์ใช้แนวทางการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายแบบทั้งระบบ (Whole - of – School Programmes) ช่วยเพิ่มโอกาสการมีกิจกรรมทางกายระหว่างวันให้กับนักเรียนมากขึ้น รวมถึงจัดให้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกิจกรรมทางกายอย่างปลอดภัย และเพิ่มพื้นที่สุขภาวะเพื่อให้นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นตลอดทั้งวันขณะอยู่ในโรงเรียน โดยสามารถศึกษาข้อมูลและนำไปประยุกต์ใช้ได้จาก www.activekidsthailand.com นำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและสม่ำเสมออย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 60 นาที ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
คู่มือแนวทางโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเว็บไซต์
“ ความสำคัญของกิจกรรมทางกายในเด็ก มีงานวิจัยยืนยันส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สัมพันธ์กับระบบหัวใจและปอดที่แข็งแรง สภาพกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด สุขภาพของกระดูกของเด็กอีกด้วย อีกทั้งช่วยพัฒนาการด้านอารมณ์และความจำที่ดี กระตุ้นความพร้อมการทำงานของสมอง ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ สามารถคิดแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ช่วยเรื่องการตัดสินใจ ตลอดจนลดอาการซึมเศร้า และการมีความสุขมากขึ้นจากการหลั่งสารเชโรนิน สารโดพามีน และเอ็นโดรฟินออกมา ”ดร.ไพโรจน์ ย้ำกิจกรรมทางกายช่วยเสริมพัฒนาทุกมิติ
สำหรับ www.activekidsthailand.com ถือเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านวิชาการสำหรับครู โรงเรียนและผู้ที่สนใจใช้วางแผนนโยบายตั้งแต่เริ่มต้นจัดทำแผนการสนับสนุนและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5-17 ปี ทั้งในและนอกโรงเรียน ด้วยแนวคิด 4 PC คือ Active Policy กำหนดนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายในโรงเรียน, Active Program สร้างโอกาสให้กับนักเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลายตามโอกาสและเวลาที่มี, Active Place การพัฒนาพื้นที่ในโรงเรียนให้เล่นได้และปลอดภัย, Active People ส่งเสริมการมีส่วนการทำกิจกรรมระหว่างครูและนักเรียน สร้างต้นแบบ และ Active Classroom ส่งเสริมห้องเรียนฉลาดรู้
ด้าน ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย กล่าวว่า เว็บไซต์ดังกล่าวประกอบด้วยชุดความรู้ที่น่าสนใจ ทั้งคู่มือแนวทางโรงเรียนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย ผ่านการวิจัยเชิงทดลองกับเด็กไทยนานกว่า 4 ปี จนพบข้อพิสูจน์ว่า สามารถช่วยเพิ่มระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และช่วยลดพฤติกรรมเนือยนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกับเด็กวัยประถมศึกษาด้วยแนวคิด 4 PC ,คู่มือการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กตามแนวคิด ACP ของสมาคมกีฬาประเทศญี่ปุ่น เหมาะสำหรับคุณครู พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ฝึกสอนที่ทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ได้นำกิจกรรมไปปรับใช้ โดยรวบรวมการเล่นทั้งแบบไทยและญี่ปุ่นมากถึง 40 กิจกรรม อาทิ เกมเตยกัก ตี่จับ ปาระเบิด ลิงชิงหาง กระต่ายขาเดียว
คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเหมาะสำหรับครู
นอกจากนี้ มีคู่มือสารตั้งต้นสนามฉลาดเล่นสำหรับประยุกต์กิจกรรมต่างๆ ผสมผสานระหว่างคู่มือการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการส่งเสริมความรู้ตามสาระการเรียนรู้ที่หลากหลายตามวิชาเรียน เหมาะสำหรับเด็กในวัยประถมศึกษา เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้และการทำกิจกรรมทางกายในสนาม หรือพื้นที่ว่างในโรงเรียน และคู่มือสารตั้งต้นห้องเรียนฉลาดรู้เหมาะสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายพร้อมกับการสอดแทรกความรู้ให้กับนักเรียนในห้องเรียน โดยมีตัวอย่างกิจกรรมที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้ เพื่อเปลี่ยนห้องเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมเป็นห้องเรียนฉลาดรู้ โรงเรียนฉลาดเล่น เด็กจะสนุกและมีความพร้อมต่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ www.activekidsthailand.com หรือ www.thaihealth.or.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
เปิดเจ็ตสกี'เวิลด์คัพ2024'ยิ่งใหญ่ กิจกรรมบันเทิงแน่น เด็กไทยมีลุ้นแชมป์โลกแรก
เจ็ตสกีชิงแชมป์โลก 2024 WGP#1 Waterjet World Cup เริ่มระเบิดศึกอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นอกจากความมันส์บนผิวน้ำแล้ว แฟนมอเตอร์สปอร์ต ยังได้รับความบันเทิงจากิจกรรมอัดแน่น จากผู้ร่วมสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นทัวร์นาเม้นต์เจ็ตสกีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ ด.ช.อินทัช หลงนิยม จ่อคว้าแชมป์แรกให้ทีมชาติไทย
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)