กรมส่งเสริมการเกษตร ติดอาวุธการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่ จับมือ GISTDA เซ็น MOU ใช้ระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ พัฒนาด้านส่งเสริม และแก้ภัยพิบัติทั่วไทย

นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ( MOU ) ว่าด้วยการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมกันจัดทำข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รวมถึงร่วมกันจัดทำพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการส่งเสริมการเกษตร และเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เกิดการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและการบริหารจัดการการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศระหว่างกัน และที่สำคัญทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงานทั้งสองฝ่าย ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและด้านส่งเสริมการเกษตร และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ นับว่าสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาการเกษตรในปัจจุบันไปสู่การเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Agriculture เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่มุ่งสู่เกษตร 4.0 ผนวกกับมาตรการด้านการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต เป็นแผนที่ฐานประกอบการวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล และใช้เป็นหนึ่งในแผนที่ฐานในเว็บบริการข้อมูลแผนที่ส่งเสริมการเกษตร (ssmap) การร่วมกันพัฒนาโปรแกรมวาดแปลงในระบบบริการภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร (GISAgro) การใช้ข้อมูลดาวเทียมตรวจสอบพื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่การเกษตรที่เสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง และติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นการบูรณาการร่วมพัฒนา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและข้อมูลระหว่างหน่วยงาน รวมถึงการร่วมกันนำเสนอข้อมูลการเกษตรที่เป็นข้อมูลเดียวกัน

“ผลงานภายใต้โครงการนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและ GISTDA ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้ง การจัดทำและตรวจสอบข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เก็บเกี่ยว หรือ พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืชของพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และพืชอื่น ๆ นำไปสู่การศึกษาวิจัยและจัดทำการประเมินพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงเสียหายจากภัยธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ Applications ด้านการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่สำหรับงานส่งเสริมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่ และนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและด้านส่งเสริมการเกษตร พร้อมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นชอบร่วมกัน” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม